การปลูกพืชแซมในไร่มันสำปะหลัง


เกษตรกรปลูกพืชแซมในไร่มันสำปะหลัง

การปลูกพืชแซมในไร่มันสำปะหลังและการปลูกมันสำปะหลังแซมในแปลงปลูกยางพารา

 

จากการสังเกตการปลูกพืชแซมในไร่มันสำปะหลัง ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร เราพบว่ามีเกษตรกรส่วนหนึ่ง ที่ประกอบอาชีพการปลูกมันสำปะหลัง โดยในสภาพพื้นที่ไร่ จะมีเกษตรกรปลูกพืชแซมในไร่มันสำปะหลัง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะอยู่ที่การตัดสินใจหรือวัตถุประสงค์ของเกษตรกรว่าจะปลูกพืชแซมนั้นเพื่ออะไร หากจะปลูกเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน จำเป็นต้องใช้พืชตระกูลถั่วเป็นพืชร่วมในระบบและซากของพืชตระกูลถั่วจะต้องมีการไถกลบลงไปในดิน  หรือทิ้งซากพืชไว้คลุมดินในพื้นที่ปลูก

 

     แปลงปลูกมันสำปะหลังที่เคยใช้ปอเทืองปลูกเป็นพืชแซมที่อ.ขาณุวรลักษบุรี

        บางรายก็ปลูกพืชแซมเพื่อเพิ่มรายได้จากการปลูกพืชแซม ได้แก่ข้าวโพดหวานหรือข้าวโพดข้าวเหนียว   จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาว่าการปลูกพืชแซมเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน หรือเพื่อศึกษาว่าพืชแซมชนิดใดที่ไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่ลดลง หรือพืชแซมที่จะเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรเพิ่มขึ้น หรือจะพูดง่ายๆก็คือการใช้ประโยชน์ที่ดินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

 

แปลงปลูกยางพาราแต่ใช้มันสำปะหลังเป็นพืชแซมก่อนที่ต้นยางจะโตที่อ.คลองลาน

               จากการที่ผมได้สังเกตในขณะที่ออกไปปฏิบัติงานในพื้นที่ในอำเภอต่างๆที่มีการปลูกมันสำปะหลัง จึงเป็นโจทย์ที่จะต้องตั้งคำถามอยู่ตลอดเวลา ว่า สิ่งที่เราพบมันไม่ใช่พืชแซมในไร่มันสำปะหลังแล้วละครับ  มันเป็นการปลูกมันสำปะหลังเพื่อเป็นพืชแซมในแปลงปลูกยางพารา มีจำนวนมากเสียด้วย โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอคลองลาน โจทย์ที่ว่านั้นก็คือ การปลูกมันสำปะหลังในสวนยางพารา ผลผลิตของมันสำปะหลังต่อไร่จะได้เท่าไร และผลกระทบจากการปลูกมันสำปะหลังเช่นเชื้อโรคบางชนิดที่เกิดจากมันสำปะหลังจะไปสู่ต้นยางพาราได้หรือไม่ หรือเชื้อโรคบางชนิดที่เกิดจากต้นยางพาราจะส่งผลกระทบถึงมันสำปะหลังหรือไม่ นี่คือโจทย์ที่ผมต้องการคำตอบ

  

การปลูกมันสำปะหลังแซมในแปลงปลูกยางพาราที่อ.คลองลาน

            จึงมีความจำเป็น ที่นักส่งเสริมการเกษตรในระดับปฏิบัติการ ที่ใกล้ชิดกับเกษตรกร จะต้องทำการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการไปด้วย มีการลงปฏิบัติการร่วมกับกลุ่มเกษตรกร มีการถอดบทเรียนและสรุปบทเรียน ไว้เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้นักส่งเสริมการเกษตรในปัจจุบัน ได้มีการยกระดับ จากการส่งเสริมในระดับปกติ โดยพัฒนาเป็นนักวิชัยเชิงปฏิบัติการ มีเหตุมีผลที่จะต้องชี้แจงต่อระดับนโยบาย อย่างน้อยก็เป็นการสะท้อนมุมมอง  หรือลองปรับเปลี่ยนมุมมองในตัวเอง ทั้งนี้ทั้งนั้นยังจะช่วยให้นักส่งเสริมการเกษตรที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่นานๆ จะได้มีพลังในการทำงานอย่างสร้างสรรค์เพื่อพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ต่อไป หรือเป็นการพัฒนาระบบข้อมูลจากข้อมูลเชิงตัวเลข ข้อมูลเชิงตาราง มาเป็นข้อมูลเชิงวิเคราะห์พื้นที่ และเกษตรกร  บริบท  และเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิต เป็นต้นนะครับ.......

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 217973เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2008 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

แวะมาอ่านค่ะ

มีความสุขในการทำงาน นะคะ

สุขภาพแข็งแรง

 

  • เป็นสิ่งที่น่าคิดครับ
  • แล้วนักวิชาการของเรา จะเข้าใจสื่งเหล่านี้หรือเปล่า
  • พัฒนาวิจัย เชิงประจักษ์ สรุปบทเรียน
  • ขอบคุณ คุณสายธาร
  • ที่แวะมาทักทายกัน
  • ยินดีครับ
  • ขอบคุณ คุณพี่ไมตรี
  • เห็นด้วยครับ กับการนำR&D  มาพัฒนางานส่งเสริมในระดับพื้นที่
  • แต่ก็ยังเป็นคำถามอยู่เหมือนกัน ว่านวส.เราได้เรียนรู้ในสิ่งเหล่านี้หรือเปล่า
  • จะทำอย่างไรได้ ที่เราจะต้องลปรร.กันต่อไปครับ เท่าที่โอกาสจะอำนวยครับพี่ไมตรี
  • ขอให้พัฒนาและวิจัยได้สำเร็จนะครับ
  • เกษตรกรจะได้มีรายได้เพิ่ม
  • เป็นกำลังใจให้ครับ
  • ขอบคุณคุณสาสุขพอเพียง
  • ที่แวะมาทักทายกันและลปรร.กัน
  • ยินดีครับ

อยากทราบว่าจะปลูกอะไรแซมในแปลงข้าวโพดหวานดีครับ??? ขอคำแนะนำหน่อย....เกษตรกรมือใหม่ครับ...

  • ขอบคุณคุณอัศวิน
  • ทีแวะมาทักทายและแลกเปลี่ยน
  • ความจริงแล้วข้าวโพดหวานอายุการเก็บเกี่ยวจะอยู่ประมาณ๖o-๗o วัน
  • ข้าวโพดหวานเป็นพืชอายุสั้นอยู่แล้ว หากเราปลูกในระยะที่เหมาะสมก็ไม่ควรปลูกพืชแซม
  • จะเห็นมีเกษตรกรบางรายปลูกข้าวโพดหวานแซมในพืชหลักเช่นปลูกแซมในไร่มันสำปะหลัง และแซมในแปลงปลูกไม้ผล ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท