กบข.กับ Balance Scorecard


     กบข.นำระบบ Balanced Scorecard(BSC) มาใช้ในการดำเนินการต่อเนื่องมานับตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จอย่างน่าพึงพอใจในการที่สามารถนำแผนงานที่กลั่นกรองแล้วนั้นไปปฎิบัติให้เกิดผลได้อย่างสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถดำเนินการระบบดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรม และวัดได้ จึงได้กำหนดตัวชี้วัดผลสำเร็จของการปฎิบัติงาน (Key Performance Indicator - KPI) เพื่อให้ทุกฝ่ายงานมีความเชื่อมโยงกันและต้องร่วมมือกันทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ รวมทั้งทำให้มีการประเมินผลงานที่เป็นธรรมอีกด้วย

     การที่ กบข.สร้างระบบการทำงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรได้นั้น ได้จัดทำแผนงบประมาณและตัวชี้วัดทั้งแบบ Top-down และ Bottom-up โดย

Top-down คือ ฝ่ายบริหารจะเป็นผู้กำหนดกลยุทธ์มอบให้เป็นนโยบายขององค์กรที่ชัดเจน

Bottom-up คือ พนักงานแต่ละคนในทุกฝ่ายงานจะจัดทำแผนงบประมาณและตัวชี้วัดในระดับบุคคลให้ตอบสนองต่อนโยบายและกลยุทธ์ที่กำหนดไว้

     หลังจากที่กบข. นำระบบ BSC มาใช้เป็นเครื่องมือบริหารองค์กรควบคู่กับการกำหนดตัวชี้วัดผลของการปฎิบัติงาน(KPI) นั้น กบข.ได้พัฒนาระบบและกระบวนการทำงานต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ผลที่ได้รับและสำคัญที่สุด คือ ทำให้ กบข.มีการทำงานเป็นระบบและมีขั้นตอนปฎิบัติที่ชัดเจน นอกจากนี้ ยังนำไปสู่สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การให้ความสำคัญกับ "การสื่อสารภายใน" ซึ่งทำให้เรื่อง BSC เข้าถึงและสร้างความเข้าใจกับบุคลากรทุกคนได้อย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง ทำให้บุคลากรทุกคนเข้าใจเป้าหมายขององค์กรและหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี ส่งผลให้แต่ละคนปฎิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มศักยภาพที่มีอยู่ พร้อมที่จะเรียนรู้เพิ่มเติม และปรับปรุงกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ เพื่อรับสิ่งใหม่ที่ดีกว่าเดิมอยู่ตลอดเวลา

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2182เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2005 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท