ภูมิ ๔ คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ โลกุตรภูมิ ฯ


อ่านทั้งหมด ที่เวป http://khunsamatha.com/

ภูมิ ๔ คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ โลกุตรภูมิ ฯ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



            [๑๗๑] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณอย่างไร
ภูมิ ๔ คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ โลกุตรภูมิ ฯ


            [๑๗๒] กามาวจรภูมิเป็นไฉน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ อันท่องเที่ยว คือ นับเนื่องในโอกาสนี้ ข้างล่างตลอด
ไปจนถึงอเวจีนรกเป็นที่สุด ข้างบนขึ้นไปจนถึงเทวดาชาวปรนิมมิตวสวดีเป็นที่สุด
นี้เป็นกามาวจรภูมิ ฯ


            [๑๗๓] รูปาวจรภูมิเป็นไฉน ธรรม คือ จิตและเจตสิกของบุคคล
ผู้เข้าสมาบัติ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก หรือของท่านผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่
เป็นสุขในปัจจุบัน อันท่องเที่ยว คือ นับเนื่องโอกาสนี้ ข้างล่างตั้งแต่พรหมโลก
ขึ้นไปจนถึงเทวดาชั้นอกนิฏฐ์ข้างบนเป็นที่สุด นี้ชื่อว่ารูปาวจรภูมิ ฯ


            [๑๗๔] อรูปาวจรภูมิเป็นไฉน ธรรม คือ จิตและเจตสิกของบุคคล
ผู้เข้าสมาบัติ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก หรือของท่านผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่
เป็นสุขในปัจจุบัน อันนับเนื่องในโอกาสนี้ ข้างล่างตั้งแต่เทวดาผู้เข้าถึงชั้นอากา-
*สานัญจายตนภพ ตลอดขึ้นไปจนถึงเทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
ข้างบนเป็นที่สุด นี้ชื่อว่าอรูปาวจรภูมิ ฯ


            [๑๗๕] โลกุตรภูมิเป็นไฉน มรรค ผล และนิพพานธาตุอันปัจจัย
ไม่ปรุงแต่ง อันเป็นโลกุตระ นี้ชื่อว่าโลกุตรภูมิ ภูมิ ๔ เหล่านี้ ฯ


            [๑๗๖] ภูมิ ๔ อีกประการหนึ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ ฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปาวจรสมาบัติ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔
ปฏิปทา ๔ อารมณ์ ๔ อริยวงศ์ ๔ สังคหวัตถุ ๔ จักร ๔ ธรรมบท ๔ ภูมิ ๔
เหล่านี้ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะ
เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณ ฯ


            เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๒๐๒๙ - ๒๐๕๐.  หน้าที่  ๘๓ - ๘๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=2029&Z=2050&pagebreak=0

หมายเลขบันทึก: 229323เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2008 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณที่ให้ธรมะ เรียนรู้ได้อย่างเข้าใจ อย่างนี้ ขอติดตามธรรมะอีกค่ะ ขอบคุณค่ะ

ภูมินานัตตญาณ (ญาณในความต่างแห่งภูมิ)พระสูตรนี้พระสารีบุตรแสดงถึงธรรมคือจิตและเจตสิกของบุคคลต่างๆ ที่อยู่ในโลกมนุษย์และภพภูมิต่างๆ ทั้งในกามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ หรือโลกุตตรภูมิ ดังยกมาแสดงข้างบนนี้

 

พระสูตรนี้เป็นธรรมภาษิตของพระอรหันตสาวก คือ พระสารีบุตร พระสารีบุตร เป็นอัครสาวกเบื้องขวา ของพระพุทธเจ้า เป็นเอตทัคคะ คือได้รับการยกย่อง จากพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในด้านมีปัญญามาก

 

พระสารีบุตร มีเดิมนามเดิมว่า อุปติสสะ ได้บรรลุโสดาบัน เมื่อได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิ ภายหลังได้บวชในพระพุทธศาสนาแล้ว มีชื่อเรียกใหม่ว่า สารีบุตร (แปลว่า บุตรของนางสารี) และต่อมาไม่นานก็บรรลุอรหัตผล

 

พระสารีบุตร มีคุณความดีและบำเพ็ญประโยชน์ให้พระพุทธศาสนาอย่างมาก และธรรมภาษิต ที่ท่านได้แสดงไว้ก็ปรากฏอยู่มากมายในพระไตรปิฎก มีคำเรียกเพื่อยกย่องท่าน อีกอย่างหนึ่งว่า พระธรรมเสนาบดี (ซึ่งเป็นคู่กับพระบรมศาสดาว่า พระธรรมราชา)

เป็นผู้เลิศทางปัญญา

หลังจากพระพุทธองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหารย์ จำพรรษาและแสดงอภิธรรม ณดาวดึงส์ เสด็จลงมา ณประตูเมืองสังกัสสะ พระสารีบุตรพร้อมทั้งภิกษุ ภิกษุณี และสาธุชนจำนวนมาก มาเฝ้ารอรับเสด็จ

 

พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสถามปัญหาในวิสัยของปุถุชนเป็นต้น พวกปุถุชนแก้ปัญหาได้ ในวิสัยของตนเท่านั้น ไม่สามารถจะแก้ปัญหา ในวิสัยของพระโสดาบันได้ พระอริยบุคคลทั้งหลาย มีพระโสดาบันเป็นต้นก็เหมือนกัน ไม่สามารถจะแก้ปัญหา ในวิสัยของพระอริยบุคคลทั้งหลาย มีพระสกทาคามีเป็นต้น พระมหาสาวกที่เหลือ ไม่สามารถจะแก้ปัญหา ในวิสัยของพระมหาโมคคัลลานะ พระมหาโมคคัลลานะไม่ สามารถจะแก้ปัญหา ในวิสัยของพระสารีบุตรเถระได้ แม้พระสารีบุตรเถระ ก็ไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระพุทธเจ้าได้เหมือนกัน ในครั้งนั้น มหาชนจึงได้รู้จักพระสารีบุตร ว่า เป็นผู้เลิศทางปัญญา พระสารีบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีปัญญามาก ฯ เอตทัคคบาลี อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐

 

ธรรมบรรยายของพระสารีบุตร

 

พระสารีบุตรได้แสดงธรรมอันลึกซึ้ง ปรากฏอยู่มากมายในพระไตรปิฎก เช่น

 

คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 31

สังคีติสูตร ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 11

ทสุตตรสูตร ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 11

ตอนท้ายของธรรมทายาทสูตร ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 12

อนังคณสูตร ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 12

สัมมาทิฏฐิสูตร ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 12

มหาหัตถิปโทปมสูตร ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 12

ธนัญชานิสูตร ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 13

ฉันโนวาทสูตร ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 14

ชัมพุขาทกสังยุตต์ ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 18

 

คุณความดีของพระสารีบุตร

 

พระสารีบุตรท่านมีคุณความดีที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องไว้มากมาย ขอยกมาเฉพาะบางเรื่องที่สำคัญๆ ดังต่อไปนี้

 

พระพุทธองค์ทรงยกย่องพระสารีบุตรว่า เป็นผู้มีปัญญาอนุเคราะห์เพื่อนบรรพชิตด้วยกัน ตัวอย่างครั้งหนึ่งที่กรุงเทวทหะ ภิกษุพากันเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ ทูลลาจะไปปัจฉาภูมิชนบท พระองค์ตรัสให้ไปลาพระสารีบุตร เพื่อท่านสารีบุตรจะได้แนะนำสั่งสอน ในการไปของพวกเธอ จะได้ไม่เกิดความเสียหาย

 

ทรงยกย่องพระสารีบุตรว่าเป็นคู่กับพระมหาโมคคัลลานะ เช่น ทรงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายคบกับสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด ... สารีบุตรเปรียบเหมือนมารดาผู้ให้กำเนิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนนางนม ผู้เลี้ยงทารกที่เกิดแล้วนั้น สารีบุตรย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะแนะนำให้ตั้งอยู่ในคุณเบื้องบนสูงกว่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงมีคำยกย่องว่า พระสารีบุตรเป็นอัครสาวกฝ่ายขวา และพระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกฝ่ายซ้าย

 

มีคำเรียกยกย่องพระสารีบุตร อีกอย่างหนึ่งว่า พระธรรมเสนาบดี ซึ่งเป็นคู่กับพระบรมศาสดาว่า พระธรรมราชา พระสารีบุตรเป็นผู้มีปฏิภาณในการแสดงพระธรรมเทศนา คือ ชี้แจงแสดงให้ผู้ฟังเข้าใจได้ชัดเจน

 

ท่านเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที พึงเห็นตัวอย่างได้จาก เมื่อท่านได้ฟังธรรมเทศนาที่พระอัสชิแสดง ได้ธรรมจักษุแล้วมาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นมาท่านก็นับถือพระอัสสชิว่า เป็นอาจารย์ทำการเคารพอยู่เสมอ แม้ได้ยินข่าวว่าพระอัสชิอยู่ในทิศใด เมื่อท่านจะนอน ท่านจะนมัสการไปทางทิศนั้นก่อน แล้วนอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น อีกตัวอย่างหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรยังราธพราหมณ์ให้อุปสมบท เพราะระลึกถึงคุณที่ราธพราหทณ์ ได้ถวายบิณฑบาตแก่ท่านเพียงทัพพีเดียว

 

ก่อนที่ท่านจะนิพพาน ท่านพระสารีบุตรพิจารณาเห็นว่าอายุสังขารจวนจะสิ้นแล้ว ปรารถนาจะไปโปรดมารดา (คือ นางสารี) ที่ยังเป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่ เมื่อท่านไปถึงบ้านเดิมแล้ว ได้เกิดปักขันทิกาพาธขึ้นในคืนนั้น ในเวลาที่พระสารีบุตรกำลังอาพาธอยู่นั้น ท่านได้เทศนาโปรดมารดา จนนางสารีได้บรรลุโสดาบัน คืนนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนสิบสอง พระสารีบุตรก็ปรินิพพานในห้องที่ท่านเกิด รุ่งขึ้นพระจุนทะ(ผู้เป็นน้อง)ได้ทำฌาปนกิจสรีระพระเถรเจ้า เสร็จแล้วเก็บอัฏฐิธาตุ นำไปถวายพระบรมศาสดา ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี พระพุทธองค์โปรดให้ก่อเจดีย์ บรรจุอัฏฐิธาตุของพระสารีบุตร ไว้ ณ ที่นั้น การที่บุตรได้ชักนำบุพการี ให้นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ จนได้มรรคผล นับเป็นการตอบแทนคุณอย่างยอดเยี่ยม ดึงข้อมูลจาก

 

"http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%A3".

ได้ความรู้ทางธรรม...ซึ่งปรากฏในวรรณกรรม..หลายประการ...อนุโมทนาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท