การมีส่วนร่วมดำเนินงานวิชาการ เพื่อคุณภาพนักเรียน


การมีส่วนร่วมในงานวิชาการควรเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ

City Edu/ การมีส่วนร่วมดำเนินงานวิชาการ เพื่อคุณภาพนักเรียน

ธนสาร  บัลลังก์ปัทมา  [email protected]

พิมพ์ครั้งแรก The City Journal ปีที่ 5 ฉบับที่ 100 ประจำเดือนธันวาคม 2551  

                   

                    ผลจากการกระจายอำนาจการศึกษาตามโครงการโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ ทำให้สถานศึกษาต้องบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะงานวิชาการซึ่งถือเป็นหัวใจของการบริหารงานโรงเรียนต้องเปิดโอกาสให้ครูในโรงเรียนมีส่วนร่วมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  โดยใช้วงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (Demming Cycle’s) คือ วงจร PDCA ในการขับเคลื่อนงาน ได้แก่ การวางแผน P-Plan การดำเนินการ D-DO การติดตามประเมินผล C-Check และการพัฒนาปรับปรุง A-Act  ซึ่งคุณครูสมบูรณ์  วิริยะ รองผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหอมเกร็ด ได้ศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูตามขอบข่ายภารกิจงานวิชาการโรงเรียนนิติบุคคล  12  ด้าน มีแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครู แยกรายด้านดังนี้

             ด้านการวางแผนพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา   โรงเรียนควรให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้มากขึ้น โดยการศึกษาวิเคราะห์เอกสารหลักสูตร จัดทำสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการของสังคม ชุมชนและท้องถิ่น เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

             ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้  โรงเรียนควรให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนากระบวนการเรียนรู้   โดยพัฒนาครูเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

             ด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน  โรงเรียนควรให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงระเบียบและแนวปฏิบัติในการวัดผลประเมินผลให้มากขึ้น โดยให้ครูจัดทำแผนการวัดผลและประเมินผลแต่ละรายวิชาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา สาระการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ ให้ครูดำเนินการวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง

             ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา  โรงเรียนควรให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการมีส่วนร่วมปรับปรุงพัฒนาและเผยแพร่งานวิจัยของโรงเรียนให้มากขึ้น

             ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  โรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบติดตามและประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ให้มากขึ้น

             ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้โรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน และการมีส่วนร่วมปรับปรุงและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนให้มากขึ้น โดยการสำรวจแหล่งเรียนรู้  จัดทำเอกสารเผยแพร่แหล่งเรียนรู้ รวมทั้งนำนักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ให้มากขึ้น

             ด้านการนิเทศการศึกษา  โรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการนิเทศงานวิชาการของโรงเรียนให้มากขึ้น โดยจัดระบบการนิเทศงานวิชาการ นิเทศการเรียนการสอนในรูปแบบที่หลากหลาย

             ด้านการแนะแนวการศึกษา  โรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดบริการแนะแนวของโรงเรียน และการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลการจัดกิจกรรมแนะแนว ให้มากขึ้น

                    ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา  โรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนและกำหนดนโยบายการประกันคุณภาพภายในให้มากขึ้น โดยดำเนินการให้ครอบคลุมระบบการประกันคุณภาพการศึกษา    เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ที่ประกอบดวยระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก

                    ด้านการส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน   โรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการการติดตามประเมินการบริการความรู้สู่ชุมชนให้มากขึ้น ชุมชน โดยจัดกระบวนการเรียนรูภายในชุมชน  เพื่อใหชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรมมีการแสวงหาความรูข้อมูลข่าวสาร และรูจักเลือกสรรภูมิปญญาและนำวิทยาการต่างๆ มาใช้เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปญหาและความต้องการ

                    ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น โรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนความร่วมมือเพื่อพัฒนาวิชาการกับโรงเรียนอื่นให้มากขึ้น ในรูปแบบการสนับสนุนวิทยากร การสร้างเครือข่าย การแลกเปลี่ยนข้อมูล

              ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา   โรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษาให้มากขึ้น โดยจัดกระบวนการเรียนรู ภายในชุมชน เพื่อใหชุมชนมี การจัดการศึกษาอบรม โดยสำรวจและศึกษาความต้องการในการรับการสนับสนุนด้านวิชาการของบุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา แล้วนำข้อมูลมาวางแผน พร้อมทั้งหามาตรการในการสนับสนุน สงเสริมและสรางความรูความเข้าใจให้ครู

                    นอกจากนี้ ในการบริหารงานวิชาการหรือการดำเนินงานวิชาการโรงเรียน โรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ ด้านกระบวนการการวางแผนให้อยู่ในมากขึ้น เปิดโอกาสให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนงานวิชาการทุกด้าน โดยโรงเรียนควรดำเนินการสำรวจความถนัดและความต้องการการมีส่วนร่วมของครูแล้วจัดครูเข้าร่วมดำเนินงานวิชาการหรือมอบหมายงานตามความต้องการและความถนัด และส่งเสริม สนับสนุน  ให้ครูได้มีส่วนร่วมในการประชุมปรึกษาและเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนงานให้มากขึ้น

   

หมายเลขบันทึก: 228300เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2008 07:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท