การวิจัย


การวิเคราะห์ปัญหาการวิจัย

การวิเคราะห์ปัญหา

               ปัญหา  หมายถึง ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่คาดหวังกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง การสำรวจและการวิเคราะห์ปัญหา เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการวางแผนแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน   เมื่อใดก็ตามที่ครูจะทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน จุดเริ่มต้นที่ควรรู้คือ ปัญหาของผู้เรียนคืออะไร  มีสาเหตุมาจากอะไร โดยทั่วๆ ไป มักจะแยกวิเคราะห์สาเหตุออกเป็น     3 ด้าน

1. ปัญหาด้านบุคคล ซึ่งหมายถึงครูหรือนักเรียน อาจมีปัญหาเกี่ยวกับความรู้ ความสามารถ ทักษะวัฒนธรรม ความเชื่อ สุขภาพ เจตคติต่อวิชา เป็นต้น

2. ปัญหาด้านวิธีการ ได้แก่ วิธีการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การเลือกใช้สื่อ           การวางแผนการสอน เป็นต้น

3. ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดปัญหาในการจัดการการเรียนการสอน ได้แก่ การจัดบรรยากาศในการเรียนรู้ ปัญหามลภาวะต่าง ๆ ทรัพยากรทั้งปริมาณและคุณภาพ     เป็นต้น    ดังนั้นจึงสรุปได้  ลักษณะปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน  อาจแบ่งเป็นด้านได้ ดังนี้

1. ด้านความรู้ ความเข้าใจ ความคิด

2. ด้านทักษะ/กระบวนการ

3. ด้านเจตคติ ค่านิยม

              4. ด้านพฤติกรรม

ตัวอย่าง เช่น

ด้าน/ลักษณะปัญหา

สาเหตุของปัญหา

ด้านความรู้  ความเข้าใจ

- นักเรียนฟัง/อ่านเรื่องสั้นละจับใจความไม่ได้

- นักเรียนจำความหมายของคำศัพท์ไม่ได้

- นักเรียนอ่าน/ฟังเอาเรื่องและตอบคำถามไม่ได้

- นักเรียนเขียนประโยคบรรยายภาพไม่ได้

- นักเรียนเขียนคำศัพท์ไม่ถูกต้อง

- นักเรียนท่องสูตรคูณไม่ได้

- นักเรียนไม่เข้าใจบางเนื้อหา

- นักเรียนไม่เข้าใจโจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์

 

-  ครูไม่วิเคราะห์ผู้เรียน

-  ครูขาดเทคนิคการสอน

-  ครูสอนโดยยึดเนื้อหา

-  ครูไม่มีสื่อการสอน

-  ครูขาดทักษะการสอน

-  ครูขาดความมั่นใจในการสอน

-  นักเรียนไม่ได้รับการฝึกปฏิบัติจริง

-  นักเรียนขาดทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล

-  นักเรียนวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ไม่ได้

ด้าน/ลักษณะปัญหา

สาเหตุของปัญหา

 ด้านทักษะ/กระบวนการ

- นักเรียนเขียนคำประพันธ์ประเภทต่างๆไม่ได้

- นักเรียนอ่านคำควบกล้ำ ร ล ว ไม่ได้

- นักเรียนขาดทักษะทางวิทยาศาสตร์

- นักเรียนขาดทักษะการคิดคำนวณ

- นักเรียนอ่านภาษาไทยไม่แตกฉานทำให้ทำโจทย์

   ปัญหาคณิตศาสตร์ไม่ได้

- นักเรียนขาดทักษะการบริหารจัดการงานอาชีพ

- นักเรียนเขียนเรียงความไม่ได้

- นักเรียนใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารไม่ได้

- นักเรียนขาดทักษะกระบวนการ

 

-  นักเรียนไม่เห็นความสำคัญของวิชาที่เรียน

-  นักเรียนเบื่อหน่ายในการเรียน

-  นักเรียนไม่มีส่วนร่วมในชั้นเรียน

-  นักเรียนไม่รู้จักศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง

-  นักเรียนขาดความพร้อมในการเรียน

-  นักเรียนอ่านหนังสือไม่ออก

-  ไม่มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

-  ขาดสื่อการเรียนการสอน

-  ขาดการฝึกปฏิบัติจริง

-  ขาดแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย

 ด้านเจตคติ

- นักเรียนไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์

- นักเรียนเบื่อที่จะต้องเรียนรำไทย

- นักเรียนไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษ

- นักเรียนไม่ชอบแต่งชุดลูกเสือ

                                 ฯลฯ

 

 

-  นักเรียนเบื่อหน่ายในการเรียน

-  นักเรียนไม่มีส่วนร่วมในชั้นเรียน

-  นักเรียนขาดความพร้อมในการเรียน

-  นักเรียนอ่านหนังสือไม่ออก

-  ขาดสื่อการเรียนการสอน

-  ขาดการฝึกปฏิบัติจริง

-  บทเรียนไม่น่าสนใจ

ด้านพฤติกรรม

- นักเรียนมาโรงเรียนสาย

- นักเรียนขาดโรงเรียนบ่อย

- นักเรียนไม่ชอบทำการบ้าน

- นักเรียนไม่ส่งงานที่ครูสั่ง

- นักเรียนชอบแกล้งเพื่อน

- นักเรียนชอบขโมยของเพื่อน

- นักเรียนชอบหนีเรียน

- นักเรียนชอบเล่นการพนัน

- นักเรียนแอบสูบบุหรี่

 

-  นักเรียนเบื่อหน่ายในการเรียน

-  นักเรียนไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรม

-  นักเรียนขาดความพร้อมในการเรียน/ไม่เข้าใจ

-  นักเรียนอ่านหนังสือไม่ออก

-  ขาดสื่อการเรียนการสอน

-  ขาดการฝึกปฏิบัติจริง

-  บทเรียนไม่น่าสนใจ

- นักเรียนขาดการเสริมแรง/ถูกลงโทษ

- ไม่มีเป้าหมายในการทำงาน

 

              

หมายเลขบันทึก: 222378เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2008 13:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท