ข้อคิด..จากการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด


จุดเล็กๆ ที่ผู้ป่วยนายแพทย์ท่านนี้บอกเรา เราไม่ได้คิด แต่กลับไปมองเรื่องใหญ่อย่างเดียว ที่จริงจุดเล็กๆ ก็สามารถป้องกันปัญหาใหญ่ได้
วันนี้ไปเจอผู้ป่วย ซึ่งเป็นนายแพทย์ มารับการฉีดยาเคมีบำบัด  ท่านบอกว่า ทำไมเราไม่ใช้ tegaderm ซึ่งเป็นพลาสเตอร์ใส  สามารถมองเห็นผิวหนัง  แทน พลาสเตอร์เหนียว ซึ่งทึบ ทำให้ไม่สามารถประเมินหากเกิดการรั่วของน้ำยาได้โดยเร็ว ซึ่งยาอาจทำอันตรายต่อผิวหนังอย่างรุนแรง
ที่จริง  ปัญหาแทรกซ้อนจากการใช้ให้ยาเคมีบำบัดเคยเกิดขึ้นแล้ว  เราก็ได้ปรับปรุงการดูแลส่วนนี้ เช่นการทดสอบการรั่วของยาขณะให้ยา  การจัดทำ guideline ในการดูแลผู้ป่วยที่ให้ chemotherapy   แต่จุดเล็กๆ ที่ผู้ป่วยนายแพทย์ท่านนี้บอกเรา เราไม่ได้คิด แต่กลับไปมองเรื่องใหญ่อย่างเดียว  ที่จริงจุดเล็กๆ ก็สามารถป้องกันปัญหาใหญ่ได้  
คำสำคัญ (Tags): #care
หมายเลขบันทึก: 22637เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2006 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 02:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
ได้ขอเชิญชวน "พี่จุด" เข้าร่วมชุมชน Path Variety ไว้แล้ว พี่ช่วยไปตอบรับด้วยนะคะ เราชาวพยา-ธิจะได้ติดตามบล็อกของพี่ได้ง่ายขึ้นค่ะ

ด้วยความยินดีค่ะ ขอโทษด้วยนะคะที่เพิ่งตอบ เนื่องจากคอมที่บ้านเสีย เพิ่งได้คืนค่ะ

 

ขอร่วมสนทนาด้วยคนนะค่ะ เพราะรู้สึกน่าสนใจสนใจเหมือนกัน

ตามประสบการณ์เวลาฉีดยา ผู้ป่วยมักรู้สึกเจ็บ ก่อนที่จะเห็นการ leak ของยาออกนอกเส้น และเมื่อคนไข้บอกก็จะรีบหยุดดันยาทันที  แต่การติด tegaderm อาจจะช่วย obs. การ leak ได้สำหรับการให้ยาแบบ drip

เพียงแต่บางสิ่งที่น่าคิดคือ..

1. กรณียา drip มันจะมีสายน้ำเกลือต่อกับ medicute เวลาติดพลาสเตอร์เพื่อ stap สายน้ำเกลือ จะติดอย่างไรไม่ให้พาดติดไปบน tegaderm เพราะถ้าติดแล้ว มันจะแกะยาก อีกทั้งยังปิดทับผิวหนังทำให้มองไม่เห็น  แต่ถ้าไม่ stap ไว้ สายน้ำเกลือมันจะแกว่ง เนื่องจาก tegaderm มันนิ่ม ถ้าไม่ stap ดีๆ เวลาคนไข้ขยับ เข็มอาจจะหลุด ยาก็จะ leak ได้เหมือนกัน

2. หลังจากการให้ยาเคมีบำบัดแบบ drip หรือแม้แต่แบบ push หลังให้ยา แพทย์มักสั่งพวกยาแก้คลื่นไส้แบบฉีดให้  ดังนั้นบางทีอาจจะต้องเปลี่ยนจากสายน้ำเกลือ เป็น on heparin lock  คราวนี้ปัญหาที่สำคัญก็คือ เวลาเปลี่ยนจากสายน้ำเกลือเป็น heparin lock นั้น การติด tegaderm มันแกะยากมาก เพราะเข็ม medicute เวลามันแทงเข้าไปในเนื้อ มันไม่มีอะไรเย็บไว้แบบพวกสาย SCV cath  (การทำแผล SCV cath เราก็นิยมติด tegaderm)  เวลาเปลี่ยนมันก็ต้องเลาะ tegaderm บางส่วนที่แปะอยู่ขึ้น โอกาสที่เข็มจะหลุดจากเนื้อคนไข้ (ยิ่งคนสูงอายุ ที่เนื้อย่นๆ ยิ่งเสียงสูงมาก) จะเกิดขึ้นได้ ..หรือไม่..ถ้ามีการ stap พลาสเตอร์ติดโดน tegaderm เวลาที่จะแกะพลาสเตอร์ออกจากบน tegaderm มันแกะไม่ได้เลย มีแต่ต้องเลาะ tegaderm ออกมาด้วยอย่างเดียว  ยกเว้นจะ stap แบบไม่ให้โดน tegaderm แต่เท่าที่ลองทำแล้ว มัน stap ไม่ได้ (แต่หากใครมีวิธีก็ช่วยแนะนำด้วยนะคะ)

พิมพ์เสียยาว.. สรุปสั้นๆคือ.. ติด tegaderm แล้วเวลาเปลี่ยนจากสาย IVF มาเป็น on heparinlock แล้วมันแกะยาก    stap พลาสเตอร์ลงบน tegaderm ก็แกะยาก..โอกาสเข็มหลุดสูง

จึงขอคำแนะนำ สำหรับเพื่อนๆที่มีประสบการณ์ตรงนี้ด้วยนะคะ  ว่ามีวิธีการ stap พลาสเตอร์อย่างไรให้ปลอดภัย

ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณมากนะคะที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น ประเด็นที่เสนอมาจะนำไป ลปรร ในที่ประชุม KM เรื่องการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด ผู้เข้าร่วมจะมีทั้ง อาจารย์แพทย์ พยาบาล ผู้ป่วย ญาติ ในวันที่ 30 พค 49 ช่วงบ่าย ได้ผลประการใดจะนำมาเล่าสู่ให้ฟังค่ะ

                  จากการ ลปรร ในกลุ่ม บุคลากรทางสุขภาพ ร่วมกับผู้ป่วยและญาติ ได้มีการพูดเรื่องการใช้ Tegaderm  ผู้มีประสบการณ์จากการได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำจาก รพ. รามา เล่าว่า มีการนำ extension ขนาดสั้น ต่อกับ medicut  ต่อกับชุดให้สารละลาย ( set IV fluid )  ปิดtegaderm  ทับบริเวณ medicut เท่านั้น เมื่อต้องต่อกับจุก  heparinlock  สามารถต่อกับ extension ได้เลย เมื่อต้องติดพลาสเตอร์ สามาติดนอกบริเวณ tegaderm

                 

ถ้ายา+หรือ Chemo Leak คนไข้จะปวดทันที แต่ถ้าใช้ Tegaderm น่าจะดีต่อการสังเกตุ Infection ได้ง่ายขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท