การเขียนรายงานการวิจัย


รายงานการวิจัย
การเขียนรายงานการวิจัย   

         การเขียนรายงานการวิจัยเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการวิจัยเป็นขั้นตอนที่จะเผยแพร่ผลการวิจัยไปให้ผู้อื่นได้รับทราบซี่งโดยทั่ว ๆ ไป การเขียนรายงานการวิจัยนั้นจัดทำได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
1. การเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ หรือการเขียนวิทยานิพนธ์
2. การเขียนรายงานการวิจัยลงในวารสารวิชาการ

         
           การเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ หรือการเขียนวิทยานิพนธ์   

       รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ หรือวิทยานิพนธ์นั้นจะประกอบด้วย 4 ภาค คือ
         1. ภาคแรก
         2. ภาคเนื้อหา
         3. ภาคเอกสารอ้างอิง
        4. ภาคผนวก
         สำหรับวิทยานิพนธ์นั้นรายละเอียดปลีกย่อยในภาคต่าง ๆ นั้นอาจจะแตกต่างกันไปตามสถาบันต่าง ๆ ซึ่งนิสิตนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์จะต้องยึดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ตามระเบียบหรือคู่มือวิทยานิพนธ์ ของแต่ละสถาบันการศึกษา ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์โดยทั่ว ๆ ไป

1. ภาคแรก เป็นส่วนต้นของรายงานการวิจัย ซึ่งประกอบด้วยชื่อผู้วิจัย
         1.1 ปก ซึ่งปกด้านหน้าจะประกอบด้วยชื่อเรื่องของงานวิจัย ชื่อผู้วิจัย สถาบันที่ทำการวิจัย
หรือสถาบันของผู้วิจัย และมี พ.ศ. ที่เขียนรายงานการวิจัย
         1.2 บทคัดย่อ (Abstract) ควรเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จากบทคัดย่อนี้ สามารถที่จะช่วยให้ผู้อ่าน ได้ทราบถึงเนื้อหาของรายงานการวิจัยนั้นอย่างคร่าว ๆ และรวดเร็วในบทคัดย่อจะประกอบด้วยวัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัยและผล
         1.3 คำนิยม หรือกิติกรรมประกาศ (Acknowledgement) เป็นหน้าที่ผู้วิจัยเขียนแสดงความขอบคุณแก่ผู้มีอุปการะคุณต่าง ๆ
         1.4 สารบัญ (Table of Contents) จะระบุชื่อบทและหัวข้อสำคัญของรายงานว่าอยู่ หน้าใด เช่น คำนำหรือบทต่าง ๆ รวมทั้งหัวข้อที่สำคัญในแต่ละบท บรรณานุกรมและภาคผนวก หน้าของกิตติกรรมประกาศ สารบัญตาราง และสารบัญภาพจะรวมอยู่ในหน้าสารบัญด้วย
         1.5 สารบัญตาราง (List of Table) จะระบุตำแหน่งหน้าของตารางทั้งหมดที่มีอยู่ในรายงานการวิจัย ถ้ามีตารางปรากฏอยู่ในภาคผนวก ต้องระบุตำแหน่งของตารางไว้ในสารบัญตารางด้วย
         1.6 สารบัญแผนภาพ (List of Figures) จะระบุตำแหน่งของแผนภาพทั้งหมดที่มีอยู่ใน
รายงานการวิจัย ถ้ามีแผนภาพปรากฏอยู่ในภาคผนวก ต้องระบุตำแหน่งของแผนภาพไว้ในสารบัญแผนภาพด้วย
         1.7 คำอธิบายสัญลักษณ์ และอักษรย่อ ใช้อธิบายความหมายของสัญลักษณ์และอักษรย่อต่าง ๆ ส่วนนี้ไม่จำเป็นต้องมี ถ้าหากว่าในรายงานการวิจัย ไม่ได้ใช้สัญลักษณ์หรืออักษรย่อต่าง ๆ

2. ภาคเนื้อหา เป็นส่วนหลักของรายงานการวิจัย ซึ่งประกอบด้วย
      2.1 บทนำ
             2.1.1 ความนำ เป็นส่วนที่กล่าวนำถึงภูมิหลังของเรื่องที่จะศึกษา ซึ่งส่วนของความนำนี้ไม่ต้องขึ้นเป็นหัวข้อ หลังจากที่ขึ้นบทนำกลางแล้ว ย่อหน้าเขียนข้อความต่าง ๆ ที่เป็นความนำได้เลย
             2.1.2 ความสำคัญของปัญหา เป็นส่วนหนึ่งที่ผู้วิจัยต้องเน้นให้เห็นว่า เรื่องที่
กำลังศึกษานั้นมีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างไรที่จะต้องศึกษา ซึ่งอาจจะกล่าวถึงผลงานวิจัยทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไว้เป็นการเสริมให้เห็นความสำคัญของงานที่กำลังศึกษาอยู่
             2.1.3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นส่วนที่ระบุให้เห็นชัดเจนว่า เป้าหมายหลักของการวิจัยนั้นจะศึกษาเกี่ยวกับอะไรบ้าง การเรียงลำดับข้อของวัตถุประสงค์ควรเรียงลำดับตามความสำคัญของวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญซึ่งควรจะสอดคล้องกับชื่อเรื่องของงานวิจัย
             2.1.4 สมมุติฐานของการวิจัย ส่วนนี้ไม่จำเป็นต้องมีทุกครั้ง ในงานวิจัยบางลักษณะผู้วิจัยไม่ได้คาดหวังอะไรเลย หรือผู้วิจัยยังไม่มีแนวคิดว่า ผลการวิจัยควรจะเป็นอย่างไรก็ไม่ต้องเขียน
             2.1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เป็นส่วนที่ผู้วิจัยคาดหวังว่างานวิจัยนั้นจะเป็นประโยชน์ในด้านใดบ้าง และเป็นประโยชน์แก่ใคร อย่างไร
             2.1.6 ขอบเขตของการวิจัย เป็นส่วนที่ผู้วิจัยจะกำหนดกรอบของการวิจัย ครอบคลุมในเรื่องใดบ้างกลุ่มประชากรเป้าหมายคืออะไร ตัวแปรอะไรบ้างที่จะศึกษา
             2.1.7 ข้อตกลงเบื้องต้น เป็นข้อความที่แทนแนวความคิดหรือข้อเท็จจริงขั้น พื้นฐานที่ยอมรับเป็นความจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์
             2.1.8 นิยามศัพท์ เป็นส่วนที่กำหนดความหมายของคำบางคำ โดยเฉพาะตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยเพื่อสื่อความหมายและวัดได้ตรงกัน

       2.2 การตรวจเอกสาร เป็นส่วนที่สรุปแนวคิดทฤษฎีและหลักการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องที่กำลังศึกษาและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งควรจะแยกเป็นเรื่อง ๆ ซึ่งผู้วิจัยควรจะกำหนดไว้ว่าตรวจสอบเอกสารในด้านใดบ้าง และเขียนเป็นด้าน ๆ หรือเป็นเรื่อง ๆ ไปจะดีกว่าเขียนเรียงลำดับปี พ.ศ. เมื่อจบการตรวจเอกสารแล้วตอนท้ายผู้วิจัยควรจะสรุปไว้ด้วยว่าเรื่องต่าง ๆ ที่ตรวจสอบนั้นเกี่ยวโยงกับสิ่งที่กำลังศึกษาอย่างไร

       2.3 วิธีการวิจัย เป็นส่วนที่ระบุถึงการดำเนินการเกี่ยวกับการวิจัย ซึ่งประกอบด้วย
             2.3.1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้และวิธีการสุ่มตัวอย่าง
             2.3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยรวมทั้งวิธีการสร้างเครื่องมือและการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
             2.3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูลระบุวิธีการดำเนินการรวบรวมข้อมูล
             2.3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล ระบุค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
       2.4 ผลการวิจัยและข้อวิจารณ์เป็นส่วนที่แสดงถึงผลการวิจัย และข้อวิจารณ์เกี่ยวกับผลการวิจัยที่ได้ การเสนอผลการวิจัยนี้อาจจะนำเสนอในรูปของการบรรยาย หรือตารางก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสมดังกล่าวไว้แล้ว
       2.5 สรุปและอภิปรายผลข้อเสนอแนะ เป็นส่วนที่สรุปเนื้อหาที่สำคัญจากบทต้น ๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ ดังนั้นในบทนี้จะประกอบด้วย
             2.5.1 สรุป ส่วนนี้จะสรุปเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการ
รวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและผลการวิจัย
             2.5.2 อภิปรายผล ส่วนนี้จะเป็นการอภิปรายผลการวิจัยว่าทำไมผลการวิจัยจึงเป็นเช่นนี้ สอดคล้องกับหลักทฤษฎีใดบ้าง สอดคล้องหรือขัดแย้งกับผลการวิจัยของใครบ้าง
             2.5.3 ข้อเสนอแนะ ส่วนนี้จะเป็นข้อเสนอแนะของผู้วิจัย ซึ่งควรจะเสนอแนะจาก
ผลการวิจัยที่ว่าจะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ไม่ควรจะเสนอแนะลอย ๆ ครอบจักรวาล

3. ภาคเอกสารอ้างอิง ส่วนนี้เป็นส่วนที่ประกอบด้วยรายการเอกสารต่าง ๆ ที่ได้อ้างอิงไว้ใน
วิทยานิพนธ์หรือรายงานการวิจัยเอกสารทุกเล่มที่อ้างอิงไว้ในภาคเนื้อหาจะต้องปรากฏอยู่ใน เอกสารอ้างอิงการจัดลำดับของเอกสารอ้างอิง นั้นจัดลำดับตามตัวอักษรของผู้แต่ง ซึ่งถ้าใน
ภาษาไทยจะเป็นชื่อต้น ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศจะเป็นชื่อท้าย (สกุล) จัดลำดับภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยภาษาต่างประเทศ

 

4. ภาคผนวก ส่วนนี้เป็นส่วนที่ให้รายละเอียดของการวิเคราะห์ข้อมูล สูตรต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล รายละเอียดของการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนภาคผนวกนี้อาจจะไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับ
ความเหมาะสมของงานวิจัยแต่ละเรื่อง ซึ่งในส่วนของภาคผนวกนี้อาจจะประกอบด้วย
ภาคผนวกย่อย ๆ หลายส่วนได้ การเริ่มภาคผนวกย่อยทุกครั้งให้ขึ้นหน้าใหม่

         
           การเขียนรายงานการวิจัยลงในวารสารทางวิชาการ   

        รายงานการวิจัยที่ลงในวารสาร นั้นมีรูปแบบต่าง ๆ กัน ผู้วิจัยควรจะศึกษารูปแบบเขียน
วารสารแต่ละเล่ม รูปแบบการเขียนรายงานการวิจัยที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างมากในวงการศึกษา คือรูปแบบการเขียนของ American Psychological Association (APA) ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ
ดังนี้
       1. ชื่อเรื่อง หรือชื่อของงานวิจัย
       2. ชื่อผู้วิจัย
       3. บทคัดย่อ ซึ่งประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการวิจัยและผลที่ได้อย่าคร่าว ๆ
       4. ส่วนเนื้อหา ส่วนเนื้อหาของรายงาน จะประกอบด้วย
            4.1 คำนำ ในส่วนนี้จำต้องระบุให้เห็นว่าอะไรคือจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาครั้งนี้และมีเหตุผลหรือความจำเป็นอย่างไร ที่จะต้องศึกษาเรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีหรือหลักการต่าง ๆ อย่างไร รวมถึงการอภิปรายถึงผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานที่ศึกษาวิจัย
            4.2 วิธีการวิจัย ส่วนนี้เป็นส่วนที่กล่าวถึงวิธีการที่ใช้การวิจัยได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง
วิธีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล เขียนให้ละเอียดพอที่ผู้อ่านแล้วนำไปทำซ้ำได้
            4.3 ผลการวิจัย ส่วนนี้เป็นส่วนที่เสนอผลการวิจัย ซึ่งอาจจะเสนอในลักษณะการบรรยายตารางหรือแผนภูมิก็ได้ และการแปลความหมายของข้อมูล ที่ค้นพบจะรวมอยู่ในส่วนนี้
            4.4 วิจารณ์และข้อเสนอแนะ ส่วนนี้เป็นส่วนที่วิจารณ์หรืออภิปรายเกี่ยวกับผลการวิจัยที่ได้โดยพยายามโยงผลการวิจัย ที่ได้นั้นไปสู่การแก้ปัญหา ที่มีอยู่ว่าจะนำไปใช้ได้หรือไม่ และจะใช้ในลักษณะอย่างไร รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ ในการที่จะนำผลการวิจัยไปใช้
        5. เอกสารอ้างอิง เอกสารอ้างอิงทุกชิ้นที่อ้างถึงในส่วนของเนื้อหาต้องปรากฏอยู่ในเอกสารอ้างอิง
        6. ภาคผนวก เป็นส่วนที่ให้รายละเอียดเพิ่มเติม จะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ความจำเป็น หรือความเหมาะสมของงานวิจัยแต่ละเรื่อง

         
           การประเมินผลการวิจัย   

         ในกระบวนการของการดำเนินงานวิจัย ผู้วิจัยจะต้องศึกษาทฤษฎีและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะให้นำแนวคิด วิธีการและผลการวิจัยนั้นมาใช้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานวิจัย งานวิจัยที่จะนำมาเป็นประโยชน์ได้ดังกล่าว ควรเป็นงานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือได้ ซึ่งจะทราบได้จากการประเมินผลงานวิจัยนั้น
การประเมินผลการวิจัย ควรพิจารณาทั้ง 2 มิติ คือ พิจารณาในด้านคุณค่าและด้านคุณภาพด้านคุณค่า เป็นการพิจารณาเกี่ยวกับ ประโยชน์หรือ ความสำคัญของงานวิจัยนั้น ซึ่งมีเกณฑ์พิจารณาหลายเกณฑ์ เช่น
       - ช่วยแก้ปัญหาที่ประสบอยู่ (โดยเฉพาะปัญหาเร่งด่วน ปัญหาสำคัญ)
       - ได้พัฒนาสิ่งใหม่ขึ้นมา
       - เป็นประโยชน์ต่องานวิชาการ เช่น ทดสอบทฤษฎี สร้างสูตรใหม่
ด้านคุณภาพ เป็นการพิจารณาถึงความถูกต้อง เหมาะสมตามหลักการของการวิจัยที่ดีมีเกณฑ์พิจารณาดังนี้
       1. ชื่อเรื่องที่วิจัย
           1.1 ชื่อเรื่องชี้ให้เห็นถึงขอบข่ายปัญหาอย่างชัดเจน
           1.2 ชื่อเรื่องมีความแจ่มชัด รัดกุมไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย
       2. ความเป็นมาของปัญหา
           2.1 กล่าวถึงปัญหาอย่างชัดเจน ชี้ให้เห็นความสำคัญของปัญหาที่วิจัยนั้น คือ มีเหตุผลที่ทำการวิจัยชัดเจน และเหตุผลที่ทำการวิจัยก็เป็นเหตุผลที่สำคัญ
           2.2 กล่าวถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีในปัญหา ความสัมพันธ์ระหว่างกันของ องค์ประกอบเหล่านั้น และเกี่ยวข้องกับปัญหา
           2.3 มีหลักเหตุผลที่หนักแน่น เพียงพอในการเลือกตัวแปร หรือองค์ประกอบที่จะศึกษา และแสดงถึงความสัมพันธ์กับปัญหาที่วิจัย
           2.4 ชี้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับมโนภาพ (Concept) ที่อยู่ เบื้องหลังปัญหาอย่างเป็นระบบไปตามลำดับ
           2.5 แยกประเด็นปัญหาที่ชัดเจนโดยใช้หัวข้อ หรือการย่อหน้า (Paragraph) ที่เหมาะสม
           2.6 ใช้ข้อความที่รัดกุม ไม่คลุมเครือ
       3. การกำหนดขอบเขตของปัญหาการวิจัยกำหนดขอบเขตของปัญหาการวิจัยอย่างชัดเจน
      
4. นิยามศัพท์เฉพาะ
           4.1ให้นิยามตัวแปรและศัพท์เฉพาะที่สำคัญอย่างชัดเจนโดยเขียนให้เป็นเชิงปฏิบัติการ คำศัพท์ที่ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องให้นิยาม
           4.2 ในรายงานการวิจัย ใช้คำศัพท์เฉพาะและมโนภาพ (Concept) ตรงตามที่ได้นิยามไว้
       5. สมมุติฐาน
           5.1 สมมุติฐานสร้างจากหลักของเหตุผล และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
           5.2 สมมุติฐานที่สอดคล้องกับข้อความที่ทราบกันดี หรือสอดคล้องกับทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับ
           5.3 สมมุติฐานที่สร้างขึ้นมีความชัดเจน สามารถทดสอบได้
           5.4 สมมุติฐานสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย
       6. ข้อตกลงเบื้องต้น มีข้อตกลงเบื้องต้น(Assumption) หรือสัจพจน์ในปัญหาที่ศึกษาเกี่ยวกับการวัด การเป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่าง ความสอดคล้องและเหมาะสมในการใช้สถิติทดสอบ
       7. ทฤษฎีและการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
           7.1 การอ้างถึงทฤษฎีและการวิจัยที่เกี่ยวข้องในปัญหาการวิจัย การออกแบบการวิจัยกระบวนการในการวิจัย สรุปและอภิปรายผลอย่างเพียงพอ และตรงกับเรื่อง
           7.2 กล่าวถึงพัฒนาการของหลักเหตุผล หรือทฤษฎีที่เป็นกรอบ (Theoretical  Framework) จากผลการวิจัยในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยอ้างอิงมายังปัญหาที่วิจัย
           7.3 การจัดลำดับเรื่องเป็นไปอย่างเหมาะสม
           7.4 การกล่าวอ้างแหล่งอ้างอิงใด จะต้องปรากฏแหล่งอ้างอิงในบรรณานุกรม และบรรณานุกรมจะต้องไม่มีแหล่งอ้างอิงที่ไม่ได้ระบุในรายงานการวิจัย
       8. วิธีดำเนินการวิจัย
           8.1 กำหนดหลักเหตุผล โครงสร้าง และวิธีการศึกษาที่รอบคอบรัดกุม
           8.2 กล่าวถึงประชากรและกลุ่มตัวอย่างโดยชัดเจน
           8.3 กล่าวถึงวิธีการในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง และรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่างโดยชัดเจนวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างมีความเหมาะสม
           8.4 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นมาตรฐาน มีความตรง (Validity) มีความเที่ยง (Reliability) สูง มีวิธีการตรวจให้คะแนนเป็นมาตรฐาน (กรณีที่เป็นแบบตรวจให้คะแนน) สามารถรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น ในการศึกษาได้อย่างครบถ้วน ข้อมูลที่รวบรวมมีความเชื่อถือได้
           8.5 กรณีที่ใช้สถิติทดสอบ ไม่ฝ่าฝืนข้อตกลงเบื้องต้นของการใช้สถิตินั้น
           8.6 รายงานกระบวนการดำเนินการวิจัยไว้อย่างละเอียดชัดเจน
       9. การวิเคราะห์ข้อมูล
           9.1 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นปรนัย ปราศจากอคติ
           9.2 กรณีใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้จะต้องสอดคล้องกับสมมุติฐานในการวิจัย และสมมุติฐานหลัก (Null Hypothesis)
           9.3 วิธีการทางสถิติที่ใช้ในการวิจัยมีความเหมาะสม
           9.4 การวิเคราะห์ข้อมูลกระทำได้ถูกต้อง
       10. ผลการวิจัย
            10.1 เสนออย่างเป็นปรนัยมากกว่าอัตนัย
            10.2 แปลผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่อ้างสรุปเกินข้อมูลหรือใช้ข้อความที่ครอบคลุมกว้างเกินไปจากข้อมูลที่มีอยู่
       11. การสรุปผลการวิจัย
            11.1 กล่าวถึงปัญหา วิธีการศึกษา ผลการศึกษา โดยใช้ข้อความที่กระชับกินความ โดยไม่กล่าวถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
            11.2 สรุปผลการศึกษาภายในขอบเขต และระดับของการอ้างอิงเหตุผลตามข้อมูลและผลการวิเคราะห์
            11.3 สรุปผลการศึกษาได้เหมาะสม ไม่มีความลำเอียงหรือคติส่วนตัวเจือปน ผู้วิจัยคนอื่นสามารถเข้าใจ และศึกษาเพื่อตรวจสอบต่อไปได้
       12. การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
            12.1 อภิปรายผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลสมเหตุสมผล น่าเชื่อถือได้
            12.2 แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของผลการศึกษากับผลการวิจัยที่แล้วมาอย่างชัดเจน
            12.3 อภิปรายจุดอ่อนของข้อมูล วิธีวิเคราะห์ องค์ประกอบที่ไม่ได้ควบคุมที่มีอิทธิพลต่อผลการศึกษา
            12.4 กล่าวถึงขอบเขต ข้อควรระวังในผลการศึกษา (ความขัดแย้ง ความไม่คงเส้นคงวา หรือสิ่งที่จะนำไปสู่ความเข้าใจผิดในผลการศึกษา)
            12.5 อภิปรายความสำคัญของผลการศึกษา
            12.6 กล่าวถึงความจำเป็นสำหรับการวิจัยเพิ่มเติม
            12.7 มีการเสนอแนะเกี่ยวกับการนำผลวิจัยไปใช้ เมื่อผลวิจัยสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายของการศึกษา
            12.8 มีข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยเพิ่มเติม ที่สมเหตุสมผล กว้างขวางและปฏิบัติได้

       13. การอ้างอิง
            13.1ใช้แบบแผนการอ้างอิงที่เหมาะสม และเป็นแบบเดียวโดยตลอด
            13.2 อ้างอิงได้ตรงความเป็นจริง และมีความสมบูรณ์
            13.3 ไม่ใช้ภาษาแสลง ภาษาพูด แต่ละประโยคมีความหมายชัดเจน ถูกหลักไวยากรณ์

แบบประเมินผลการวิจัย
       ในการประเมินผลการวิจัยอาจใช้แบบประเมินผลที่พิจารณาภาพรวมของส่วนที่เป็น
โครงสร้างสำคัญหรือใช้แบบประเมินผลในจุดต่าง ๆ ที่เป็นรายละเอียดซึ่งเป็นแบบที่สร้างเกณฑ์การประเมินผลการวิจัยที่กล่าวมาแล้ว เป็นสำคัญ ถึงแม้จะมีผู้พยายามสร้างแบบประเมินผลงานวิจัยขึ้นมากมายแต่ก็ยังไม่มีแบบประเมินงานวิจัยที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน แบบประเมินงานวิจัยที่มีผู้สร้างไว้แล้วนั้นมีสิ่งที่ประกอบด้วยรายการประเมินจำนวนน้อยประมาณ 10-20 ข้อ ไปจนถึงแบบที่ประกอบด้วยรายการประเมินจำนวนมากประมาณ 80-90 ข้อ ซึ่งผู้ต้องการใช้แบบประเมินสามารถเลือกใช้ได้ตามต้องการ

จาก  http://wbc.msu.ac.th/wbc/edu/0504304/lesson11.htm

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 23035เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2006 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 01:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอแสดงข้อความภาษาอังกฤษเป็น คำว่า ตะกั่วทุ่ง หน่อยนะครับ

ไอบ้าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

บ้าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท