ศิลปวัฒนธรรมอีสานสัญจร ครั้งที่ 1


โครงการเก๋ ๆ ที่ใช้เงินเรา พิสูจน์ตัวตนแห่งเรา บนพื้นฐานรากเหง้าของวัฒนธรรม

                “ศิลปวัฒนธรรมอีสานสัญจร”  กับแนวคิดง่าย ๆ “ทำอย่างไรให้เขารู้ว่าอีสานมีดี”  นับเป็นเวลานานหลายปีทีเดียวที่โครงการนี้ห่างหายไปจาก “วงแคน” เมื่อปี 2542  เป็นปีสุดท้ายที่มีโครงการนี้  เราเดินทาง  5  วัน  กับ 3 จังหวัดชายฝั่งตะวันออก  “ชลบุรี  ระยอง  และจันทบุรี”  กับการตระเวนเล่นดนตรีแบบ  “ขอเล่นหน่อย”  แต่รบกวน  “เวทีและเครื่องเสียง”   มันพิสูจน์ความคิดและศักยภาพของ  “ประธานชมรม”  ในแต่ละรุ่นซึ่งเป็นเจ้าของโครงการอีกครั้งหนึ่ง

1.       จะไปที่ไหนดี ? (พักผ่อนชมธรรมชาติที่สวยงาม, เผยแผ่ศิลปวัฒนธรรม)

2.       จะคุยกับเขาอย่างไรเขาถึงจะให้แสดง ? (แบบมีเวทีและเครื่องเสียงให้)

3.       คน 1 รถบัสจะอยู่อย่างไร ?  กินอย่างไร ?  นอนอย่างไร ?

4.       แล้วเราจะนำเสนออะไรบ้างถึงจะสื่อวัฒนธรรมอีสานมากที่สุด ? ในรูปแบบใด ? เพราะอะไร ?

5.       ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ?  หามาจากไหน ?

โครงการนี้ต้องวางแผนกันเป็นปีครับ  เพราะปัญหาใหญ่อยู่ที่  “งบประมาณ” 

สำหรับปี  2551  นี้  ผมใช้ชื่อโครงการว่า  “ศิลปวัฒนธรรมอีสานสัญจร  ครั้งที่  1 (ศิลปวัฒนธรรมอีสานสู่ล้านนา)”  กำหนดจัดโครงการ    4 – 6 ธันวาคม  2551    จังหวัดแพร่  ครับ  ด้วยความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ 

เมื่อคืน (11 พ.ย. 51)  ผมนัดประชุมน้อง ๆ วงแคนเรื่องโครงการนี้แหละครับ

เพราะมีประเด็นที่เราต้องเข้าใจและคิด คำนึงมากกว่าปกติครับ

1.       เรื่องจำนวนคนที่เดินทาง   ไม่เกิน  45  คน

2.       ชมรมดูแลเรื่องการเดินทางและที่พัก

3.       ผู้ร่วมเดินทางรับผิดชอบตนเองเรื่องอาหารและค่าใช้จ่ายส่วนตัว

4.       เราจะไม่ไปแบบ โง่ ๆ

ข้อ 4 นี่แหละครับสำคัญ (เราจะไม่ไปแบบโง่ ๆ )  เพราะงานนี้เราต้องทำการบ้านหนักหน่อย  ทั้งในส่วนของชมรมและตัวตนของคนที่ร่วมเดินทาง   งานที่ต้องทำคร่าว ๆ  มีดังนี้ครับ

1.       ถอดเนื้อร้องและทำนอง  เพลงเหล่านี้ครับ     เพลงเวียงโกศัย (เพลงประจำจังหวัดแพร่)    เพลงใต้ร่มพระบารมี (เล่นประกอบจินตลีลา)   และเพลงอุ่นพระบารมี 80 ปี ในหลวง (เล่นประกอบจินตลีลา)

2.       Concept  การนำเสนอ  “อีสาน (เหนือ  กลาง  ใต้)  จากอดีตจวบจนปัจจุบัน)

3.       รูปแบบการนำเสนอ  “ร้อง  เล่น  เต้น  รำ  พูด+เว้า+อู้ ฯลฯ”

4.       จัดนิทรรศการ  3  เรื่องได้แก่     ภูมิภาคอีสาน    มหาวิทยาลัยมหาสารคาม   และชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมือง (วงแคน)

5.       แผ่นพับ  ประวัติชมรมโดยย่อและประวัติชุดการแสดง

6.       ตกแต่งเวที  อย่างเรียบง่ายไม่รก  แต่ดูดีมีชาติตระกูล  ไม่ขัดแย้งกับการนำเสนอและหน้าตาผู้แสดง

และมติที่ประชุมมีมติจะนำการแสดงเหล่านี้ไปเผยแผ่ให้พี่น้องชาวแพร่ได้รับชมกันครับ

1.       ระบำจัมปาศรี  (เป็นรำที่ใช้บวงสรวงองค์พระธาตุนาดูน  จ.มหาสารคาม  ในคืนวันเพ็ญเดือน 3 หรือวันมาฆบูชา)

2.       เซิ้งแคน (การเกี้ยวพาราสีระหว่างชายหญิงโดยใช้แคนเป็นสื่อ)

3.       เซิ้งบั้งไฟ (การแสดงประเพณีอีสานที่ทุกภูมิภาครู้จัก)

4.       เรือมจับกรับ  (การเกี้ยวพาราสีและการละเล่นของชนชาวอีสานใต้)

5.       ดึงครกดึงสาก (การฟ้อนเกี่ยวกับพิธีกรรมการเสี่ยงทายขอฟ้าขอฝน)

6.       ตังหวาย (ข้อมูลกำลังสืบค้นหาที่มาที่ชัดเจน  ที่เลือกเพราะต้องการซ้อมเพื่อใช้งานเกษียณอายุราชการอาจารย์วีณา  ซึ่งเป็นบุคคลผู้บุกเบิกและแรกเริ่มก่อตั้งชมรม   (อาจจะตัดออกจากโครงการ))

7.       มวยโบราณ  (การแสดงการรำมวย  ใช้นักแสดงชายล้วน  อวดลีลาท่ารำและลวดลายตามร่างกาย)

8.       นารีศรีอีสาน  (การแสดงที่บกบอกความสวยงามของหญิงอีสานผ่านกระบวนท่ารำและการแต่งกาย)

9.       ภูไท 3 เผ่า  (การแสดงของชนเผ่าภูไท  ในจังหวัดกาฬสินธุ์  สกลนคร  และนครพนม)

10.   แย่ไข่มดแดง  (การแสดงที่สื่อวิถีชีวิตการทำมาหากินของชาวอีสาน กระบวนท่าที่สื่อถึงกิริยาอาการในการแหย่ไข่มดแดง)

เป็นครั้งที่เห็นน้อง ๆ เขาถกเถียงกันโดยใช้เหตุผลด้านวิชาการเป็นส่วนใหญ่  ครับ  และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องประวัติชุดการแสดงและความเหมาะสมของการแสดง  โดยคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้เป็นหลัก

1.       ครอบคลุมวัฒนธรรมอีสาน   (หรือให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้)

2.       สมดุลด้านดนตรี  (จังหวะช้าและเร็ว)

3.       เสมอภาคด้านการแสดง  (นาฏศิลป์ชาย  หญิง)

และเรายังค้างหลายเรื่องที่ยังไม่ได้ประชุมคงต้องค่อยเป็นค่อยไปครับ  ตัวผมเองได้แต่หวังว่าในปีถัดไป  จะมีน้อง ๆ ในชมรมลุกขึ้นมาทำและผลักดันให้ครั้งที่ 2 เกิดขึ้น  ตัวผมเองคงเป็นแค่ที่ปรึกษา 

ผมหวังเช่นนั้น....ครับ

หมายเลขบันทึก: 222382เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2008 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นกิจกรรมที่ดี  ให้อะไรมากกว่าที่คิด และสำคัญก็คือถ้ามีกระบวนการเตรียมความพร้อมอย่างที่ปรากฏในบันทึกนี้ นั่นแหละคือกระบวนการของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างไม่ต้องสงสัย  โดยเริ่มจากคนกันเองในองค์กร และจากนั้นก็ขยายใยการเรียนรู้ไปสู่คนในพื้นที่ของการสัญจร

บางที, งานนี้ อาจทำให้แต่ละคนดึงศักยภาพตนเองออกมามากกว่าที่เคยเป็น เพราะที่ผ่านมา  เป็นค่าย หรือไม่ก็ตระเวนรับงานแถว ๆ บ้านเรา  แรงจูงใจจึงอาจมีไม่เยอะ  และเราเองก็ไม่มีเวทีเช่นนี้มานาน

ยินดีด้วยกับวิธีคิด...

และขอให้เกิดดอกผลทางปัญญากันตามที่คาดหวังไว้, นะครับ

เหนื่อยหน่อยเด้ออ้าย...

เรียนรบกวนท่านผู้รู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมอีสานด้วยครับ

เนื่องจากเด็กนักเรียนมีการบ้าน

ในเรื่องท่ารำเซิ้งโปงลาง

แต่ผู้ปกครองกับเด็กก็พยายามไปหาหนังสือที่ศึกษาภํทฑ์ก็ไม่มี

ร้านหนังสือก็ไม่มี . จะขอรบกวนด้วยครับ

ว่าจะพอไปได้ที่ไหนได้บ้าง เพราะหาทางnetโดยพิมพ์คำว่าโปงลาง

แล้วมีข้อมูลน้อยมากครับ

ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

กิตติ

[email protected]

ติดต่อกลับได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท