ทำบุญเฉพาะหน้า/การให้เฉพาะหน้า (ของแท้เลย)


ชัปปสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม 1 ภาค 3 - หน้าที่ 227

"แม้สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ใน หลุมโสโครกหรือท่อโสโครก  ผู้ใดเทน้ำล้างหม้อก็ดี  น้ำล้างชามก็ดี  ลงไปในหลุมและท่อโสโครกนั้น  ด้วยเจตนาให้สัตว์ในนั้นได้เลี้ยงชีพ อย่างนี้เราตถาคต ยังกล่าวการได้บุญอันมีกิริยาที่ทำอย่างนั้นเป็นมูล" (1)

แค่เทน้ำล้างจานก็ได้บุญ?  ฉะนั้น ก่อนเทน้ำล้างจาน อย่าลืม ตั้งเจตนาขอให้ ชีวิตินทรีย์ที่อยู่ในดินที่เราเทน้ำล้างจานลงไป ได้กินได้ใช้น้ำล้างจานของเรา



การทำบุญเฉพาะหน้าเหตุการณ์แรกกวิน มีหลายครั้งอยู่เหมือนกันแต่ที่จำได้ คือที่ยังไม่ลืม ก็คือ กวิน ซื้อน้ำขวดมา ชิม ดื่มไป บ่นไป พร้อมกับเดินไปด้วย แถวๆ ซอยข้างๆ โรงพยาบาล ในยามนั้น ในเย็นหลังเลิกงาน มีเด็กน้อยสองคนเดินตามหลังมา เด็กผู้หญิงคนโตแบกน้องชายคนเล็กบนหลัง แต่งตัวก็ไม่ได้มอมแมมอะไรมาก กวินก็ไม่ได้สนใจอะไร แต่พอเดินนำหน้าไป ได้ยินเสียงเด็กผู้ชายพูดขึ้นว่า อยากกินน้ำ กวินก็ยังไม่ได้คิดอะไร คราวนี้พี่สาวของเด็กชายคนนั้นเดินตามกวินมาแล้วบอกว่า พี่จ๊ะขอน้ำกินหน่อย กวินเห็นว่า น้ำอัดลม (แบบขวดพลาสติก) ที่กวินกำลังดื่มอยู่นั้นเหลือประมาณค่อนขวด กะจะซื้อให้เด็กน้อยนั้นใหม่แต่ก็เดินมาไกลจากร้านนั้นแล้ว จึงยกน้ำขวดนั้นให้น้องทั้งสองคนไป  ได้ยินเสียงเด็กผู้ชายร้องว่า ขอผมกินก่อน จากนั้นกวินก็เดินจากเด็กทั้งสองมาโดยที่ไม่ได้คิดอะไร

ต่อมาก็มาเจอเหตุการณ์ที่คล้ายๆ กันอีกก็คือเมื่อวันเสาร์ 18 ตุลาคม 2551 ที่ผ่านมา กวินกำลังเดินไปดื่มน้ำอัดลมไป แถวๆ ตลาด แล้วไปหยุดๆ ยืนๆ อยู่ ณ แถวๆ ตลาดแห่งนั้น ก็มี ผู้หญิงวัยกลางคนแต่งตัวมอมแมม พูดขึ้นมาว่า หลานชายจ๊ะ กินน้ำ ไม่หมดอย่าทิ้งนะ ขอป้าเถอะ กวินก็มองไปตามเสียงก็ได้เห็นสภาพคุณป้าเจ้าของเสียงดูท่าทางแต่งตัวมอมแมมกวินก็เลยบอกว่า น้ำอัดลม(ขวดพาสติก) ใกล้จะหมดแล้วเดี๋ยวผมซื้อให้ใหม่ ป้าเธอบอกว่า ไม่เป็นไรจ่ะ เกรงใจ กวินก็เลยยกน้ำอัดลมนั้นให้คุณป้าพร้อม ให้สตางค์คุณป้าไป 20 บาท บอกว่า ป้าครับเอาไว้ซื้อข้าวกินนะครับ (ตอนนั้นกวินทั้งเนื้อทั้งตัวมีสตางค์อยู่ 60 บาท) กะว่าจะให้ 60 บาทแต่ก็กลัวเพราะ กวินเคย ฝึกงานที่ สนง.ประชาสงเคราะห์ จังหวัดมาก่อน พี่ๆ นักสังคมสงเคราะห์ จะบอกว่า การให้เงินกับขอทาน คราวละมากๆ ส่วนใหญ่เขาจะนำไปซื้อเหล้าซื้อบุหรี่ หมดไม่ได้นำไปซื้อข้าว เพราะฉะนั้นเวลากวินให้เงิน กับคนแปลกหน้ากวินก็จะสำทับไปว่า เอาไปซื้อขาวกินนะครับ

พอให้เงินกับน้ำดื่ม แก่คุณป้าเธอแล้ว เธอยกมือไหว้ให้ศีลให้พร แก่กวิน กวินยกมือไหว้รับ บอกว่า ไม่เป็นไรครับ ไม่ต้องไหว้ก็ได้ จากนั้นเธอก็เดินจากไปครับ :)

เหตุการณ์ที่สาม เป็นชาย วัยกลางคนเดินสวนกันแล้วยกมือไหว้ ขอเงิน 20 บาท บอกว่าตกรถ ขอสตางค์ขึ้นรถ หน่อยเถอะ ก็ควักเงินให้ไป

เหตุการณ์ที่สี่ เดินสวนกับคุณยายคนหนึ่ง   น้ำตาคลอเบ้า ยกมือไหว้แล้วบอกว่า พ่อหนุ่มจ๊ะยายเดินมาจากเขาขาด (เขาขาด คือบริเวณแถวๆ ร.ร.ตำรวจภูธร จ.นครสวรรค์ ซึ่งห่างจากตัวตลาดประมาณ 2 กม.) ยายเดินมาเพราะไม่มีเงินขึ้นรถสองแถว เพราะไปหาญาติ เพื่อขอยืมเงินมารักษาหลานสาวที่ป่วย แต่ญาติก็ไม่มีเงินให้ ขากลับยายเลยต้องเดินกลับ ไม่รู้จะทำอย่างไร หลานสาวยายรักษาที่คลินิกของหมอ (คุณหมอผู้หญิงท่านหนึ่ง) แต่ค้างค่ายาหมอท่านไว้ เกรงใจหมอท่านเงินนมซื้อให้หลานก็ยังไม่มี จากนั้นก็ควักเงินจำนวนหนึ่งให้ยายเธอไป ยายเธอบอกว่า หนุ่มทำงานที่ไหน ยายมีสตางค์แล้วจะหามาใช้คืนให้ ยายไม่เอาไปฟรีๆ หรอก (ไม่เป็นไรครับ ผมทำงานที่ รพ.สวรรค์ประชารักษ์ นี่เองล่ะ) จากนั้นยายเธอก็ให้ศีลให้พร

เหตุการณ์ที่ห้า เด็กอายุประมาณ 9-10 ขวบ มาขอเงิน 10 บาท พี่ขอเงิน 10 บาท เดินผ่านไป ประมาณ 20 ก้าว แต่สังเกตุที่หน้าเด็กน้อย มีรอยขีดขวนเหมือนไปเล่นซนแล้วโดนกิ่งไม้ข่วนมา ไม่ก็เป็นรอยเล็บ ข่วนจิกแถวๆ หน้า (เด็กอาจจะเล่นฟ้อนเล็บกับพี่ๆ น้องๆ จนใบหน้าเป็นรอย) ก็เลยหยุด แล้วหันไปมอง เด็กยังไม่เดินไปไหน ควักเศษสตางค์ในกระเป๋า (10 บาท ซื้อบุหรี่ได้ 4 มวน) กวักมือเรียกเด็กคนนั้น มาสอบถามว่า บ้านอยู่แถวไหน (ตอนทำงานที่ประชาสงเคราะห์จังหวัด ไอ้ตอนที่ลงพื้นที่จับขอทานเด็กล่ะไม่ค่อยยอมโผล่มาให้เจอนะ นี่จะใช่แก๊งค์ขอทานเด็กหรือเปล่า จากประสบการณ์ในการทำงานถ้าเป็นแก๊งค์ขอทานเด็กเวลาถามว่า อยู่แถวไหน ทำไมต้องมาขอทานมันจะวิ่งหนีไปเลย ไม่ยอมเอาสตางค์แต่นี่เด็กบอกว่า อยู่แถว ตรอกลิเก) ก็เลยไม่ได้ถามต่อ ให้แล้วก็แล้วกัน

เหตุการณ์ที่หก นั่งกินข้าวในร้านข้าวแกง (ร้านประจำ) เป็นร้านเพิงหมาแหงนข้างถนนแถวๆ โรงพยาบาล มีคนหลายอาชีพ หลายระดับไปนั่งกิน นั่งกินข้าวและอ่านหนังสือพิมพ์ไปด้วย บางทีก็นั่งสังเกตุพฤติกรรมของคนในร้าน (ทำเหมือนนักจิตวิทยาที่ชอบนั่งสังเกตุพฤติกรรมคนในโรงอาหารมหาวิทยาลัย) ระหว่างที่ กินข้าวเสร็จแล้วกำลังนั่งอ่านหนังสือพิมพ์ ก็รู้สึกว่าขาถูกสะกิด มองไปที่สาวๆ โต๊ข้างๆ ว่าเอาเท้ามาสะกิดส่งสัญญาณอะไรหรือเปล่า ก็ไม่น่าจะใช่เพราะนั่งไกลกันมาก  มองไปใต้โต๊ะ เห็นหมาดำตัวเมีย (เป็นหมาตัวเตี้ยๆ นมยานๆ สงสัยเป็นหมาแม่ลูกอ่อน) กำลังเอาขาหน้าของมัน มาสะกิดขากวิน เป็น Body Language ที่เรารับรู้ได้ว่ามันคงมาขออาหารจากเรา (คุยกะหมารู้เรื่องแฮะ!) ก็เลยซื้อแค็ปหมูให้มันหนึ่งถุง 5 บาท ถามเจ้าของร้านว่า เอ มากินหลายเที่ยวไม่เห็นมีหมามาขออะไรกิน ให้มันกินมันจะเคยตัวมั้ยครับ เจ้าของร้านยิ้มๆ ไม่พูดอะไร ก็เลยยื่นเหรียญห้าบาทให้เจ้าของร้าน และเอาแค็ปหมู ยื่นให้หมาดำตัวนั้นกิน มันคาบแล้ววิ่งไปกินใต้โต๊ะอีกโต๊ะหนึ่ง สงสัยกลัวเราจะแย่ง

เห้อขนาดหมาก็มาขอกะเขาด้วยสงสัยเห็นว่าเราหน้าตาใจดี ละมั้งเนี่ย นี่ล่ะครับ การให้เฉพาะหน้าของกวิน



อ้างอิง

(1) ชัปปสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม 1 ภาค 3  หน้าที่ 227 อ้างใน
thanadol (นามแฝง). ทิ้งของโสโครกก็ได้บุญ (ชัปปสูตร), พระไตรปิฏกศึกษาหมวดทาน .เวปไซต์โรงเรียนวัดสามแยก. 2008 January [cited 2008 October 28]. 1 (5) ; (0 screens). Available from: http://www.samyaek.com/pratripidok/index.php?topic=141.0

คำสำคัญ (Tags): #ทำบุญเฉพาะหน้า
หมายเลขบันทึก: 219168เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2008 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 18:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • เขาเรียกว่าดวงทำทานกำลังรุ่ง ( ริ่ง) ค่ะ
  • เจอเหตูการณ์เดียวกันหมด
  • แม้กระทั่งน้องหมา ยังมาขอ
  • ลองมานั่งทบทวนตัวเองดู
  • ว่าเกิดอะไรขึ้น
  • อานิสงฆ์นี้อาจจะทำให้ได้ขั้นเพิ่มก็ได้
  • คิดบวกๆ อิ อิ
  • สวัสดียามดึกๆค่ะ
  • ไอ้เจ้าตัวท้ายเนี่ย
  • ที่ม.เกษตรศาสตร์มีหลายตัว
  • บางทีแกล้งทำเฉย
  • เจ้าหมาน้อยก็สะกิดอยู่นั่นละ
  • ขำๆๆเลยเอาข้าวให้กิน
  • แต่สงสารคุณยายนะครับ
  • แบบนี้เจอบ่อย
  • น่าสงสารจริงๆๆ
  • กำลังงงว่า เด็กที่ไม่มีที่อยู่
  • ทำไมถามว่าอยู่ไหน
  • เนี่ยหนีทุกราย
  • ผมก็เคยเจอ
  • ตอนลงพื้นที่ของเด็กหมู่บ้านเด็ก
  • สบายดีไหมครับ

ให้ไปหมดแล้วเหลือเงินเท่าไรเนี่ย...ไม่เป็นไรนะการให้ทานเป็นสิ่งดีๆสำหรับชีวิต..มีน้อยให้น้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน..อิอิ...

สวัสดีครับคุณพี่ มนัญญา สมพรปาก ครับ (คิดๆ ดู แล้วสงสัยเป็นเรื่องที่ติดค้างกันมาจากภพที่แล้วกระมังครับ) พุทธองค์ทรงตรัสว่า  ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก(ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย) แต่ที่ว่าให้ น่ะให้อะไรหรือ? แล้วที่ว่ารักน่ะรักอะไรหรือ?

  • อย่าดูถูก บุญกรรม ว่าทำน้อย          จะไม่ต้อย ตามต้อง สนองผล
    เหมือนตุ่มน้ำ วางหงาย รับสายชล    ย่อมเต็มล้น ด้วยอุทก ที่ตกลง
  • สวัสดีครับ พีกวิน สบายดีนะครับ

เมื่อตอนที่เรียนที่อุตรดิตถ์ ริมน้ำน่าน จะมีขอทานเยอะมาก ประมาณเป็นแกงคืเดียวกันนี่แหล่ะ มีจิตวิทยาในการพูดให้ดูน่าสงสารจับใจ หลายคนให้ไปก็ให้ศีลให้พรซะยืดยาว..ถ้าคนไม่ให้ก็สาปแช่งซะงั้น...แต่ก็เป็นเพราะกวินใจดีอย่างนี้นี่เอง..จึงมีแต่คนมาขอ..เอ๊ย..มาขอเงินน่ะค่ะ..อิอิ

 สวัสดีครับคุณพี่อาจารย์ ดร. ขจิต ฝอยทองที่ปรึกษา~natadee เนื่องด้วยพอมีประสบการณ์ทำงานด้านสังคมสงเคราะห์ ทะเลาะกะขอทานมาบ้าง ก็เลยพอจะ คุ้นๆ หน้าขอทานเป็นอย่างดี ยุคหนึ่งสมัยหนึ่งผู้ว่าฯ ท่านไปทำบุญที่วัดนครสวรรค์ (วัดหัวเมือง ที่ชื่อวัดหัวเมืองเพราะสมัยก่อน ตัดหัวนักโษเสียบประจานไว้ที่วัดนี้) ท่านผู้ว่า เห็นขอทานมาเดินขอเงิน คนทำบุญก็เลยโทรศัพท์มา ฟ้อง ประชาสงเคราะห์จังหวัด (ตอนกลางคืนงานเข้า ก็มี Mission ขอทาน Hunter ตั้งชื่อภารกิจเองให้ดูเท่) ภารกิจออกตระเวนร่วมกับตำรวจและ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ออกตระเวน จับขอทาน จับแล้วเอาไว้ฝากขังที่ สน. ถ้ามีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ก็ให้เงิน+ผลักดันให้กับภูมิลำเนาตนเอง หรือไม่มีบ้าน ไม่มีที่อยู่ ก็ส่งเข้าสถานสงเคราะห์ เป็นรายๆ ไป ทำดั่งนี้ ขอทานก็หายไปได้ระยะหนึ่ง นึกแล้วก็ขำดี ตอนไปไล่จับขอทาน สงสารก็สงสาร กลัวก็กลัว

ขอบคุณครับพี่นุส nussa-udon กวินอยากให้ก็ให้ มากบ้างน้อยบ้าง ไม่ค่อยไปขอร้อง ให้ใครมาร่วมเดือดร้อนกะเรา แต่การให้แบบนี้ก็คงจะให้ไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นการทำงานด้านสังคมสงเคราะห์ต้องทำร่วมกับงานด้านการพัฒนาความเป็นอยู่ของมวลชนผู้ยากไร้ ไปพร้อมๆ กันด้วยครับ อนึ่งการทำงานด้านสังคมสงเคราะห์นี้ ทำให้กวินได้เห็นคนหลายๆ จำพวก ทั้ง คนที่หากินกับคนจน (หมายถึงนักพัฒนากรกำมะลอ)  และ คนที่หากินกับคนรวย (หมายถึงขอทาน) ฉะนั้นกวินจึงยังแยกไม่ออกระหว่าง นักพัฒนากรกำมะลอ กับ ขอทาน (หากินกับคนจน หมายถึง เที่ยวไปเรี่ยไรคนรวย แล้วบอกว่าจะเอาไปช่วยคนจน แต่ไม่ได้ช่วยจริงหรือ ช่วยจริงแต่ช่วยประเภท สิบหยิบหนึ่ง หรือช่วยก็เพราะหวัง เสนอหน้า เสนอผลงานกับผู้หลักผู้ใหญ่เพื่อเป็นใบเบิกทาง (อาจสะเทือนใจใครหลายคน แต่ ทองแท้ย่อมไม่กลัวไฟลน)

ขอบคุณน้องคนพลัดถิ่น ครับ น้องโพสกลอนนี้ทำให้พี่ นึกถึง ชัปปสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม 1 ภาค 3 - หน้าที่ 227 ขอบคุณมากๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท