พ่อกับเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจแบบถาวร


เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจแบบถาวร

สวัสดีค่ะ

วันนี้  พ่อต้องผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจแบบถาวร  (permanent  pacemaker) แล้วค่ะ 

ขอศึกษาดูหน่อยนะคะ ว่าคืออะไร 

 

ครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจแบบถาวร 

(permanent  pacemaker)

 

       เป็นการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ     โดยวิธีการผ่าตัดเข้าทางหลอดเลือดดำบริเวณหน้าอกระหว่างกระดูกไหปลาร้ากับราวนม    หรืออาจฝังทางหน้าท้องก็ได้     แล้วสอดสายสื่อเข้าไปตามหลอดเลือดดำจนถึงตำแหน่งของห้องหัวใจที่แพทย์ต้องการ  ปลายสายสื่อจะไปสัมผัสกับผนังด้านในของหัวใจ   ส่วนตัวกำเนิดสัญญาณไฟฟ้าจะฝังอยู่ใต้ผิวหนังบริเวณทรวงอกด้านบน โดยแพทย์จะควบคุมการเต้นของเครื่องให้เหมาะสมกับการเต้นของหัวใจในผู้ป่วยแต่ละราย  จุดประสงค์เพื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจให้ทำงานด้วยอัตราการเต้นตามปกติ    

 

 ส่วนประกอบของเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจแบบถาวร 

  
1. ตัวเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Pulse  generator)  ลักษณะเป็นกล่องโลหะปิดสนิท 
   ทุกด้าน  เบาแต่แข็งแรง  ไม่เป็นแม่เหล็ก  ข้างในเป็นสูญญากาศ  ส่วนใหญ่
   ทำจากโลหะไททาเนียม   (titanium) หรือเป็น  stainless  steel  มีฉนวนหุ้ม
   ด้านนอกป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้ารั่วสู่ภายนอกและเพื่อป้องกันน้ำในร่างกาย
   ซึมเข้าภายในเครื่อง
2. แบตเตอรี  ปัจจุบันใช้ลิเทียม ไอโอไดด์ ( lithium iodide)  มีขนาดเล็ก  อายุ
    การใช้งานประมาณ 7 – 10  ปี
3. วงจรภายในเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจแบบถาวรประกอบด้วย
     timing   circuit              ควบคุมอัตราการเต้น
     output   circuit             ชาร์ตและปล่อยกระแสไฟฟ้า
     sensing   circuit           รับสัญญาณ
4.  สายสื่อ  (lead)   คือ  สายต่อที่เป็นสื่อนำสัญญาณไฟฟ้าระหว่างเครื่อง 
     กระตุ้นไฟฟ้ากับหัวใจ  ส่วนใหญ่เป็นโลหะผสมแพลตินัม (platinum)  เนื่อง
     จากคงทนไม่สึกกร่อน   เป็นสื่อนำไฟฟ้าที่ดีและเข้ากับร่างกายได้ดี  ปลาย
     สายสื่อข้างหนึ่งจะสัมผัสกับหัวใจ   อีกข้างหนึ่งต่อกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า  
     สายสื่อแบ่งออกเป็น 2  ชนิดคือ
     4.1 สายสื่อชนิดสองขั้ว  (bipolar   electrode)  มีทั้งขั้วบวกและขั้วลบอยู่
           ตรงปลายที่สัมผัสกับหัวใจ  ขั้วลบจะอยู่ปลายสุด  ถัดขึ้นมาเป็นขั้วบวก
     4.2  สายสื่อชนิดขั้วเดียว (unipolar electrode) ที่ปลายสายมีเพียงขั้วลบ  
           ส่วนขั้วบวกจะอยู่ที่เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า

 


ชนิดของการทำงานของเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ  

แบ่งเป็น  2  ชนิด    
1.  แบบกำหนดอัตราเร็วคงที่   (fixed - rate   mode   หรือ   asynchronous   mode)   เครื่องจะเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าออกมาช่วยการเต้นของหัวใจตลอดเวลา     ด้วยอัตราที่เท่ากันตลอดไม่ว่าผู้ป่วยจะมีอัตราการเต้นของหัวใจตนเองมากน้อยเพียงใด มีข้อเสีย คือ เกิดหัวใจ เต้นผิดจังหวะได้ง่าย
2.  แบบอัตโนมัติทำงานสัมพันธ์กับกระแสไฟฟ้าภายในหัวใจ     (demand pacemaker)  เครื่องจะไม่ทำงานจนกว่าอัตราการเต้นของหัวใจผู้ป่วยช้ากว่าที่เครื่องกำหนด   เนื่องจากมีระบบรับสัญญาณเพิ่มในตัวเครื่อง  ซึ่งเมื่อรับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยเองได้แล้ว   ก็จะยับยั้งไม่ให้มีการปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมากระตุ้นหัวใจ  โดยสายสื่อมีหน้าที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าและรับสัญญาณคลื่นไฟฟ้า (R wave) ของผู้ป่วย  เมื่อได้รับสัญญาณก็จะส่งกลับไปที่การรับสัญญาณของตัวเครื่องเพื่อยับยั้งไม่ให้ปล่อยกระแสไฟออกมากระตุ้น   ข้อดี  คือ ส่งกระแส ไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจเท่าที่จำเป็น  และไม่แย่งชิงจังหวะการเต้นกับของผู้ป่วย

Code  ของเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจชนิดถาวร

 

ประกอบด้วย 5 ตำแหน่ง มีชื่อเรียกย่อๆว่า NBG Code (สุรพันธ์ สิทธิสุข ; 2545:120 -121)
ตำแหน่งที่ 1       แสดงถึงห้องหัวใจที่ถูกกระตุ้น
A  หมายถึง        หัวใจห้องบน  (atrium) 
V  หมายถึง        หัวใจห้องล่าง  (ventricle) 
D  หมายถึง        หัวใจทั้ง 2 ห้อง
ตำแหน่งที่ 2      แสดงถึงห้องหัวใจที่เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
                         สามารถรับสัญญาณจากผู้ป่วย
O  หมายถึง       ไม่มีการรับสัญญาณจากผู้ป่วย  นั่นคือ  เครื่องกระตุ้น
                         หัวใจทำงานแบบกำหนดอัตราเร็วคงที่ 
A  หมายถึง        หัวใจห้องบน
V  หมายถึง        หัวใจห้องล่าง
D  หมายถึง        หัวใจทั้ง 2 ห้อง
ตำแหน่งที่ 3     แสดงถึงการตอบสนองของเครื่องต่อสัญญาณที่ได้รับจาก
                        หัวใจผู้ป่วย
I   หมายถึง      inhibited     mode    เมื่อเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
                        ได้รับสัญญาณจากภายในหัวใจผู้ป่วย  จะยับยั้งการ
                        ปล่อยกระแส ไฟฟ้าออกมากระตุ้น  จากนั้นจะปรับเวลาและ
                        อัตราการเต้นใหม่ในรอบต่อไป
T  หมายถึง       triggered  response  เมื่อเครื่องกระตุ้นการเต้นของ
                        หัวใจได้รับสัญญาณจากภายในหัวใจผู้ป่วย ก็จะปล่อย
                        กระแสไฟฟ้าออกมากระตุ้น
D  หมายถึง       dual  response  มีทั้ง  inhibited และ triggered 
                         response 
ตำแหน่งที่ 4       แสดงถึงว่าเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจสามารถที่จะ
                         ถูกปรับค่าต่างๆ ตามที่แพทย์ต้องการ
O  หมายถึง       การทำหน้าที่ต่างๆ ของเครื่องไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้
P  หมายถึง        มีค่าอยู่ 1-2 ค่า ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้โดยใช้โปรแกรม
                          ทั่วไป  คือ  ค่าของอัตราเร็วและปริมาณกระแสไฟฟ้า
M หมายถึง        เครื่องสามารถปรับเปลี่ยนได้หลายค่าโดยใช้โปรแกรม
C   หมายถึง       เครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกับเครื่องโปรแกรมได้  โดย
                         ทั่วไปหมายถึง เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจมีความ
                         สามารถในการเก็บบันทึกข้อมูลได้
R   หมายถึง       เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดที่สามารถปรับอัตราการปล่อย
                         กระแส ไฟฟ้าออกมากระตุ้นได้ตามกิจกรรมของผู้ป่วย
                         ขณะนั้นๆ
ตำแหน่งที่  5    แสดงถึงการทำหน้าที่แก้ไขภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
O   หมายถึง     ไม่สามารถทำหน้าที่แก้ไขภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
P    หมายถึง     สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมากระตุ้นกรณีเกิดหัวใจ
                        เต้นผิดจังหวะ
S    หมายถึง     สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมากระตุกหัวใจกรณีหัว
                        ใจเต้นผิดจังหวะชนิด VT  หรือ VF
D    หมายถึง    สามารถทำหน้าที่ได้ทั้งปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมากระตุ้น,
                       หัวใจและกระตุกหัวใจถ้าหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

ตัวอย่าง   เช่น  

DDDR   หมายถึง   เครื่องจะกระตุ้นหัวใจทั้งห้องบนและห้องล่าง   หัวใจทั้ง 2 ห้อง สามารถรับและส่งสัญญาณได้ เป็นทั้งแบบส่งสัญญาณยับยั้งการปล่อยกระแส ไฟฟ้าและส่งสัญญาณให้เกิดการปล่อยกระแสไฟฟ้า และเครื่องสามารถปรับอัตราการปล่อยกระแสไฟฟ้าให้สัมพันธ์กับกิจกรรมของผู้ป่วยขณะนั้นๆ

 

  


ชนิดของเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ 

 สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ   (สมจิต หนุเจริญกุล,2541:58)

 
1. single  chamber pacemaker  หมายถึง  การส่งสัญญาณไฟฟ้า
    กระตุ้นการเต้นของหัวใจจะเกิดที่ห้องหัวใจห้องใดห้องหนึ่ง  เช่น VOO 
    (ventricular asynchronous)  จะกระตุ้นที่หัวใจห้องล่างแบบที่อัตรา
    เร็วเท่ากันตลอด   หรือ VVI (ventricular  inhibit)   จะมีการกระตุ้น
    และรับสัญญาณจากหัวใจที่หัวใจห้องล่าง โดยจะยับยั้งไม่ให้สัญญาณ
    ไฟฟ้าออกจากตัวเครื่อง    ถ้าอัตราการเต้นของหัวใจผู้ป่วยเร็วกว่าของ
    เครื่อง  แบบ VVI นี้มักนิยมใช้แพร่หลาย      หรือ AAI (atrial 
    inhibit) จะมีการกระตุ้นและรับสัญญาณอยู่ที่หัวใจห้องบน  หลักการ
    ทำงานคล้ายแบบ VVI


2. dual  chamber  pacemaker  หมายถึง การส่งสัญญาณไฟฟ้ากระตุ้น
    การเต้นของหัวใจจะเกิดที่ห้องหัวใจทั้ง 2 ห้อง ช่วยให้การบีบตัวของ
    หัวใจห้องบนและหัวใจห้องล่างเป็นไปตามลำดับ   ทำให้หัวใจห้องบนไล่
    เลือดลงสู่หัวใจห้องล่างก่อนที่หัวใจห้องล่างจะบีบตัวเพื่อไล่เลือดไป
    เลี้ยงร่างกาย   ซึ่งทำงานใกล้เคียงกับการทำงานปกติของหัวใจ   ใกล้
    เคียงธรรมชาติมากที่สุด  เช่น DVI ( AV sequential)  จะกระตุ้นทั้ง
    หัวใจห้องบนและหัวใจห้องล่าง  แต่รับสัญญาณที่หัวใจห้องล่างเท่านั้น 
    ถ้าหัวใจเต้นตามปกติสัญญาณจะถูกส่งจากหัวใจห้องล่างกลับไปยัง
    เครื่องกระตุ้นหัวใจ  ทำให้เครื่องไม่ส่งสัญญาณไฟฟ้าออกไป   แต่ถ้าไม่
    มีการบีบตัวของหัวใจห้องล่างก่อนกำหนดของเครื่อง   เครื่องจะปล่อย
    กระแสไฟฟ้าออกไปทั้งที่หัวใจห้องบนและหัวใจห้องล่าง  แต่ช่วงเวลาที่
    กระแสไฟฟ้าส่งถึงหัวใจห้องล่างจะช้ากว่าหัวใจห้องบนเล็กน้อย เป็นผล
   ให้มีการเต้นที่สัมพันธ์กัน หรือแบบ DDO (fully automatic
    pacemaker)   การทำงานคล้ายแบบ  DVI    แต่สามารถรับและส่ง
    สัญญาณได้ทั้งหัวใจห้องบนและหัวใจห้องล่าง


การตั้งโปรแกรมของเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจแบบถาวร  
1.   กำหนดอัตราการเต้นของหัวใจ (rate / PPM)
2.   กำหนดกระแสคลื่นไฟฟ้าที่จะใช้กระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจ
      (out put /MA)
3.   กำหนดความไวของการรับสัญญาณ R wave   (sensitivity / MV)
4.   กำหนด  hysteresis     เป็นคุณสมบัติพิเศษของเครื่องกระตุ้นหัวใจที่
      สามารถกำหนดได้ว่าจะให้ปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมากระตุ้น เมื่ออัตรา
      การเต้นของหัวใจห้องล่างต่ำกว่าเท่าใดหรือปล่อยที่อัตราเท่าใด

 

ข้อบ่งชี้ในการใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจแบบถาวร    

1.  คอมพลีท  ดีกรี เอ วี บล็อค  ที่เกิดร่วมกับข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
     1.1   หัวใจเต้นช้ามากจนทำให้มีอาการภาวะหัวใจวาย
     1.2   ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้ยารักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ 
     1.3   หัวใจเต้นช้ากว่า 40  ครั้งต่อนาที หรือหยุดเต้นนานกว่า 3 วินาที 
            ขณะตื่นโดยไม่มีอาการ
     1.4   มี เอ วี บล็อค เกิดขึ้นภายหลังทำการจี้ด้วยไฟฟ้าผ่านสายสวนหัวใจ
     1.5   มี  เอ วี บล็อค   ภายหลังจากการผ่าตัดหัวใจ
2.   เซคัน ดีกรี เอ วี บล็อค  ชนิดถาวรหรือเกิดเป็นช่วงๆ  แล้วทำให้ผู้ป่วยมี
      อาการ
3.   เซคัน ดีกรี เอวี บล็อค หรือ  คอมพลีท  ดีกรี เอ วี บล็อค ที่เกิดหลังจาก
     มีภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและเป็นอยู่ตลอดไม่หายไป
4.   ไซนัส  โนด  ไม่ทำงาน  ทำให้ผู้ป่วยมีอาการจากหัวใจเต้นช้า
5.   มีภาวะ carotid  sinus  syncope   ซึ่งผู้ป่วยจะเป็นลมบ่อยๆ    ซึ่งสัมพันธ์
      กับการกระตุ้นที่คาโรติดไซนัส      โดยหัวใจจะหยุดเต้นเกิน 3 วินาที 
      เมื่อมีการกระตุ้นเพียงเล็กน้อย

ภาวะแทรกซ้อนจากการใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ   
1. เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจทำหน้าที่ผิดปกติ
    1.1  เครื่องไม่ทำงานในขณะที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น หรือหัวใจเต้นช้า
    1.2  เครื่องสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาได้     แต่ไม่สามารถกระตุ้นให้
          หัวใจเกิดการบีบตัวได้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของระดับความทนต่อ
          การถูกกระตุ้น(pacing  thresthold)  
    1.3  เครื่องสูญเสียความสามารถในการยับยั้งไม่ให้มีการปล่อยกระแส ไฟฟ้า
          ออกมากระตุ้นดังนั้นเครื่องจึงกระตุ้นออกมาอย่างไม่เหมาะสม
         (undersensing)
    1.4  มีความไวมากเกินไป  รับสัญญาณจากภายนอกที่เข้ามารบกวนแล้วไป
          ยับยั้งเครื่องไม่ให้กระตุ้นหัวใจ  ( oversensing)
    1.5  เครื่องทำงานด้วยอัตราเร็วกว่าที่ตั้งไว้มาก   อาจทำให้เกิดหัวใจห้องล่าง
          เต้นเร็ว  (ventricular tachycardia)   มักพบในชนิดกำหนดอัตราการ
          เต้นแบบคงที่ 
2. หัวใจห้องล่างเต้นระริก   (ventricular    fibrillation)         เนื่องจากไป
   กระตุ้นช่วงจังหวะที่ไม่เหมาะสม
3. ปลายสายสื่อหลุดจากที่  ที่พบบ่อยที่สุดคือ  พวกที่ใช้สายสื่อชนิดสัมผัสภาย
   ในหัวใจ   ระยะเวลาที่เกิดอาจเกิดได้ทันทีหลังผ่าตัดหรือเกิดหลายสัปดาห์
   หลังผ่าตัด      เมื่อปลายสายสื่อเลื่อนไปจากตำแหน่งที่กำหนดไว้ก็จะไม่มีการ
   กระตุ้นเลย   หรือมีการกระตุ้นไม่สม่ำเสมอ   ซึ่งสังเกตได้ว่าจะไม่มีเครื่อง
   หมายสัญญาณให้เห็น      ภาวะแทรกซ้อนนี้อาจแสดงให้เห็นได้โดยการถ่าย
   ภาพรังสีของทรวงอกถ้ามีการเคลื่อนที่ของสายสื่อมาก   แต่ถ้ามีการเคลื่อนที่
   น้อยภาพถ่ายรังสีทรวงอกจะเห็นการเปลี่ยนแปลงไม่ชัดเจน
4. ผนังของหัวใจเกิดทะลุจากสายสื่อที่ใส่เข้าไป      ซึ่งมักพบว่าผู้ป่วยอาจมี
   อาการของกล้ามเนื้อระหว่างซี่โครงหรือกะบังลมหดตัว  มีเยื่อบุหัวใจอักเสบ
   (pericarditis)       มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardial effusion)    หัวใจ
    ถูกรัด (cardiac  temponade)
5. เครื่องกระตุ้นหัวใจเลื่อนจากโพรงใต้ผิวหนัง หรือทะลุออกจากโพรงใต้ผิว
    หนัง  เกิดได้ไม่บ่อย   มักเกิดจากการที่ผู้ป่วยมีผิวหนังบาง   ไขมันใต้ผิวหนัง
    บางหรือเป็นผลจากการทำให้เกิดเป็นโพรงใหญ่หรือเล็กเกินไปที่เกิดจากผล
    ของการติดเชื้อพบได้น้อยมาก    ถ้าเครื่องทะลุออกมาภาย นอกโดยมากต้อง
    ย้ายที่ทำใหม่ให้ห่างออกไปหรือย้ายไปทำที่หน้าอกอีกด้านหนึ่ง
6.  การติดเชื้อ  พบประมาณร้อยละ  5 - 6  อาจติดเชื้อเฉพาะที่บริเวณหลอด
    เลือดดำที่สอดสายสื่อ หรืออาจมีการติดเชื้อในกระแสเลือดจนถึงเยื่อบุหัวใจ
    อักเสบจากการติดเชื้อ (endocarditis)
7.  มีก้อนทรอมบัส (thrombus)  เกิดขึ้น   ทำให้ผู้ป่วยมีอาการของลิ่มเลือดไป
    อุดที่ปอดเกิดเนื้อปอดตายได้
8.  เสียงเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ        เนื่องจากการใส่ตำแหน่งสายสื่อ
    ไม่เหมาะสมทำให้ได้ยินเสียงผิดปกติ  บางครั้งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดกล้าม
     เนื้อหัวใจทะลุโดยไม่ทราบสาเหตุ
9.  ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ  เช่น  สายสื่อผูกเป็นปมอยู่ในเอเตรียม  มีการยับยั้งไม่
    ให้กระตุ้นกระแสไฟฟ้าออกมาจากการกระตุกของกล้ามเนื้อ          และมี
    ภาวะหัวใจล้มเหลวจากการหดตัวของหัวใจห้องบนและหัวใจห้องล่างไม่
     ประสานกันแบ่งเป็น  2  ชนิด    

1. แบบกำหนดอัตราเร็วคงที่ (fixed-rate mode หรือ asynchronous mode)  
   เครื่องจะเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าออกมาช่วยการเต้นของหัวใจตลอดเวลา    
   ด้วยอัตราที่เท่ากันตลอดไม่ว่าผู้ป่วยจะมีอัตราการเต้นของหัวใจตนเองมาก
   น้อยเพียงใด มีข้อเสีย คือ เกิดหัวใจ เต้นผิดจังหวะได้ง่าย                         

2.  แบบอัตโนมัติทำงานสัมพันธ์กับกระแสไฟฟ้าภายในหัวใจ (demand
    pacemaker) เครื่องจะไม่ทำงานจนกว่าอัตราการเต้นของหัวใจผู้ป่วยช้ากว่าที่เครื่องกำหนด เนื่องจากมีระบบรับสัญญาณเพิ่มในตัวเครื่อง  ซึ่งเมื่อรับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยเองได้แล้ว   ก็จะยับยั้งไม่ให้มีการปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมากระตุ้นหัวใจ  โดยสายสื่อมีหน้าที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าและรับสัญญาณคลื่นไฟฟ้า (R wave) ของผู้ป่วย  เมื่อได้รับสัญญาณก็จะส่งกลับไปที่การรับสัญญาณของตัวเครื่องเพื่อยับยั้งไม่ให้ปล่อยกระแสไฟออกมากระตุ้น มีข้อดี  คือ ส่งกระแส ไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจเท่าที่จำเป็น  และไม่แย่งชิงจังหวะการเต้นกับของ
ผู้ป่วย


ขอขอบคุณสำหรับแหล่งข้อมูล

URL สำหรับเรื่องนี้คือ :
http://www.vajira.ac.th/kt/modules.php?name=News&file=article&sid=217

หมายเลขบันทึก: 229870เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2008 09:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • คุณไก่เงียบหายไปด้วยภาระกิจที่สำคัญยิ่ง
  • วันนี้กลับมาพร้อมความรู้มากมาย
  • ขอเป็นกำลังใจค่ะ
  • สุขสันต์ทุก ๆ วัน มีกำลังใจยิ่งใหญ่ตลอดไปนะคะ
  • แวะมาศึกษา
  • และให้กำลังใจพ่อพี่ไก่
  • หายไว ๆ นะครับพี่
  • คิดถึงๆๆๆๆๆๆ

สวัสดีค่ะ พี่ไก่..ขอให้คุณพ่อพี่ แข็งแรงไวๆ นะคะ ลูกสาวหาข้อมูลแน่นปึกแล้วค่ะพี่ แต่การ care คงต้องมีประสบการณ์พิเศษ หน่อยนึงค่ะ

เพิ่งได้รับทราบรายละเอียดของเครื่องกระต้นหัวใจนะคะ

แล้วมีระยะเวลาของการทำงานไหมคะ..

ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

P สวัสดีค่ะ 1. คุณครู วรางค์ภรณ์ เนื่องจากอวน
เมื่อ อ. 16 ธ.ค. 2551 @ 09:42
  • ใช่ค่ะที่เงียบหายไปด้วยภาระกิจที่สำคัญหลายอย่าง
  • ขอบคุณค่ะสำหรับกำลังใจ นับเป็นกำลังใจที่ยิ่งใหญ่มากมายเลยค่ะ

P สวัสดีค่ะ 2. ครูโย่ง หัวหน้า~ natadee
เมื่อ อ. 16 ธ.ค. 2551 @ 09:47
  • ขอบคุณค่ะน้องโย่งที่แวะมาศึกษา และให้กำลังใจพ่อพี่ไก่
  • ภาวนาให้หายไว ๆ กันนะคะ
  • คิดถึงๆๆๆๆๆๆ เช่นกันค่ะ
P สวัสดีค่ะ 3. ♥.·° ♥paula ที่ปรึกษา~natadee·° ..✿
เมื่อ อ. 16 ธ.ค. 2551 @ 10:49
  • ขอบคุณค่ะสำหรับคำอวยพร ขอให้คุณพ่อพี่ แข็งแรงไวๆ นะคะ
  • เห็นด้วยค่ะมีข้อมูลแน่นปึก แต่การ care คงต้องมีประสบการณ์พิเศษ หน่อยนึงค่ะ
  • การ Care ใครมีประสบการณ์พิเศษ เชิญบอกเล่าให้ฟังบ้างนะคะ

P  สวัสดีค่ะ 4. add
เมื่อ อ. 16 ธ.ค. 2551 @ 10:56 

  • ไม่ค่อยมีเวลาเท่าไหร่ งานยังเยอะมากค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจที่ส่งมาให้นะคะ
  • พ่อเข้าห้องผ่าตัดช่วงบ่ายสอง  และออกจากห้องผ่าตัดประมาณห้าโมงเย็นค่ะ  วันนี้ได้น้าพร  หลานชายพ่อจากอุดรมานอนเฝ้าไข้ให้   
  • พ่อบอกรู้สึกตัวตลอด หมอฉีดยาชาให้แล้วก็ใช้มีดปาดกรีดผิวหนังบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้าด้านซ้าย และสอดใส่อุปกรณ์เข้าไปฝังไว้ใต้ชั้นผิวหนังได้แล้ว หมอก็เย็บปิดแผลเอาไว้  ตอนนี้ยังรู้สึกแสบ ๆ แผลอยู่ค่ะ
  • หลังจากกลับมาที่เตียง  หมอใส่ครื่องเฝ้าระวังเอาไว้ หลายอย่างค่ะ  (EKG / O2 Sat /  BP )  ชีพจรเต้นอยู่ที่ 72 ครั้ง/นาที  O2 Sat  99 % ความดันโลหิตยังสูง  184/100 มม.ปรอท 
  • ช่วง 18 น. แวะไปเยี่ยมพ่อ  พ่อบ่นหิวข้าว  บอกพ่องดอาหารมาตั้งแต่เมื่อคืน ยังไม่มีอะไรตกถึงท้อง  เห็นน้าพรป้อนอาหารให้แทบไม่ทันใจเลยค่ะ  พ่อบอกอยากได้ขนมปังใส้หมูหยองกำลังจะออกไปหาซื้อมาให้  เผอิญพอดี ออ น้องสาวก็แวะมาเยี่ยมพร้อมของฝากขนมปังและนมถั่วเหลือง เลยอยู่คุยถามไถ่อาการอยู่ซักพัก เลยต้องลากลับ  เพราะพ่อต้องพักผ่อน
  • ข้อจำกัดที่พ่อต้องปฏิบัติหลังทำหัตถการในครั้งนี้ คือ  นอนทำกิจกรรมต่าง ๆ บนเตียง อย่างน้อย 3 วัน  ห้ามยกแขนซ้ายนานจนถึงวัที่ 23 ธันวาคม  2551 และหลังจากนั้นห้ามยกแขนซ้ายอยู่เหนือศีรษะจนถึงวันที่ 16 มกราคม  2552  นับเป็นข้อจำกัดที่ยากลำบากสำหรับพ่อมากเลยค่ะ เพราะพ่อไม่ค่อยนิ่ง  
  • พ่อต้องทำให้ได้นะคะพ่อ  พ่อ สู้ ๆ นะคะ
  • พ่อได้กลับไปพักฟื้นที่บ้านแล้วค่ะ ตั้งแต่วันที่ 19 ธุนวาคม  2551
  • ที่บ้านพ่อจับชีพจรตัวเองตามที่หมอแนะนำ  ได้ประมาณ 52 - 60 ครั้งต่อนาที เต้นน้อยกว่าอยู่โรงพยาบาล จะได้ 70 - 80 ครั้งต่อนาที  แต่แรงดี  ไม่มีอาการวูบเหมือนเมื่อก่อน 
  • วันนี้พาพ่อมาทำแผล  แผลแห้งดีค่ะ
  • ขอจบรายงานของพ่อไว้ก่อนนะคะ
  • วันนี้ต้องดูแลแม่ต่อค่ะ แม่จะผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีวันพรุ่งนี้ค่ะ

ขอเป็นสมาชิกด้วยคน คุณพ่อกำลังจะผ่าฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ

มีอะไรขอเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยคนนะคะ

ขอบคุณสำหรับแหล่งข้อมูลที่ได้ลงไว้เป็นวิทยาทานเป็นประโยชน์มากๆคะ

รบกวนขอคำปรึกษาหน่อยค่ะ คุณพ่อต้องเปลี่ยนกล่องหัวใจค่ะ รพ.ให้ไปตรวจเช็ดการทำงานของเครื่องพบว่าเครื่องหมดอายุการใช้งาน แต่บริษัทเจ้าของเครื่อง และพยาบาล บอกว่าให้รอคุณหมอติดต่อกลับ คุณพ่อเองบอกว่าหน้ามืด เป็นลมบ่อย และเกรงว่าคุณหมอจะไม่ติดต่อกลับ ทำไงดีค่ะขอคำแนะนำด่วนค่ะ (คุณหมอ รพ.ภูมิพล) ขอบคุณมากๆค่ะ

พี่ค๊ะ ถ้าผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ จะเสียค่าใช้จ่ายมากมั๊ยค๊ะ ท่านเป็นพระสงฆ์ค่ะ จะพาไปรักษาที่ขอนแก่น

กรณีที่ได่รับการผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ และปอดทะลุในขั้นตอนการผ่าตัด เป้นความผิดของใคร แพทย์สามารถป้องกันได้ไหม โรงพยาบาลควรรับผิดชอบหรือไม่อย่างไร ขอขอบพระคุณล่วงหน้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท