จิตวิวัฒน์


"วิวัฒน์ หรือ "วิบัติ" จะเลือกอะไร

 

สุขภาพคือสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางปัญญา สุขภาวะทั้ง 4 ด้าน เชื่อมโยงกันเป็นบูรณาการ เชื่อมโยงถึงกันและอยู่ในกันและกันแต่ละด้านมีองค์ประกอบ 4 รวมกันเป็นสุขภาวะ 4x4 = 16การที่ว่ามีองค์ประกอบด้านละ 4ไม่ได้แสดงว่ามีเท่านั้นแต่เป็นการพอประมาณและเพื่อให้จำได้ง่ายทางกาย 4 อย่างเป็นไฉนทางกาย 4 อย่าง ประกอบด้วยร่างกายแข็งแรง ความปลอดสารพิษมีความปลอดภัย ความมีปัจจัย 4
ซึ่งมาจากการมีสัมมาชีพทางจิต 4 อย่างเป็นไฉน ทางจิต 4 อย่างประกอบด้วย
  • ความดี
  • ความงาม
  • หรือ สุนทรียะ
  • ความสงบ
ความมีสติทางสังคม 4 อย่างเป็นไฉน
ทางสังคม 4 อย่างประกอบด้วย
  • สังคมสุสัมพันธ์หรือมีความสัมพันธ์ที่ดีในทุกระดับ
  • สังคมเข้มแข็ง
  • สังคมยุติธรรม
  • สังคมสันติ
ทางปัญญา 4 อย่างเป็นไฉน
ทางปัญญา 4 อย่างประกอบด้วย
  • ปัญญารู้รอบรู้เท่าทัน
  • ปัญญาทำเป็น
  • ปัญญาอยู่ร่วมกันเป็น
  • ปัญญาบรรลุอิสรภาพ
  • ปัญญาเป็นศูนย์กลาง
ถ้าปราศจากปัญญาสุขภาวะทางกาย ทางจิต และทางสังคมก็เป็นไปไม่ได้การพัฒนาปัญญาต้องนำไปสู่การพัฒนากาย จิต และสังคมการพัฒนากาย จิต และสังคมต้องนำไปสู่การพัฒนาปัญญาทั้ง 4 ร่วมกันจึงเกิดสุขภาวะที่สมบูรณ์ในที่นี้จะขยายความเฉพาะเรื่องปัญญา 4 ประการ คือ
(1)ปัญญารู้รอบรู้เท่าทัน การรู้อะไรแจ่มแจ้งแทงทะลุทำให้เกิดความสุขความมืด ความไม่รู้อะไร ความไม่แจ่มแจ้ง ทำให้เกิดความบีบคั้นเสมือนคนที่อยู่ในเหวทั้งมืดทั้งไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน
จะมีความทุกข์ความบีบคั้นอย่างยิ่ง ต่อเมื่อขึ้นมาจากปากเหว
มองเห็นได้ทั่วไป เกิดความสุขจากการหลุดพ้นความบีบคั้นของความไม่รู้การมีปัญญาเห็นโดยรอบ รู้เท่าทันสิ่งต่างๆ
ทำให้มีความสุขคนที่รู้รอบที่เรียกว่าเป็นพหูสูตจึงมีความสงบและมีความสุขอยู่ในตัวรู้ว่าอะไรเป็นอะไรตรงข้ามกับคนที่ไม่รู้ รู้น้อย รู้เป็นส่วนๆไม่รู้เชื่อมโยงย่อมอยู่ในความบีบคั้น เหะหะ โวยวาย แก้ปัญหาไม่ตกหลุดไปเป็นพาลได้ง่ายการรู้เท่าทันปัญหาแม้ยังไม่ได้แก้ปัญหาก็ทำให้ความเป็นปัญหาหมดไปได้ ยกตัวอย่างเช่น ป้าคนหนึ่งมีความทุกข์มาก เพราะแกพูดอะไรลูกสาวก็ไม่เชื่อแกเมื่อได้รับคำบอกเล่าว่าแบบนี้เป็นกันทุกบ้าน
แกอุทานว่า "หรือ ฉันนึกว่าเป็นแต่ฉันคนเดียวถ้ามันเป็นกันทุกบ้าน ฉันก็ค่อยยังชั่ว"ที่หายทุกข์ก็เพราะมีปัญญารู้เท่าทันว่า
มันเป็นเช่นนั้นเอง หรือ "ธรรมดาเนาะ"เรื่องการมีปัญญารอบรู้ รู้เท่าทัน รวมไปถึงโลกทัศน์และวิธีคิดถ้ามีโลกทัศน์และวิธีคิดที่ถูกต้องก็ทำให้มีความสุขการมีปัญญาเข้าใจธรรมชาติตามที่เป็นจริงเห็นความเป็นกระแสของเหตุปัจจัย (อิทัปปัจจยตา)ของสรรพสิ่งทำให้ไม่ถูกบีบคั้นจากความเห็นผิด ว่าสิ่งต่างๆดำรงอยู่อย่างแยกส่วนตายตัว เมื่อเป็นอิสระจากความบีบคั้นก็ไม่ทุกข์เมื่อเห็นอะไรเป็นกระแสของอิทัปปัจจยตา
ก็จะอยู่ในกระแสแห่งปัญญา มีสุขภาวะเพราะปัญญา
(2)ปัญญาทำเป็น หมายถึงปัญญาที่เกิดจากการลงมือทำและทำเป็น
ในการพัฒนากาย 4 ประการ และทางจิต 4 ประการดังกล่าวข้างต้นการเรียนรู้จากการทำ และเกิดปัญญาที่ทำให้ทำได้ดี
ทั้งเรื่องทำให้ร่างกายแข็งแรง ปลอดสารพิษ มีความปลอดภัย สร้างสัมมาชีพมีปัจจัย 4 มีจิตใจที่มีความดี ความงาม ความสงบ และความมีสติปัญญาในการทำเป็นนี้ย่อมก่อให้เกิดความสุขอย่างยิ่ง
(3)ปัญญาอยู่ร่วมกันเป็น ได้แก่ปัญญาที่คำนึงถึงการอยู่ร่วมกัน (Living together)
ไม่ใช่ตัวใครตัวมันเป็นเอกเทศ สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในทุกระดับรวมตัวร่วมคิดร่วมทำเป็นชุมชนเข้มแข็ง และประชาสังคมมีการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ (Interactive learning through action)การที่มีความเสมอภาคและภราดรภาพจนสามารถรวมตัวร่วมคิดร่วมทำได้จะทำให้เกิดความสุขประดุจบรรลุนิพพานและทำให้ทำอะไรๆสำเร็จได้ง่ายตรงนี้เป็นอปริหานิยธรรมหรือธรรมะเพื่อความเจริญถ่ายเดียว
การอยู่ร่วมกันเป็นต้องสามารถสร้างสังคมยุติธรรมควายุติธรรมในสังคมเป็นบ่อเกิดของความสุขอย่างยิ่งการอยู่ร่วมกันเป็นต้องสามารถสร้างสังคมสันติสามารถแก้ความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ขจัดความรุนแรงประเภทต่างๆ มีสันติภาพสังคมสันติเป็นสุขภาวะทางสังคมอย่างยิ่งบุคคลควรเรียนรู้ให้เกิดปัญญาอยู่ร่วมกันเป็น
(4)ปัญญาบรรลุอิสรภาพ ความไม่รู้หรืออวิชชาเป็นเครื่องก่อทุกข์ วิชชา
หรือ ปัญญาเป็นเครื่องออกจากทุกข์เพราะความไม่รู้มนุษย์ยึดถือตัวตนของตนเองเป็นศูนย์กลางจึงขัดแย้งกับความจริง ความขัดแย้งคือทุกขตาหรือความทุกข์อาการของการเอาตัวเองเป็นใหญ่ประกอบด้วย ตัณหาอันได้แก่ความอยากเอาอยากเป็น มานะ อันได้แก่การใช้อำนาจเหนือคนอื่นทิฏฐิ การเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ บีบคั้นตนเอง
และบีบคั้นผู้อื่น ยิ่งมีมากยิ่งก่อทุกข์มาก ถึงอาจก่อให้เกิดจลาจลและสงครามได้ไม่เป็นไปเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เพราะอวิชชาจึงมีตัณหา มานะ ทิฏฐิหรือความเห็นแก่ตัวหากลดความเห็นแก่ตัวลงได้มากเท่าไรเรียกว่ามีปัญญาเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น มีอิสรภาพจากความบีบคั้นมากขึ้นปัญญาและอิสรภาพจึงซ้อนทับอยู่ที่เดียวกัน ผู้ที่หมดความเห็นแก่ตัวโดยสิ้นเชิงก็มีอิสรภาพหลุดพ้นจากความบีบคั้นโดยสิ้นเชิง มีความสุขอย่างยิ่งเป็นวิมุติสุขมนุษย์ควรเรียนรู้เพื่อลดความเห็นแก่ตัวหรือเพื่อบรรลุอิสรภาพในทางพุทธได้แก่ไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญาซึ่งเป็นมรรควิถีที่พิสูจน์มาแล้วว่ามนุษย์จำนวนมากที่ศึกษาบนเส้นทางนี้แล้วบรรลุอิสรภาพได้จริง ตามปกติมนุษย์ไม่สามารถสัมผัสความจริงได้เพราะติดอยู่ในความคิด การมีสติรู้กายรู้ใจ ทำให้จิตสงบจากความคิดสัมผัสความจริง และถอดถอนจากความยึดมั่นในตัวตนได้การเจริญสติจึงเป็นเครื่องมือพัฒนาจิตและปัญญาอย่างยิ่งยวดการเจริญสติ
ทำให้เกิดสุขภาวะอันล้ำลึกอย่างไม่เคยเจอมาก่อนขณะนี้มีผู้ฝึกเจริญสติกันมากขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะพบว่าทำให้ทุกอย่างดีขึ้นหมดเช่น สุขภาพดี สมองดี ความสัมพันธ์ดีขึ้นและเกิดสุขภาวะอันล้นเหลือเป็นความสุขที่ราคาถูก (Happiness at low cost)เป็นความสุขที่ไม่ต้องการบริโภคมากขึ้นเป็นเครื่องลดบริโภคนิยมอย่างชะงัดฉะนั้น ถ้ามนุษย์เจริญสติกันมากๆ แล้วนอกจากจะลดความร้อนอกร้อนใจแล้วจะช่วยลดสภาวะโลกร้อนได้ดีที่สุดขณะนี้มีการเรียนรู้ที่เรียกว่าจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education)ด้วยวิธีการต่างๆ อันไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาแต่ก็รวมอยู่ที่การเรียนรู้ที่รู้จิตของตัวเองจิตตปัญญาศึกษาทุกประเภทเป็นไปเพื่อบรรลุอิสรภาพโดยสรุปสุขภาวะทางปัญญาเกิดจากการเรียนรู้ที่ทำให้รู้รอบรู้เท่าทันสรรพสิ่ง เรียนรู้ให้ทำเป็น เรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกันและการเรียนรู้เพื่อบรรลุอิสรภาพ การเรียนรู้ดังกล่าวทำให้เกิดสุขภาวะทางกายสุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางสังคม และสุขภาวะทางปัญญารวมกันเป็นสุขภาวะที่สมบูรณ์ สุขภาวะที่สมบูรณ์เกิดจากการเรียนรู้ที่ดีการเรียนรู้ที่ดีจึงเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดของมนุษย์จึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะแสวงหา
และช่วยให้เพื่อนมนุษย์ได้พบการเรียนรู้ที่ดี
 
คอลัมน์ จิตวิวัฒน์
ประเวศ วะสี
มติชน
14 มิถุนายน 2551
แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
หมายเลขบันทึก: 231679เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2008 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แวะมาอ่าน ..จิตวิวัฒน์..

คำสำคัญ : อิทัปปัจจยตา ไตรสิกขา สัมมาชีพทางจิต 4 สติทางสังคม 4 และปัญญา 4

ท้าทายทุกคำเลย .... ขอบคุณกับบทความดี ดี ครับ

ผมไม่เห็นคุณ ทาง blog นานมากแล้ว...หวังว่าคงสบายดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท