ท่านเผาทยน ท่านเหล้นไฟ


"เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวงเทียรย่อมคนเสียดกันเข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟเมืองสุโขทัยนี้มีดั่งจักแตก"

ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 1 ที่มักเรียกกันว่า ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มีข้อความจารึกหน้าที่ 2 ท้ายบรรทัดที่ 20 ถึงต้นบรรทัดที่ 23 ถอดเป็นอักษรปัจจุบันได้ว่า

1

http://gotoknow.org/file/thaipoet/1.2.20-23.0.jpg

ภาพบน อักษรในจารึกพ่อขุนรามคำแหง (อาจใช้วิธีถูแล้วลอก)

ภาพล่าง อักษรที่คัดลอกด้วยลายมือ

ข้อความในกรอบสีแดง อ่านว่า "ท่านเผาเทียน ท่านเหล้นไฟ"

20 "...................................................................เมือง

21 "สุโขไทนี้มีศี่ปากปตูหลวงท้ยนญอม คน สยดกนน

22 "เข้ามาดูท่านเผาทยนท่านเหล้นไฟ เมืองสุโขไทนี้

23 "มีฎ่งงจกกแตก................................................"

แปลเป็นไทยอีกที

"เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวงเทียรย่อมคนเสียดกันเข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟเมืองสุโขทัยนี้มีดั่งจักแตก"

(ข้อความในจารึกไม่มีเว้นวรรคครับ)

"ท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ" นี่แหละ ที่ถูกอ้างถึงบ่อยๆ ว่าหมายถึง หรือเกี่ยวข้อง กับ "เทศกาลลอยกระทง"

ภาพ:วัดเขาพระบาทน้อย สุโขทัย.jpg

อาจารย์พิทูร มลิวัลย์ (ป.ธ. 9) ได้เล่าไว้ในหนังสือ เรื่อง มรดกพ่อขุนรามคำแหง --วรรณกรรมเรื่องแรกของไทย {สุโขทัย TH 231 (S) } ว่า น่าจะเป็น งานฉลอง จุดเทียน มีพลุดอกไม้ไฟ อาจจะเป็นเทียนต้นเทียนกิ่ง จุดกันให้สว่างไสวสวยงาม

ส่วนที่ว่าเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับการลอยกระทงหรือไม่ ท่านไม่ได้กล่าวไว้ ผมตรวจดูในจารึกแล้ว ก็ไม่มีข้อความเชื่อมโยง แต่อาจจะมีเนื้อหาจากวรรณกรรมเรื่องอื่นที่เล่าเชื่อมโยงกับส่วนนี้ก็ได้

หมายเหตุ. ภาพจารึก จากเว็บต่างประเทศ เก็บมานานหลายปีดีดัก จำไม่ได้แล้ว ต้องขออภัย..

หมายเลขบันทึก: 221527เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2008 11:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)

สวัสดีค่ะ

  • พี่คิมมีเพื่อนชาว..เหนือขึ้นไปนะคะ
  • เขาเรียกทางเข้าประตูว่า..ปากปตู  (จริง ๆ ค่ะ)
  • สมัยนั้น..รูปสระคงยังไม่ครบใช่ไหมคะ
  • อ่านได้ก็สนุกดีนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

***เชื่อว่าการตีความของแต่ละท่านก็มีความน่าจะเป็นในบางแง่มุมและความเชื่ออาจเปลี่ยนไปถ้ามีผู้เห็นด้วยในมุมมองใหม่...เป็นสิ่งที่ดีค่ะ

***ภูมิปัญญาด้านการประกอบอาหารของชาวสุโขทัยก็น่าศึกษา...เป็นมรดกที่ทิ้งไว้ให้คนไปเยื่อนได้ชิม...จนอ้วนทันตา..ลองไปเที่ยวตลาดสุโขทัยชิมอาหารพื้นบ้านรอบนอกดูนะคะ

บางครั้งผมคิดอะไรเรื่อยเปื่อย ก็วนมาปัญหาที่ขบคิดไม่แตก

เกี่ยวกับ"ลอยกระทง"เหมือนกันครับ

แปลกที่ประเพณีทางล้านนา กับล้านช้างเหมือนกันเกือบทุกอย่าง

แต่ที่ไม่เหมือนกันก็ตรงที่ ทางล้านนามีประเพณี "ยี่เป็ง"

แต่ไม่เห็นร่องรอยในล้านช้าง ทางอีสาน ทางลาวกลับมี "ไหลเรือไฟ"

อย่างไรก็ตามสองประเพณีนี้ก็เหลื่อมกันเพียงชั่วเดือนเท่านั้น

เป็นไปได้ว่า การนับเดือนนับปฏิทินทางจันทรคติจะคลาดเคลื่อนกันไป

แต่ความหมายที่แท้จริงก็มีรากเหง้ามาจากที่เดียวกัน

สวัสดีครับ

  • ได้ข่าวว่าจะมีการลอยกระทงล่วงหน้าของชาว G2K -ขอให้สนุกนะคะ

มาชม

ได้เห็นแง่มุมหนึ่งทางประวัติศาตร์นะครับ

  • ตามมาอ่านเรื่องดีๆคะ
  • เคยเห็นหลักศิลาและตัวอักษรบอกตัวเองว่าอยากอ่านได้คะ แต่น่าเสียดายเหลือเกินคะว่าความพยายามและความสามารถไม่มากพอจนแล้วจนเล่าเลยยังต้องตามอ่านเฉพาะที่คนอื่นแปลคะ
  • ขอบคุณนะคะ
  • รักษาสุขภาพด้วยคะ

เมื่อวานนั่งดูรายการ รายการหนึ่งบอกว่า ประเพณีลอยกระทองอาจจะ มีมาตั้งแต่ ชั้นอยุธยา เพระสุโขทัยเป็นที่ดอน

มานั่งนึกดู ว่าด้วยเรื่อง ศิลาจารึกนี่ก็ยังเถียงกันว่า เป็นจารึกที่มีมาแต่เดิมหรือเพิ่งมาสร้างในภายหลัง

มีฎ่งงจกกแตก

ตรงนี้น่าจะใช้ว่า 
หมี้/มี่ ที่ในภายหลัง เราใช้ว่า อึ้งมี่ (หมายถึงเสียงดังอึกทึก)

คนสมัยก่อนคง เผาเทียน เล่นไฟ จุดประทัดกัน จนเสียงดังอึ้งมี่ จนแก้วหูจะแตก เหมือนอย่างเช่นทุกวันนี้นะครับ :) 

  • สวัสดีค่ะมาร่วมรักษ์ ประวัติศาสตร์ชาติไทยเราค่ะ
  •  คงต้องจัดกิจกรรมให้เด็กๆๆ ได้ซาบซึ้งในเรื่องเหล่านี้กันนะคะ
  • ขอบคุณ และยินดีแลกเปลี่ยนค่ะ

สวัสดีครับ คุณครูคิม

ได้ยินบางท่านเรียกว่า ปั๊กกะตู อิๆ ไม่ทราบถิ่นไหนเหมือนกัน

สวัสดีครับ อ. กิติยา เตชะวรรณวุฒิ

ถ้าได้ถกเถียงกันกว้างขวาง ก็จะได้แง่มุมที่น่าสนใจมากขึ้นครับ

เรื่องอาหารไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ครับ เคยไปสุโขทัยแวะดูแต่ผ้าอย่างเดียวเลย ;)

สวัสดีครับ พี่paleeyon

เรื่องนี้ร่องรอยเก่าๆ ไม่ค่อยชัดเท่าไหร่นะครับ สงสัยต้องฝากพี่แคะๆ เกาะๆ มาจากทางโน้น เอ แล้วตอนนี้อยู่ไหนครับ

สวัสดีครับ พี่ naree suwan

แล้วพี่ไปลอยที่ไหนครับ

ตอนนี้ลพบุรีคงสว่างไสวไปด้วยทานตะวันแล้วนะครับ

สวัสดีครับ อ. umi

ปัจจุบันประวัติศาสตร์ถูกนำมาใช้ประกอบการท่องเที่ยวได้ลงตัวทีเดียวครับ

สวัสดีครับ คุณสี่ซี่

ความจริงอักษรโบราณอ่านไม่ยากครับ ที่ยากคือความหมาย จารึกจำนวนไม่น้อยที่มีคนอ่านไว้ แล้วหาคำแปลกันทีหลัง เพราะถ้ารู้จัก ก ไก่ ข ไข่ ก็พออ่านได้แล้ว

อย่าท้อถอยครับ อักษรพ่อขุนฯ มีน้อยกว่าอักษรสมัยนี้อีกครับ

สวัสดีครับ คุณกวิน

เรื่องความแท้ของจารึก บางประเด็นก็น่าแคลงใจเหมือนกัน เร็วๆ นี้ได้ยินว่ากรมศิลปากรได้พิสูจน์อายุของจารึก ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์แล้ว แต่ไม่ทราบว่าผลว่ายังไง อิๆๆ

สมัยโน้น ประทัดอาจจะไม่มากถึงขนาดนั้น แต่คงเป็นพวกพลุ ดอกไม้ไฟ ตะไล มากกว่า ในวรรณคดี พูดไว้เยอะเลย

สวัสดีค่ะ แวะมาศึกษาเรียนรู้เรืองราวประวัติศาตร์ค่ะ ขอบคุณมากๆ ค่ะ อิอิ ชอบของเก่า ชอบเล่าความหลัง อิอิ

สวัสดีครับ อ.เอื้องแซะ

สมัยนี้เอกสารประวัติศาสตร์ต่างๆ หาอ่านได้มากขึ้น แต่สื่ออินเทอร์เน็ตใช้งานสะดวกกว่า เอกสารจึงมีปริมาณมาก เพราะคัดลอกสะดวก แต่เนื้อหายังวนๆ อยู่ เพราะไม่ค่อยได้เผยแพร่เรื่องใหม่ๆ

สวัสดีครับ คุณpaula ที่ปรึกษา~natadee

ถึงขั้นชอบกินของขมหรือยังครับ อิๆ

แอะ "ประวัติศาตร์"

ในยุคสุโขทัย,  ผมชบอ่านวรรณคดีเรื่อง "ไตรภูมิพระร่วง" มาก  อ่านแล้วรู้เรื่องนรกสวรรค์ชัดเจน   และรู้สึกหวั่น ๆ กลัว ๆ ไม่ใช่น้อย  เสียดายที่ภาษาอ่านยากไปหน่อย  แต่ที่สุดแล้ว  นี่เป็นวรรณกรรมการเมืองในยุคปลายของสุโขทัยอีกเล่มที่ไม่ควรมองข้ามเลยนะครับ

 

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านเรื่องราวประวัติศาสตร์ค่ะ

(^__^)

สวัสดีครับ อ.แผ่นดิน

ไตรภูมิ ถือเป็นแม่บทของวรรณคดีไทยในชั้นหลังๆ และเป็นบันทึกของรากฐานคติความเชื่อของไทยเราเลยนะครับ

ในชั้นหลังมีไตรภูมิฉบับอธิบายความสองสามฉบับครับ "ไตรภูมิโลกวินิจฉัย" อ่านง่ายหน่อย แต่ยาวกว่าไตรภูมิพญาลิไท สัก 10 เท่าได้ ;) นอกจากนี้ก็มี ไตรภูมิ ฉบับ ค่อยยังชั่ว ของ สมพงษ์ เชาวน์แหลม (ผมยังไม่เคยอ่าน) ถ้ามีเวลา ลองหาดูนะครับ ที่หอสมุดฯ น่าจะมีครับ

สวัสดีครับ คุณคนไม่มีราก

นึกว่าลอยตัวไปกับกระทงแล้ว อิๆ

ผมไม่ค่อยสันทัดเรื่องประวัติศาสตร์มากนัก แต่อาศัยว่าต้องเกี่ยวข้อง เลยจับมาเล่าบ้าง บางช่วงบางตอนครับ

อิอิ ..พิมพ์ตกตัวเดียวเองค่ะ ประวัติศาสตร์ ฮ่าๆๆๆ

คุณ paula ที่ปรึกษา~natadee

ตกตัวเดียว หยอดกระปุก 10 บาทก็แล้วกัน อิๆๆ

ตื่นได้แล้ว

แสงแดดอ่อนแย้มรับอรุณยิ้ม
พื้นยอดหญ้าเอมอิ่มปริ่มน้ำค้าง
มวลเมฆขาวอาบอวลเนื้อนวลปราง
พรายสะพร่างเก็จพราวราวกลางวัน

ทุกวันคืนพ้นผ่านบันดาลพบ
ดั่งประสบวิมานผ่านความฝัน
ดวงดอกไม้ผลิรอล้อตะวัน
หลากสีสันผ่านฟ้าทะเลดาว

ผ่านเส้นสายพริ้มพรายในวันรุ่ง
แสงสีรุ้งทอทาบอาบเมฆขาว
เหมือนมอบร้อยใยรักพักสักคราว
หลายเรื่องราวเหนื่อยนักแวะพักล้า

ให้ธรรมชาติรักษาคราทนทุกข์
มาปลอบปลุกกล่อมขวัญสู้วันหน้า
แล้วสู้ต่ออย่าท้อต่อชะตา
ธรรมชาติรักษาใจหายสักวัน

สวัสดียามเช้าครับ

  • สวัสดีครับคุณ ธ.วั ช ชั ย
  • ขอบคุณมากที่แวะไปเยี่ยมและฝากข้อคิดเห็นไว้
  • "ยี่เป็ง" ทางเหนือ น่าจะเป็น
    ก่อนวันยี่เป็ง จัดซุ้มประตูป่า
    ในวันยี่เป็ง
         ใส่บาตรเมื่อเจ๊า
         ปล่อยว่าวเมื่อขวาย
         ฟังเตศน์ ต๋ามผะตีปสีสาย จิบอกไฟ ปล่อยว่า(ไฟ) เมื่อคืน
  • ขอให้โชคดีมีความสุขครับ

อยากอ่านออกบ้าง ทำไงดี ต้องไปเรียนใหม่ไหมเนี่ย เดือนสิบน้ำนอง เดือนสิบสองน้ำคง เดือนอ้าย เดือนยี่น้ำรี่ไหลลง อิอิๆๆๆ

สวัสดีครับ น้องคนพลัดถิ่น~natachoei(หน้าตาเฉย)

 

ลมหนาวเริ่มอมยิ้ม

กรุ้มกริ่มในยามเช้า

แสงแดดร้อนแผดเผา

แต่ใจเรากลับเยือกเย็น...

 

สวัสดีพร้อมลมหนาวครับ

สวัสดีครับ อ.ทนัน ภิวงศ์งาม

 

ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

คำศัพท์วรรณคดีนั้น ถ้าได้ภูมิรู้ภาษาถิ่น จะช่วยได้มาก

และไขศัพท์โบราณ ได้กระจ่างขึ้นนะครับ

 

สวัสดีครับ อ.ขจิต ฝอยทอง ที่ปรึกษา ฯลฯ

ถ้าอยากอ่านออก ลองปรึกษาน้องจิดูนะครับ อิๆๆ

รายนั้นท่าทางจะอ่านคล่องเขียนคล่องแล้วด้วย

 

ลองอ่านศิลาจารึก หลักที่ 1 ด้านที่ 1 เป็นภาษาสำเนียงไทย-อีสานนะครับ จะได้รู้สึกว่า มันส์ มาก(ศ.ธวัช ปุณโณทก ท่านแนะนำมา)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท