ทำใจไว้ก่อนไปแมมโมแกรม(เอกซเรย์เต้านม)


...

เป็นที่ทราบกันดีว่า การตรวจเอกซเรย์เต้านม (mammogram / แมมโมแกรม) เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งอย่างหนึ่งที่กล่าวกันว่า คนที่เคยผ่านการตรวจมาแล้วมักจะ "ลืมไม่ลง" เนื่องจากเป็นการตรวจที่ "ไม่มีใครเหมือน" และ "ไม่เหมือนใคร"

เว็บไซต์สถาบันเมโยคลินิก สหรัฐฯ (www.mayoclinic.com) จัดทำวิดีทัศน์ (video) เรื่อง 'Video: Mammogram for breast cancer detection -- What to expect' แปลว่า "วิดีโอ: การตรวจเอกซเรย์เต้านมเพื่อหามะเร็งเต้านม -- คาดหวังอะไร"

...

ภาพการตรวจเอกซเรย์เต้านมจากวิกิพีเดีย > [ Wikipedia ]

...

ภาพการตรวจเอกซเรย์เต้านม (ภาพจากฟีล์ม) จากวิกิพีเดีย > [ Wikipedia ]

...

ภาพจาก www.funnypart.com > [ Click ]

  • ภาพการ์ตูนล้อเลียนการตรวจเอกซเรย์เต้านมหรือแมมโมแกรม ซึ่งมีการกดเต้านมให้แบนราบลงก่อนเอกซเรย์ โดยใช้แผ่นพลาสติกหนีบ 2 ข้างคล้ายๆ การทำ "กล้วยทับ" เพื่อให้เนื้อเยื่อกระจายออก เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

...

  • ภาพนี้ขึ้นต้นหัวเรื่องว่า 'Mammogram' = แมมโมแกรม / การตรวจเอกซเรย์เต้านม
  • คำประกอบภาพได้แก่ 'Yes, I did have my mammogram today... Why do you ask?' = "ใช่, วันนี้ฉันไปทำแมมโมแกรม (เอกซเรย์เต้านม) มาแล้ว... ทำไมคุณถึงได้ถาม"

...

Hiker

  • การหนีบเต้านมไว้มีส่วนทำให้คนไข้อยู่นิ่ง ไม่ขยับตัว ทำให้ภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ภาพไหว (motion blur) น้อยลง
  • การหนีบเต้านมทำให้รู้สึกแน่น และบางคนรู้สึกปวดแบบ "ลืมไม่ลง" ครั้งหนึ่งวารสารหมอชาวบ้านตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ท่านอาจารย์นายแพทย์ธรรมนิตย์ อังศุสิงห์ ผู้เชี่ยวชาญรังสีวินิจฉัยด้านเอกซเรย์เต้านม ท่านเล่าว่า คนที่ทนการหนีบเต้านม (เจ็บ) ไม่ได้มีประมาณ 3%

...

  • การตรวจเอกซเรย์เต้านมนิยมตรวจ 2 ท่าได้แก่ ท่าหนีบด้านบน-ล่าง (ดังภาพ) และท่าหนีบเฉียงๆ เพื่อช่วยให้การหา "พิกัด" หรือตำแหน่งของโรคแม่นยำยิ่งขึ้น
  • การตรวจนี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากคนไข้มาก ถ้าคนไข้ไม่ให้ความร่วมมือ... ความแม่นยำในการตรวจจะลดลงไปมาก

...

Hiker

  • ข้อมูลในประเทศไทยพบว่า ความแม่นยำในการตรวจอยู่ในช่วง 83-97% ไม่ใช่ 100% เนื่องจากเต้านมคนเอเชีย "แน่น" กว่าเต้านมฝรั่ง เต้านมคนเอเชียมีสัดส่วนของเนื้อเยื่อเต้านมสูง ไขมันน้อย ทำให้ภาพที่ได้ไม่ชัดเจนเท่าภาพเต้านมฝรั่ง ซึ่งมีสัดส่วนเนื้อเต้านมต่ำ ไขมันสูง
  • สิ่งสำคัญมากๆ ที่พวกเราควรรู้คือ ไม่มีการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ใดที่แม่นยำ 100% การตรวจทางการแพทย์ส่วนใหญ่มีความแม่นยำอยู่ในช่วง 80-95%

...

  • ถึงจะไปตรวจเอกซเรย์เต้านมเป็นประจำแล้วก็ต้องตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน เนื่องจากมะเร็งเต้านมส่วนหนึ่งโตเร็วมากจนการตรวจทุกปีหาไม่พบ ('intervel cancer')

...

Hiker

เรียนเสนอให้พวกเราเข้าไปชมกันที่นี่ ด้านขวามี transcript (บทพากษ์ภาษาอังกฤษ) ซึ่งจะใช้ฝึกการฟังภาษาอังกฤษได้ โดยฟังไปด้วย อ่านตามไปด้วย แบบนี้ไม่นานภาษาอังกฤษจะเก่งขึ้นมากเลย

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ขอแนะนำ                                                

  • 'เอกซเรย์เต้านม(แมมโมแกรม)แม่นยำมากน้อยเท่าไร'

...

  • '2 ท่า 3 ที 2 วิธีตรวจเต้านมด้วยตนเอง'
  • [ Click ]

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                     

...

ศัพท์ที่น่าสนใจตอนนี้มาจากบทบรรยายการ์ตูน (www.funnypart.com) ได้แก่ 'Yes, I did have my mammogram today... Why do you ask?'

  • 'mammogram' มาจากการผสมศัพท์ 2 คำเข้าด้วยกันคือ 'mammo' = เต้านม นม + 'gram' = การเขียน (หมายถึงการตรวจ การบันทึก)
  • 'mammogram' = การตรวจเอกซเรย์เต้านม แมมโมแกรม (ทับศัพท์)
  • 'mammogram' ออกเสียง [ แม้ม' - โม - แกร่ม ] ย้ำเสียง (accent) ที่พยางค์แรกคือ เสียง "แม้ม" เนื่องจากเป็นคำนาม (noun) คำนามมักจะย้ำเสียงพยางค์หน้า คำกริยามักจะย้ำเสียงพยางค์หลัง

...

ฟังเสียงเจ้าของภาษา > คลิกเครื่องหมาย "ธงชาติ" หรือ "ลำโพง" > [ Click ]

...

ที่มา                                                     

  • Thank www.freedictionary.com > 'mammogram > [ Click]', 'mammo > [ Click ]', 'gram > [ Click ]'
  • Thank www.funnypart.com > [ Click ]
  • ข้อมูลในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค  ท่านผู้อ่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > สงวนลิขสิทธิ์บทความในบล็อก > ยินดีให้นำไปใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ หรือเผยแพร่ความรู้ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 14 ธันวาคม 2551.
หมายเลขบันทึก: 229319เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2008 08:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท