ไตรโคเดอร์ฆ่าเชื้อรายอดฮิตกับการผลิตและการนำไปใช้


ไตรโคเดอร์ม่า

ไตรโคเดอร์ม่าเชื้อรายอดฮิตกับการผลิตและการนำไปใช้

                ปัจจุบันพี่น้องเกษตรกรได้ให้ความสนใจในการผลิตขยายและใช้สารชีวภาพในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชมากขึ้น โดยเฉพาะเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (Trichoderma spp) ที่มีความโดดเด่นและสำคัญขึ้นมาทันที โดยมีคุณสมบัติในการควบคุมเชื้อราสาเหตุของโรคหลายชนิด เช่น ป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าของไม้ผลไม้ยืนต้น ป้องกันโรคเน่าระดับดินของพืชผักหลายชนิด ป้องกันโรคเหี่ยวของพืชไร่ไม้ผลพืชผักไม้ดอกไม้ประดับ ป้องกันโรคเมล็ดเน่าของพืชผัก โรครากเน่า  โรคโคนเน่าของไม้ผล  ป้องกันโรคเหี่ยวโรคโคนเน่าของผักหลายชนิด เชื้อราไตรโครเดอร์ม่าชอบดินชื้นแต่ไม่แฉะ สภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่เหมาะสม คือ  PH 5.4 – 6.5 ไม่เป็นอันตรายกับคนและศัตรูธรรมชาติ  ประสิทธิภาพในการควบคุมโรคสูง และพี่น้องเกษตรกรสามารถผลิตใช้เองได้

วัสดุอุปกรณ์ในการผลิต

            1. เมล็ดข้าวฟ่างแดงหรือเมล็ดข้าวเปลือก

            2. ถุงพลาสติก ทนความร้อน  ขนาด 6 x 12 นิ้ว

            3. หัวเชื้อราไตรโครเดอร์ม่า

            4. คอขวดพลาสติกและยางวง , สำลี , กระดาษหนังสือพิมพ์ , ใยฝ้าย

            5. แอลกอฮอล์ล้างแผล 70% และเอทนิลแอลกอฮอล์  95% 

            6. ตู้เขี่ยเชื้อ

            7. อุปกรณ์หม้อนึ่ง  และเตาแก็ส

            การผลิตขยายเชื้อราไตรโครเดอร์ม่า

1.      นำเมล็ดข้าวฟ่างแดงหรือเมล็ดข้าวเปลือกประมาณ  80  กิโลกรัม  มาล้างให้สะอาด  แล้วแช่

น้ำไว้ประมาณ  12 24  ชั่งโมง

2.      นำเมล็ดข้าวฟ่างแดงหรือเมล็ดข้าวเปลือกที่แช่น้ำแล้วไปต้มพอเดือด  (ประมาณ  15 นาที)

แล้วตักออกผึ่งบนตะแกงให้แห้งพอหมาดๆ  แล้วนำไปบรรจุถุงพลาสติกทนความร้อนขนาด  6 x 12 นิ้ว  ถุงละ  500 กรัม  (5 ขีด)

3.      ใส่คอขวดพลาสติก  แล้วปิดด้วยใยฝ้ายหรือสำลี  แล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ปิดทับอีก

ชั้นหนึ่ง

4.      นำเมล็ดข้าวฟ่างแดงหรือเมล็ดข้าวเปลือก  ไปนึ่งในหม้อนึ่งความดัน  เพื่อทำการฆ่าเชื้อโรค

ด้วยอุณหภูมิ  121 องศา  ความดัน  15 ปอนด์  ต่อตารางนิ้วนาน  30 60 นาที  ถ้าเป็นหม้อนึ่งลูกทุ่ง  ใช้เวลานาน  3  ชั่วโมง

5.      นำถุงข้าวฟ่างแดงหรือเมล็ดข้าวเปลือก  ออกจากหม้อนึ่ง  ทิ้งไว้ให้เย็น  จากนั้นนำไปใส่หัว

เชื้อราไตรโครเดอร์ม่าต่อไป

6.      เมื่อใส่หัวเชื้อราไตรโครเดอร์ม่าในถุงเมล็ดข้าวฟ่างแดงหรือเมล็ดข้าวเปลือกแล้ว  ให้นำไป

เก็บไว้ในห้องหรือในร่ม  ใต้ถุนบ้าน  ไม่ให้ถูกแสงแดด  รออีกประมาณ  10 15 วัน  ก็สามารถนำเชื้อราไตรโครเดอร์ม่าไปฉีดพ่นควบคุมโรคพืชต่อไป

การใช้เชื้อราไตรโครเดอร์ม่าควบคุมโรคพืช

            1.  การใช้เพื่อป้องกันโรค  (พืชยังไม่แสดงอาการของโรค)  เริ่มตั้งแต่การเพาะเมล็ด  การเตรียมต้นกล้าพืช  การปลูกในสภาพธรรมชาติจนถึงระยะพืชเจริญเติบโตให้ผลผลิต

            2.  การใช้เพื่อรักษาโรค  (พืชแสดงอาการของโรคแล้ว)  การใช้เชื้อราไตรโครเดอร์ม่า  เพื่อรักษาพืชที่เป็นโรคแล้วนั้น  มีความเป็นไปได้ในกรณีของพืชยืนต้น  เช่น  ไม้ผล  แต่ถือว่าเป็นวิธีที่มีความเสี่ยง  เพราะอาจไม่ประสบผลสำเร็จดังที่คาดหวังเสมอไป  จึงมีความจำเป็นต้องใช้วิธีอื่นร่วมด้วย  หากมีการระบาดรุนแรง

            วิธีการใช้เชื้อราไตรโครเดอร์ม่า

1.      การคลุกเมล็ด  เพื่อป้องกันโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์  โดยใส่เชื้อลงในถุงพลาสติกที่จะใช้

คลุกเมล็ด  อัตรา  10  กรัม  หรือ  1  ช้อนแกง  เติมน้ำ  10  ซีซี  แล้วบีบเชื้อสดให้แตกตัวก่อนใส่เมล็ดลงในถุง  ต่อเมล็ดพันธุ์  10  กิโลกรัม

2.      การรองก้นหลุม  โรยเชื้อราไตรโครเดอร์ม่าลงในหลุม  โดยคลุกเคล้าเชื้อสดกับดินในหลุม

ก่อนนำกล้าลงปลูก  หลุมปลูกเล็กใช้เชื้อสดอัตรา  5  ช้อนแกง  หลุมปลูกใหญ่ใช้เชื้อสด  150 300  กรัม  (2 3 ขีด)

3.      การผสมวัสดุปลูกใช้สำหรับเพาะกล้าในกระบะเพราะเมล็ดหรือถุงเพาะชำโดยนำเชื้อสดที่

ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก  (1:100 โดยน้ำหนัก)  มา  1  ส่วนผสมกับวัสดุปลูก  4  ส่วน  โดยปริมาตร  ผสมเข้ากันดีแล้วจึงนำไปเพาะเมล็ด

4.      การหว่านลงดิน  ใช้เชื้อราไตรโครเดอร์ม่า   1  กิโลกรัม  รำ   4  กิโลกรัม  ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ย

คอก  100  กิโลกรัม  ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากิน  หว่านโคนต้น  ใช้อัตรา  30 60  กรัม  (3 6  ช้อนแกง)   ต่อต้น  หว่านใต้ทรงพุ่มใช้อัตรา  150 300  กรัม  (2 3  ขีด)  ต่อตารางเมตร

            5.      การฉีดพ่น  เป็นวิธีที่สะดวก  ง่ายต่อการปฏิบัติโดยฉีดพ่นลงดินบริเวณรากพืชและส่วนบน

ของต้นพืช  การใช้เชื้อสดผสมน้ำ  จำเป็นต้องกรองเอาเฉพาะน้ำเชื้อออกมา  เพื่อไม่ให้เมล็ดข้าวฟ่างแดงหรือเมล็ดข้าวเปลือกอุดตันหัวฉีด  กรณีฉีดพ่นลงดินใช้อัตราเชื้อสด  1  กิโลกรัม  (2  ถุง)  ผสมน้ำ  200  ลิตร  พ่นส่วนบนของพืช  ใช้เชื้อสดอัตรา  2  กิโลกรัม  (4 ถุง)  ผสมน้ำ  200  ลิตร 

6.      วิธีอื่นๆ  เช่น  การให้ไปกับระบบการให้น้ำ  และการทาแผล  เป็นต้น

ข้อจำกัดในการใช้เชื้อราไตรโครเดอร์ม่า

1.      สภาพแวดล้อมมีความเหมาะสม  ไม่ชื้นแฉะ

2.      ควรใช้ในช่วงเช้าหรือเย็น  เพราะในช่วงกลางวันที่มีอากาศร้อน  แสงแดดจัดจะทำให้เชื้อตาย

3.      ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในกลุ่มเบนโนมิล  และคาร์เบนตาซิม  ในช่วง  7  วัน  ก่อนหรือ

หลังการหว่านเชื้อที่ผสมแล้วลงในดิน

4.      ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ  เช่น  ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก

จะเห็นได้ว่าการทำเชื้อราไตรโครเดอร์ม่า  เกษตรกรสามารถที่จะทำได้โดยง่ายๆ  โดยทำที่บ้านของตนเอง  โดยไม่ต้องไปทำที่อื่น  อีกทั้งประหยัดไม่ต้องเสียค่าสารเคมี  เป็นการลดความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี  เนื่องจากในปัจจุบันมีพ่อค้าจำหน่ายสารเคมีดังหมู่บ้านเกษตรกรในราคาที่สูงมาก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายกมล ชังเทศ เจ้าหน้าที่บริหารงานการเกษตรประจำ ต.สำโรงชัย  อ.ไพศาลี โทร.056-259284

คำสำคัญ (Tags): #ไตรโคเดอร์ม่า
หมายเลขบันทึก: 228329เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2008 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แนะนำผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก ประเภท

คอขวดพลาสติก (พลาสติกแบบประหยัด)

จุกขวดพลาสติก (พลาสติกแบบประหยัด)

ถุงเพาะเห็ด ทนความร้อน 6 1/2 x 12 1/2

เหมาะสำหรับการเพาะเห็ดทุกชนิดในถุงพลาสติก ใช้ในการนึ่ง และลำเลียงเลี้ยงเห็ดให้ เจริญงอกงาม

ราคาย่อมเยาว์ คอขวดพลาสติก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว สูง 1 นิ้ว

รับบริการส่งทั่วประเทศไทย ติดต่อผ่าน E-Mailและโทรศัพท์

จำหน่ายทั่วประเทศไทย จำหน่ายทั้งปลีกและส่ง

***สามารถสั่ง่ผลิตได้ตามจำนวน สี-ใส-ขาวนม แล้วแต่ตามสั่ง***

> ติดสอบถามรายละเอียดได้ที่

> สุภัสสร 089-482-0415

Email: [email protected]

ร้านอยู่แถวพระราม9 คะ!บริการจัดส่งสินค้าในกรุงเทพฟรี กรณีสั่งปริมาณมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท