Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

การจัดการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)


Problem-based learning หรือ PBL

            การจัดการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เป็นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือระหว่างผู้เรียนและระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน  ตลอดจนการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน  หากคณาจารย์ได้รับการเรียนรู้เกี่ยวกับ  แนวคิด  รูปแบบ และกระบวนการของ PBL  ตลอดจนได้รับการฝึกอบรมทักษะการสอนโดยวิธีนี้เป็นอย่างดี  จะก่อให้เกิดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของมหาวิทยาลัยเป็นไปอย่างมีคุณภาพและมีคุณค่า  ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนซึ่งมีบทบาทสำคัญ ในการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ  จึงได้ร่วมมือกับภาควิชาในมหาวิทยาลัยสยามและหน่วยงานภายนอกจัดอบรมการใช้ PBL ในการเรียนการสอน  ให้กับคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย

 

วัตถุประสงค์

๑.   เพื่อให้คณาจารย์มหาวิทยาลัยได้เรียนรู้และเข้าใจการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)

๒.  เพื่อให้คณาจารย์สามารถนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปปรับกระบวนการสอนให้มีลักษณะที่เป็นการเรียนการสอนแบบ PBL อย่างค่อยเป็นค่อยไป มากขึ้นตามลำดับอย่างต่อเนื่อง

 ๓.  เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในมหาวิทยาลัย

           

กลุ่มเป้าหมาย

๑.      คณาจารย์มหาวิทยาลัยสยามและครู อาจารย์ทั่วไปที่สนใจเข้ารับการอบรม จำนวน  ๖๐  คน

๒.    นักศึกษาที่เรียนกับอาจารย์ผู้เข้าอบรมการสอนโดยใช้ PBL และกระบวนการ PBL มาใช้

 

กิจกรรมของโครงการ

๑.      การบรรยาย / อภิปราย

๒.    แบ่งกลุ่มทำงาน

๓.    การฝึกปฏิบัติทดสอบสอน

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน

๑.     สำรวจจำนวนผู้เข้ารับการอบรมและแจ้งไปยัง คณะวิชาให้ทราบวันเวลาของการฝึกอบรม และประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อต่างๆ เพื่อรับสมัครครู อาจารย์ทั่วไปที่สนใจ

๒.     ติดต่อวิทยากรและกำหนด  วัน  เวลา  สถานที่  สำหรับการอบรม

๓.     ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการวันศุกร์ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.

๔.     ประเมินผลโครงการและสรุปรายงานผลการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ดัชนีบ่งชี้ความสำเร็จ

๑.      จำนวนอาจารย์ผู้เข้ารับการอบรม

๒.     แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม

 ระยะเวลาในการดำเนินการ

  การอบรมเชิงปฏิบัติการในวันศุกร์ที่  ๒๑ พฤศจิกายน  ๒๕๕๑

การประเมินผลโครงการ

๑.     ประเมินผลการฝึกอบรมของอาจารย์แต่ละคน ประกอบด้วย

๑.๑    จำนวนเวลาที่เข้ารับการฝึกอบรมต้องไม่น้อยกว่า ๘๐ %

๑.๒   งานที่ได้รับมอบหมายจากวิทยากรในช่วงระหว่างการฝึกอบรม (ถ้ามี)

๑.๓    รายงานสรุปของผู้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับแนวทางในการนำเอาความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในการเรียนการสอน  

            ๒.   ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจ

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

๑.     อาจารย์มีความเข้าใจในกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (PBL)

๒.     คณาจารย์ได้แนวทางในการออกแบบหลักสูตรและพัฒนากระบวนการเรียนการสอน ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)

๓.     คณาจารย์มีแนวทางในการออกแบบการประเมินการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่  คุณอัมพร  ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน  โทร. 0-2457-0068 ต่อ 134  มือถือ 086-709-5651   e-mail: [email protected]

จัดโดย ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยสยาม http://www.siam.edu

http://202.57.184.39/tldc/

  

กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ

เรื่อง กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

วันศุกร์ที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑

ณ ห้อง ๑๙-๕๐๒  อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๑๙ ชั้น

 

๑๒.๓๐ ๑๓.๐๐  น.    ลงทะเบียน

๑๓.๐๐   ๑๓.๑๕ น.    พิธีเปิดการอบรม  โดย อธิการบดี

๑๓.๑๕ ๑๔.๓๐ น.     The big picture of PBL.

- Philosophical Principles of  PBL  

- PBL Curriculum Design

- PBL Compatible Assessnent 

 - PBL Tutorials & Technology

โดย ดร.พยุงศักดิ์   จันทรสุรินทร์  และ ดร.บุญส่ง   หาญพานิช

๑๔.๓๐ ๑๔.๔๕ น.     พักรับประทานอาหารว่าง

๑๔.๔๕ ๑๖.๓๐ น.     ผู้เข้ารับการอบรมรับชมวีดีโอเกี่ยวกับกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)

                             และผู้เข้ารับการอบรมร่วมกันทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติ (PBL)

โดย  ดร.พยุงศักดิ์   จันทรสุรินทร์ และ ดร.บุญส่ง   หาญพานิช

๑๖.๓๐ น.                 ปิดการอบรม

 

 

หมายเลขบันทึก: 221894เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2008 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท