พระรามพระลักษณชวักอร


"เคล้าฟ้าเคลือกเปลวลาม ษิบหน้าเจ้าอษูรภบช่วยฑู พระรามพระลักชะวักกอน"

ใน "โองการแช่งน้ำ" เนื้อหาช่วงที่อัญเชิญสิ่งศักดิสิทธิ์มาเป็นพยาน ท่านได้กล่าวถึง ทวยเทพต่างๆ นานา  มีความตอนหนึ่งว่า

     ฟ้าจรโลดลิวขวาน                  ขุนกล้าแกล้วขี่ยูงช่วยดู

     เคล้าฟ้าเคลือกเปลวลาม         สิบหน้าอสูรช่วยดู

     พระรามพระลักษณชวักอร        แผ่นทูลเขาเงือกปล้ำช่วยดู

     ปล้ำเงี้ยวรอญราญรงค            ผีดง  ผีหมื่นถ้ำ   ล้ำหมื่นผา [1]

                                                    (ดังในภาพข้างล่าง)

Ramlaskmn

จิตร ภูมิศักดิ์ ลำดับวรรคใหม่ เป็นดังนี้

         เคล้าฟ้าเคลือก                  เปลวลาม

         สิบหน้าเจ้า                       อสูร          ช่วยดู

         พระรามพระลักษมณ์          ชวักอร

         แผ่นทูลเขา                      เงือกปล้ำ   ช่วยดู

ผีดง   ผีหมื่นถ้ำล้ำ                      หมื่นผาฯ [2]

 

ในฉบับอื่นก็ไม่แตกต่างไปมากนัก เช่น ใน วรรณกรรมอาเซียน ประเทศไทย เล่ม ๒ เอ วรรณกรรมสมัยอยุธยา ฉบับแปล  ได้นำเสนอไว้อย่างนี้

         เคล้าฟ้าเคลือกเปลวลาม      สิบหน้าเจ้าอสุรช่วยดู

พระรามพระลักษณชวักอร           แผนทูลเขาเงือกปล้ำช่วยดู  ฯ [3]

 

ข้อความ "พระรามพระลักษณ(ลักษมณ์)ชวักอร" ปรากฏอยู่ใน โองการแช่งน้ำ ทุกฉบับที่พิมพ์ โดยมากจะแปลความหมาย ว่า ขอให้พระราม พระลักษมณ์ มาช่วยเป็นพยาน

แล้ว "ชวักอร" ล่ะ ในคำอธิบายส่วนใหญ่ก็บอกทำนองเดียวกัน "ชวัก" คือ พามา เรียกมา, ส่วน "อร" นั้น หมายถึง "นางสีดา" 

รวมความแล้ว พระรามพระลักษณชวักอร คือ "เชิญพระราม พระลักษณ์พานางสีดามา"


ในหนังสือ พินิจวรรณกรรม ของ ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร ได้คัดลอกโองการแช่งน้ำ ซึ่งปริวรรต (ถอดตัวอักษร) จากฉบับอักษรเฉียงพราหมณ์ มีข้อความตรงนี้ว่า

       "เคล้าฟ้าเคลือกเปลวลาม ษิบหน้าเจ้าอษูรภบช่วยฑู พระรามพระลักชะวักกอน" [4]

ไม่มีคำแปล ปล่อยให้สงสัยว่า ชะวักกอน คืออะไร, ชวักกร, กวักมือ?

 

มีอีกหนึ่งฉบับ จำได้ว่า เมื่อครั้งที่เรียนกับ อาจารย์ขวัญ ดร.ขวัญดี อัตวาวุฒิชัย ท่านเล่าให้ฟังว่าเคยสงสัยในข้อความดังกล่าว จึงไปขอดูฉบับพราหมณ์ พระราชครูฯ ได้อ่านให้อาจารย์ฟัง ท่านได้ยินว่า  "พระรามพระลักษณ์สะพักศร" อาจารย์เล่ามาอย่างนั้น แต่ก็ไม่ได้ติดใจ เพราะตอนที่เรียนก็ไม่ได้สนใจมาก

มาสะดุดเอา  เมื่อไ้ด้อ่าน "โองการแช่งน้ำ" ใน วรรณกรรมอาเซียน ประเทศไทย เล่ม ๒ เอ วรรณกรรมสมัยอยุธยา ฉบับแปล ซึ่งมีทั้งภาษาไทยร้อยกรองแบบเดิม และแปลเป็นภาษาอังกฤษ ผู้แปล (ผศ.ผาณิต  บุณยะวรรธนะ) ให้คำแปลไว้ว่า

      Also Rama and Lakshaman

      Weilding their bows, watch over.

      คงไม่ต้องแปลเป็นไทยอีก แต่ที่แน่ๆ ในข้อความนี้ ไม่มีคำว่าสีดา หรือสตรี แต่อย่างใด ทว่ามี bow ซึ่งหมายถึง คันธนู จึงน่าสงสัยว่า เหตุใด จึงไม่ตรงกับข้อความภาษาไทย  (พระรามพระลักษณชวักอร) ที่ให้ไว้ในหน้าด้านซ้าย...

    หรือว่า นี้คือคำแปลของ "พระรามพระลักษณ์สะพักศร"

 

อ้างอิง

1.ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย สมัยอยุธยา ลิลิตโองการแช่งน้ำ พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2545.

2.จิตร  ภูมิศักดิ์. โองการแช่งน้ำ และ ข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทย ลุ่มน้ำเจ้าพระยา พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ดวงกมล, 2524.

3.กุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ, คุณหญิง (บรรณาธิการ). วรรณกรรมอาเซียน ประเทศไทย เล่ม ๒ เอ วรรณกรรมสมัยอยุธยา ฉบับแปล. กรุงเทพฯ : คณะทำงาน โครงการวรรณกรรมอาเซียน, 2542.

4.นิยะดา  เหล่าสุนทร. พินิจวรรณกรรม. กรุงเทพฯ : แม่คำผาง, 2535.

คำสำคัญ (Tags): #โองการแช่งน้ำ
หมายเลขบันทึก: 225916เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2008 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)
  • สวัสดีครับ พี่ธวัชชัย
  • แวะมาเรียนรู้ภาษาไทยก่อนไปนอนแล้วครับ
  • ขอร่างกายได้พักสักนิด เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นครับ อุอุ
  • อือม์ เช่นนี้เองหรือครับ
  • พระรามพระลักษณ์ชวักอร
  •  Also Rama and Lakshaman

          Weilding their bows, watch over.

  • เพิ่งทราบครับ
  • นอนพักผ่อนบ้างนะครับ
  • รักษาสุขภาพด้วยครับ
  • กลอนก่อนนอนครับ
  • Mail ใครกัน Run หน้าจอ ขอเป็นมิตร
    เรา Click ปิด ทิ้งไป ไม่ใช่เพื่อน
    แต่ไม่นาน ก็พลัน Run มาเยือน
    อยากเป็นเพื่อน อยู่อย่างนั้น วันหลายครา

    เริ่มรำคาญ พาลคันปาก อยากด่าใส่
    Click เข้าไป ใจอิดเอียน หวังเขียนด่า
    แต่พอเห็น หน้า M อย่างเต็มตา
    มุมบนขวา มีรูปด้วย ว๊าว! สวยจริง

    จึงลองพิมพ์ Chat ไป ใจเริ่มอ่อน
    เขาก็ On In จ๊ะจ๋า ประสาหญิง
    ก็เลย Out ออกไม่ได้ ใจประวิง
    เราเริ่มยิง M ไปมา ภาษาใจ

    เริ่มคุ้นเคย เอ่ยถาม ความลึกลึก
    ความรู้สึก สองเรานั้น ตรงกันไหม
    สรุปผล ออกมา น่าพอใจ
    ผูกสายใย ไม่โยเย Say Good-bye

    ตัดสินใจ Hello กดโทรหา
    เสียงตอบมา พาให้ เราใจหาย
    ใยสาวสวย เสียงใหญ่จัง ดังเสียงชาย
    อุ๊ยต๊ายตาย ว๊ายเนื้อเย็น เป็น"กระเทย"

สวัสดีครับพี่

  • แวะมาอ่าน
  • และมาทักทายครับพี่
  • สบายดีนะครับ

สวัสดีครับ น้อง คนพลัดถิ่น~natachoei(หน้าตาเฉย)

สุดขำก็วรรคสุดท้ายนี่แหละ อิๆๆๆ

ขอบคุณครับ

 

 

สวัสดีครับ น้องครูโย่ง หัวหน้า~ natadee

สบายดีครับ อากาศเย็นกว่าปกติ คัดจมูกนิดหน่อย

ไม่ถึงกับต้องหามส่งโรงพยาบาล

 

แวะมาเติมอาหารสมองขอบคุณผู้ค้นเฮาจะค้วาไปล่ะนะ

สวัสดีครับคุณธวัชัย

แวะมาเรียนรู้ภาษาไทยในกวีครับท่าน

๏ มาหนน้ำหนบก ตกนอกขอกฟ้าแมน แดนฟ้าตั้งฟ้าต่อ หล่อหลวงเต้า
ทังเหง้าภูตพนัสบดี ศรีพรหมรักษ์ ยักษ์กุมาร หลายบ้านหลายท่า
ล้วนผีห่าผีเหว เร็วยิ่งลมบ้า หน้าเท่าแผง แรงไถยเอาขวัญ
ครั้นมาถึงถับเสียง เยียชระแรงชระแรง แฝงข่าวยินเยีย ชระรางชระราง
รางชางจุบปากเยีย จะเจี้ยวจะเจี้ยว เขี้ยวสระคาน อานมลิ้นเยีย
ละลาบละลาบ ตราบมีในฟ้าในดิน บินมาเยีย พะพลุ่งพะพลุ่ง
จุ่งมาสูบเอา เขาผู้บ่ซื่อ ชื่อใครใจคด ขบถเกียจกาย
หว้ายกะทู้ฟาดฟัน คว้านแคว้นมัดศอก หอกดิ้นเด้าเท้าทก หลกเท้าให้ไป่มิทันตาย
หงายระงมระงม ยมพบาลลากไป ไฟนรกปลาบปลิ้นดิ้นพลาง เขาวางเหนืออพิจี
ผู้บดีบซื่อ ชื่อใครใจคด ขบถแก่เจ้า ผู้ผ่านเกล้าอยุทธยา
สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหา จักรพรรดิศรราชาธิราช ท่านมีอำนาจมีบุญ
คุณอเนกา อันอาศรัยร่ม แลอาจข่มชัก หักกิ่งฆ่า
อาจถอนด้วยฤทธานุภาพ บาปเบียนตน พนธุพวกพ้องญาติกามาไสร้ ไขว้ใจจอด
ทอดใจรัก ชักเกลอสหาย ตนทั้งหลายมาเพื่อจะทำขบถ ทดโหร่ห์แก่เจ้าตนไสร้
จงเทพยดาฝูงนี้ ให้ตายในสามวัน อย่าให้ทันในสามเดือน อย่าให้เคลื่อนในสามปี
อย่าให้มีศุขสวัสดิเมื่อใด ฯ
๏ อย่ากินเข้าเพื่อไฟ จนตาย อย่าอาไศรยแก่น้ำ จนตาย
นอนเรือนคำรนคา จนตาย ลืมตาหงายสู่ฟ้า จนตาย
ก้มหน้าลงแผ่นดิน จนตาย สีลองกินไฟต่างง้วน จนตายฯ
๏ จงไปเป็นเปลวปล่อง น้ำคลองกลอกเป็นพิษ คาบิดเปนเทวงุ้ม ฟ้ากระทุ่มทับลง
แล่งแผ่นดินปลงเอาชีพ จรเข้ริบเสือฟัด หมีแรดถวัดแสนงขนาย หอกปืนปลายปักครอบ
ใครต้องจอบจงตาย งูเงี้ยวพิษทั้งหลายลุ่มฟ้า ตายต่ำหน้ายังดิน ฯ
๏ อรินทรหยาบหลาบหล้า ใครกวินซื่อแท้ผ่านฟ้า ป่าวอวยพรฯ
  • อยากให้ทุกฝ่ายที่กำลังจะกระทำการใดๆระลึกไว้ค่ะ

 

สวัสดีค่ะ

  • มาอ่านชะวักกอน คืออะไร, ชวักกร, กวักมือ?
  • ขอขอบคุณค่ะ
  • เป็นกำลังใจให้นะคะ

น่าชื่นชมคุณ ธ.วั ช ชั ย จังเลยค่ะ ที่สนใจวิเคราะห์เพื่อรักษาไว้ซึ่งมรดกทางด้านวรรณคดีไทย พี่อักษรเสียอีกจบเอกวรรณคดีไทยมาแต่ตอนนี้ไม่เหลืออะไรเลย ขนาดเคยเรียนมานะคะ โองการแช่งน้ำ แต่จำอะไรไม่ได้เลย

การแปลวรรณคดีไทย เป็นภาษาอังกฤษคงยากมาก ต้องตีความให้ถูกก่อน ต้องหาคำที่มีพลังให้ได้เท่า ซึ่งคำอังกฤษไม่ลึกล้ำ หลากหลายเท่าคำไทยของเรา งานแปลที่พี่อักษรยอมรับว่าทำไม่ได้คือแปลวรรณคดีไทย

คิดถึงนะคะ แล้วคุยกันอีกค่ะ

เจริญพร โยมธ.วัชชัย

อาตมาฟังคนรุ่นเก่าๆเล่าให้ฟังว่าที่วัดอาตมาจำอยู่นั้น

มีหนังสือโบราณมากมาย แต่ปัจจุบันช่วงอาตมาบวช

หาไม่ได้แล้วไม่ทราบไปอยู่ที่ไหนหมด

 

เจริญพร

มาอ่าน "ชวักอร" อ่ะค่ะ สนใจคำ-สงสัยในความหมาย ห่างบทกลอน คำกลอนนานมาก ภาษาไทย จริง ๆ แล้วมีเสน่ห์นะคะ ฟังหวาน ๆ คำสวยๆ แล้วจบด้วย กลอนขำขำ ของน้องชายอารมณ์ดี คนพลัดถิ่น~natachoei(หน้าตาเฉย) ..นึกว่าน้องจะเจอคู่แท้ แอบรักออนไลน์ เป็นกระเทยซะงั้น...

สวัสดีครับ cruroj

จะคว้าไปไหนครับ อิๆ

งานนี้คงต้องค้นเพิ่มอีกเยอะนะครับ แต่ก็สนุกดี

ที่สำคัญ เป็นโคลงห้าอย่างท้าวฮุ่งฯ ด้วย

สวัสดีครับ พี่บังหีม--ผู้เฒ่าnatachoei--

ขอบคุณครับ ที่แวะมาเยี่ยม

โองการฯ มีเนื้อหาสั้นมาก แต่กว่าจะเรียนรู้ให้จบ ใช้เวลานานพอดูเลยครับ

สวัสดีครับ พี่ naree suwan

ยกมาแช่งใครครับ อิๆๆ

ถ้าเป็นอย่างคำสาปแช่งคงทรมานน่าดูเลยนะครับ

สวัสดีครับ คุณครูคิม

มาช่วยกันอ่านนะครับ

ยังมีหลายคำที่ยังหาที่ยุติไม่ได้ครับ

สวัสดีครับ พี่อักษร ทับแก้ว

พี่จบเอกวรรณคดีไทยด้วยเหรอครับ

ภาษาวรรณคดีนี่อ่านแล้วเหนื่อย แต่ก็สนุก

ถ้าแปลวรรณคดีฝรั่งมาเป็นไทยก็คงลำบากพอๆ กันนะครับ ;)

นมัสการ พระปลัด

เคยได้ยินว่าหนังสือเก่าๆ พอเจ้าของตาย ก็ถูกเผา

เพราะกลัวเรื่องคุณไสย ก็มี

บางทีก็เอาไปขายให้ต่างชาติ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมัน

ในหอสมุดต่างประเทศ มีหนังสือไทยเก่าๆ หลายเล่ม

บางเรื่องคนไทยสมัยนี้ยังไม่เคยรู้จักเลยครับ

สวัสดีครับ คุณ morisawa

ภาษากลอนของเรา น่าอัศจรรย์ไม่น้อยเลย

เพราะมีไวยากรณ์แตกต่างจากภาษาร้อยแก้ว

แต่เรายังอ่านเข้าใจได้ ;)

บางคนบอกว่า คณิตศาสตร์ก็คือ ภาษาอย่างหนึ่ง

ภาษาก็มีระเบียบ คล้ายกฎทางคณิตศาสตร์เหมือนกัน

สวัสดีค่ะคุณ ธ.วั ช ชั ย

  • ภาษาคณิตศาสตร์ก็มีค่ะ
  • แต่ไม่ไพเราะเหมือนภาษาทางวรรณคดีไทย
  • ครูลี่ก็ชอบอ่าน แต่ถ้าเป็นคำยากแล้วเก่าก็อ่านไม่ค่อยเข้าใจนะคะ แต่ก็ชอบอ่านค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ คุณครูลี่

ภาษาในโองการนั้น มีทั้งภาษายาก และภาษาง่าย

ภาษายาก จะเป็นบาลีสันสกฤต และไทยโบราณ

แต่จริงๆ แล้ว คำไทยมีมากกว่าครึ่ง

ด้วยความที่เป็นคำไทยๆ ทำให้ดูเหมือนยากมากๆ

ในส่วนที่เป็นคำแช่งนั้น อ่านง่ายกว่าส่วนอื่นๆ ครับ

ด้วยหลักคิดว่า จะด่าใคร ก็ต้องให้เขาเข้าใจ

ถ้าขืนใช้ศัพท์สูง ด่าไม่เจ็บ ;)

สวัสดีค่ะ..

   มาอ่านชวักอร..รอบสองค่ะ..(๑)-(๔)..จึงเริ่มเข้าใจค่ะ

   ขอบคุณมากค่ะ..ที่คุณครูภาษาไทยสรรหาคำไม่คุ้นตามานำเสนอ มีคุณค่ามากค่ะ

สวัสดีครับ คุณครู ศน.อ้วนๆ (แต่ไม่อ้วน)

วันนี้ไปเยือนสำนักเก่า คิดถึงอาจารย์ท่านที่เคยสอน

ศัพท์โบราณ ยังมีอีกมากเลยครับ

มีโอกาสจะได้หาคำแปลกๆ มาเล่ากันฟังครับ ;)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท