มหาวิทยาลัยวิจัย


         สภามหาวิทยาลัยของจุฬาฯ มักจะจัดการเสวนาก่อนประชุมสภา ในเรื่องสำคัญๆ    เป็นการประชุมในลักษณะ working lunch    .ใน

         วันนี้ (๓๐ มีค. ๔๙) เป็นการเสวนาเรื่อง  “ผลงานของเมธีวิจัยอาวุโส สกว.” ที่เป็นคนของจุฬาฯ ๕ คน    ผมขอลาประชุมสามัญประจำปี ๒๕๔๙ ของ มสส. (มูลนิธิสดศรี – สฤษดิ์วงศ์) ในตอนบ่าย มาร่วมประชุมนี้    ขอบันทึกผลงานและแผนงานของเมธีวิจัยอาวุโสทั้ง ๕ ท่านด้วยความชื่นชม   แต่จะเป็นการบันทึกแบบกระท่อนกระแท่น เพราะการนำเสนอเร็วมาก สาระมาก ผลพิมพ์ได้แบบ ๒ นิ้ว     ตบท้ายด้วยข้อคิดส่วนตัวของผม

ศ. ดร. สุดา เกียรติกำจรวงศ์   คณะวิทยาศาสตร์ 
       ทำงานวิจัยสาขา พอลิเมอร์  โดยเฉพาะพอลิเมอร์สีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและใช้ประโยชน์ ได้    โดยใช้ green chemistry   อย่างน้อย ๑๕ paper  ๑๘    พัฒนา พอลิเมอร์ ที่เป็นมิตรกับ สวล     เช่นผสม polyethylene กับยางธรรมชาติ    polylactic acid     จีนกว้านซื้อมันสำปะหลังไปทำ
      มี ๖ คก   มีการทำ คก ร่วมกับ ปน    ร่วมกับคณะแพทย์    ภาควิชาวัสดุศาสตร์  
       นิสิต กว่า ๓๐ คน   
      ขาดฐานข้อมูลของเส้นใยไหม   ตรวจสอบคุณลักษณะเส้นใยไหมไทย – จีน   fiber characterization 
      เข้าไปทำงานกับชาวบ้าน   ทีอีสาน   ในเรื่องการเลี้ยงไหม  
      โรงงาน จุลไหมไทย 
      กาวไหม (gum) เป็นยาอายุวัฒนะ  
      ศึกษาความสัมพันระหว่างสารเคลือบกับเส้นใยไหม  
      เปรียบเทียบ screen printing  กับ inkjet printing   พบเทคนิค/ความรู้ที่จดสิทธิบัตรได้  
      น่าจะโยงกับศูนย์แฟชั่น
      ศึกษาสีของเส้นใยไหม  
      ผลงานมากมาย

ศ. นพ. ยง ภู่วรวรรณ   คณะแพทยศาสตร์  
     ในการดำเนินการกลุ่มวิจัย ใช้ทฤษฎี ภูมิปัญญาของห่าน  ฝูงห่านบินรูปตัววี   มีทิศทางแน่นอน    สลับกันเป็นจ่าฝูง   ช่วยลดพลังงานที่ใช้    ตัวที่บินนำใช้พลังงาน ๑๐๐%   แต่ตัวที่บินตามใช้พลังงานเพียง ๗๐%  
     คนต่างชาติขอ specimen ไม่ให้    แต่ส่ง นิสิตไปทำงานวิจัยด้วย จึงจะร่วมมือ
     มีผลงานตีพิมพ์ ๑๗๘ paper  
    ไข้หวัดนก   ตีพิมแล้ว ๑๗ เรื่อง
    ไข้หวัดนกเริ่มระบาด มค. ๔๗   แต่จริงๆ แล้ว คงก่อนหน้านั้น  
     ศึกษา whole genome ได้ใน ๒ สัปดาห์
     ในยุโรปกับเอเชียอาคเนย์ คนละสายพันธุ์   
     ผู้ป่วย ที่องครักษ์ ตาย  ขอ sample มาศึกษาไวรัส    กำลังจะตีพิมพ์
     CU K2 whole genome ตีพิมพ์ whole genome ของไวรัสในไก่เป็นครั้งแรก  
     ศึกษา receptor binding site ดูการติดจากคนสู่คน    พบว่ายังเป็น Avian type อยู่    
     ได้พัฒนาวิธีตรวจเชื้อดื้อยา Tamiflu 
     ไข้หวัดนกในเสือ   รายงานครั้งแรกเสือบึงฉวาก   เสือป่วยขนหัวลุก   
     พัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัย  

ศ. นพ. อภิวัฒน์ มุทิรางกูร    คณะแพทยศาสตร์  
        การดิ้นรนทำวิจัยของตน นำไปสู่การพัฒนาบัณฑิตศึกษาในคณะแพทย์  ซึ่งเดิมไม่มี   
        ตนอยู่ในภาควิชากายวิภาคศาสตร์  แต่ทำวิจัยด้านพันธุศาสตร์   หานิสิตยาก   ต่อมาเน้นด้านอณูพันธุศาสตร์ ทำให้หานิสิตง่ายขึ้น    ต่อมามี คปก. ช่วยให้มี นิสิตง่ายขึ้นอีก 
        ทำวิจัยเรื่อง มะเร็งหลังโพรงจมูก    ตีพิมพ์ได้มาก เพราะทำเรื่องที่คนอื่นทำไม่ได้    และ/หรือ ทำในสิ่งที่คนอื่นคิดไม่ถึง     เลือกมะเร็งหลังโพรงจมูกเพราะคิดว่ามีคู่แข่งแค่จีน    ตอนมีโคีงการ ๓๐ บาท ผู้ป่วยหายหมด   ต้องหยุด    คนไทยติดเชื้อ EBV ทุกคน แต่เพียงบางคนเป็น    ทำไมเป็นแต่คนจีน    ศึกษายีนที่นำไวรัสสู่ nasopharyngeal epithelium    ศึกษาการกลายพันธุ์ของยีนในผู้ป่วย    โชคดีได้ tumor marker ที่ดีที่สุด   มีคนพิสูจน์ว่าใช้เป็น TM ได้จริง   จึงได้รับการอ้างอิงมาก 
       เวลานี้ศึกษา DNA Methylation in Cancer  เป็นกลไกเกิดมะเร็ง     คนทั่วไปศึกษา hypermethylation ใน tumor suppressor gene   ที่ศึกษาน้อยคือ hypomethylation   ตนจึงเน้นศึกษา hypomethylation    
สมมติฐานป้องกันการกลายพันธุ์  “ช้าๆ ได้พร้าสองเล่มงาม”  อยู่ที่การซ่อมแซมดีเอ็นเอ    
ทำวิจัยหาแนวทางใหม่ในการวินิจฉัย  

ศ. ดร. ปิยะสาร ประเสริฐธรรม  ภาควิชาวิศวกรรมเคมี  คณะวิศวกรรมศาสตร์
       วิจัยการประหยัดพลังงาน
       วิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา 
       ทีมวิจัยมีอาจารย์ ๙   นิสิต ๖๐  
       คุณทศพร นักวิจัยบริษัท MEKTEC  เป็นบริษัทญี่ปุ่น    ผู้บริหารเป็นคนไทย ได้หาทางให้บริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นเห็นชอบการลงทุนวิจัย    เงินวิจัยได้รับยกเว้นภาษี    ลงทุน ๑๓๐ ล้าน จ่ายจริง ๕๐%    คาดหวังผลต่อบริษัท เกิดผลผลิตใหม่ หรือลดต้นทุนการผลิต  มิฉะนั้นส่วนแบ่งตลาดของบริษัทจะลดลงเรื่อยๆ จนล้มเลิกไป     เนื่องจากการแข่งขันสูง

ศ. ดร. สมศักดิ์ ปัญญาแก้ว   ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า  คณะวิศวกรรมศาสตร์ 
       วิจัยประดิษฐ์สารกึ่งตัวนำ    laser   
       จบปริญญาเอก มหาวิทยาลัยโอซาก้า  วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับสารกึ่งตัวนำ  
       ๑๐ ปีแรก    ทำวิจัยด้าน Silicon technology – solar cell 
       ๑๐ ปีที่ สอง Thin film semiconductor, laser, solar cell     การขอทุนสร้าง laser โครงการแรก เงินเพียง 60,000 บาท ถูกจุฬา reject   แต่ก็ทำโดยไม่ได้ขอเงิน, hologram – holographic key, optoelectronics, quantum dot structure  เป็น nanostructure   นำไปสู่ quantum computing 
         อนาคต   nanophotonics, ทำให้ quantum dot มีความหนาแน่นสูงขึ้น    ผลงานที่เผยแพร่ออกไปทำให้   AAORD, US Air Force ติดต่อให้ทุน    โดยเขียน proposal เพียง ๒ หน้า    จะเอามาใช้เป็นสวิตช์   
          เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดศิษย์ก้นกุฏิ  

       หลังจากเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ทั้ง ๕ ท่านนำเสนอการทำงาน และผลงานอย่างย่อๆ แล้ว มีการแลกเปลี่ยนปัญหาและแนวทางส่งเสริมการวิจัย    เห็นได้ชัดว่าโครงสร้างของจุฬาฯ ยังแข็งตัวและไม่เอื้อต่อการวิจัยอย่างเอาจริงเอาจัง    ที่เมธีวิจัยอาวุโสเหล่านี้มีผลงานวิจัยเด่นเป็นผลจากตัวบุคคลมากกว่าระบบ    จุฬาฯ ยังไม่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดองค์กรวิจัยที่เอื้อให้นักวิจัยระดับยอดทำงานวิจัยได้อย่างคล่องตัว และต่อเนื่อง     กล่าวอย่างตรงไปตรงมา โครงสร้างของจุฬาในปัจจุบันเป็นโครงสร้างของมหาวิทยาลัยสอน  ไม่ใช่โครงสร้างของมหาวิทยาลัยวิจัย      
และไม่มีกลไกที่รับประกันทุนวิจัยระยะยาวให้แก่นักวิจัยที่มีผลงานดีเยี่ยมระดับนี้ 

         ที่จริงกลไกที่จะใช้ “ทุนปัญญา” ของเมธีวิจัยอาวุโส และของเยาวชนที่มีเชาน์ปัญญาดี ทำประโยชน์ในการสร้างสรรค์ค์ทุนปัญญาให้แก่บ้านเมือง ไม่ใช่ต้องการแค่กลไกระดับสถาบัน/มหาวิทยาลัย เท่านั้น     ยังต้องการอีกหลายกลไกในระดับต่างๆ ประกอบกัน     เมธีวิจัยอาวุโสทุกคยบอกตรงกันหมดว่าโครงการ คปก. (โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก) เป็นกลไกให้ได้นิสิตปริญญาเอกที่สมองดีมาร่วมทีม     แต่เวลานี้ คปก. ขยายไม่ได้ เพราะขาดงบประมาณ  ทั้งๆ ที่ ครม. สมัยนายกบรรหาร เคยอนุมัติงบประมาณไว้    แต่รัฐบาลคุณทักษิณและผู้บริหารระดับสูงของประเทศอีกหลายคนก็ “เล่นการเมือง” ไม่ให้งบประมาณ    เพราะคนเหล่านี้เป็นโรค NIH    ผมมองว่านี่คือตัวอย่างของจุดอ่อนในสังคมของเรา ที่ไม่ทำงานเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองอย่างแท้จริง


              
วิจารณ์ พานิช
๓๐ มีค. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21855เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2006 08:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท