ไปลากพระหรือดูเรือพระ


ลากพระหรือดูเรือพระ

         ข้าพเจ้าเขียนครั้งแรกบ่นเองแล้วหลังจากให้ความเห็นไปตามบล็อกต่าง ๆ ความคิดเห็นของข้าพเจ้านี้ อาจเป็นความคิดที่เห็นว่าอนุรักษ์นิยมสักหน่อย คือคนโบราณท่านวางไว้ดีแล้วเราอย่าหลงลืมของเก่าไป    คราวนี้เข้าหัวข้อคือเรื่งลากพระเป็นควันหลงนะเพราะวันลากพระผ่านไปแล้วแต่ก็ยังเห็นเรือพระอยู่บ้าง การลากพระในโบราณนั้นเรือพระเขาไม่ใส่ล้อไม่มีล้อ เรียกว่าแม่เรือ มีหัวพญานาค มียอดพนม พร้อมด้วยราชวัตรฉัตรธง ประดับเป็นพุทธบูชา มีกลองและฆ้องประโคมให้สัญญาณ การที่เรือพระไม่มีล้อและหนักมากเชือกลากพระจึงยาวมาก คนลากจึงมีจำนวนมากต้องการคนลากมาก ปัจจุบันเรือพระแบบนี้ที่เห็นปีนี้คือที่วัดธรรมโฆษณ์ วัดไทรทอง(บ้านพร้าว) การลากพระโบราณถือว่าได้บุญหายเจ็บไข้ ทุกคนจึงอยากลากพระมากไม่ว่าเด็กเล็กวัยรุ่น หรือผู้ใหญ่จึงชอบการลากพระมาก
      ปัจจุบันเรือพระมีการพัฒนาขึ้นเพราะมีถนนลาดยางการลากแบบไม่มีล้อทำให้ถนนเสียได้จึงทำล้อขึ้น เรือพระจึงมีล้อเป็นรถเรือพระการลากจึงสะดวกขึ้น ลากง่ายขึ้น พอสักพักก็มีการพัฒนาเป็นนำยอดพนมพระใส่รถแล้วใช้คนลาก แล้วพัฒนามาเป็นขับไปเรี่ยไรเงินตามหมู่บ้านต่าง ๆ ซึ่งไปได้ไกลขึ้น
  เมื่อการลากพระเป็นที่นิยมชมชอบกันมากแน่นอนการจัดงานจึงเกิดขึ้นมีการประกวดประชันความสวยงามขึ้นสมันแรกก็มีการลากมาดูความสวยงามแล้วจึงมีการประกวดขบวนแห่บ้าง ผู้คนจึงมารวมกันที่จัดงานใหญ่ ๆ ในสงขลาก็ที่แหลม วันลากพระนั้นรถในเมืองสงขลาเต็มไปหมดเห็นได้ว่าคนมาจากที่อื่นมาก ถามว่ามาทำไม มาดูเรือพระ ข้าพเจ้าก็มาดูด้วนะแต่ไม่มีสิทธิ์ลากเรือพระสวย ๆ จะลากพระเอาบุญก็ไม่ได้ เรือพระเมื่อก่อนต้องการคนลากมาก ๆ แต่ปัจจุบันคนลากต้องแต่ตัวเหมือนกันหมดถ้าแต่งตัวไม่สวยหรือให้ใครก็ได้ลาก จะเสียคะแนน คนที่ลากเรือพระสวย ๆ ที่ติดรางวัลก็คือคนที่เป็นประธานเท่านั้น คนที่มางานลากพระจึงมาดูเรือพระเท่านั้น งานลากพระจึงเป็นงานดูเรือพระเท่านั้น คนที่มางานไม่ได้ลากพระมาดูเรือพระเท่านั้น เรื่องนี้น่าคิดนะครับเป็นจุดเล็ก ๆ ที่โตขึ้นซึ่งทำให้วัฒนธรรมโบราณ ในเรื่องการลากพระสูญเสียไปทีละน้อย การลากพระจึงเป็นการดูเรือพระแทน ความสำคัยในการ "ลากพระ" จึงหมดไปทีละน้อย แล้วจะเปลี่ยนไปเป็นการ "ดูเรือพระ" แทน

หมายเลขบันทึก: 217970เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2008 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 09:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • จาก ลากพระ มาเป็น ดูเรือพระ

ประเด็นนี้ น่าสนใจ... และมีหลายประเด็นที่ทำให้เปลี่ยนแปลงมาเป็นอย่างนี้ เช่น เรือพระสวยงาม บางลำราคาเป็นแสนหรือกว่าแสนก็มี ถ้าลากชักคะเย่อ เอาหนุกหนานตามสมัยก่อน อาจทำให้เรือพระเสียหายได้...

การจัดระเบียบคนลาก โดยแต่งตัวสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย และมีขบวนนำหน้า ก็อาจเป็นการบ่งชี้คำว่า วัฒนธรรม ได้ เพราะหมายถึงความงอกงามหรือเจริญ... แต่ถ้าเน้นระเบียบก็จะทำลายเสรีภาพ หากเน้นเสรีภาพก็อาจทำลายระเบียบ ซึ่งสองประการนี้มักจะขัดแย้งกัน...

หลวงพี่ก็ไปเกือบทุกปี (ปีนี้ก็ไป) ก็เดินดูเรือพระ แล้วก็ฉันข้าว หลังจากนั้นก็มาเดินดูอีกรอบแล้วก็กลับ...

เจริญพร

นมัสการ ท่านอาจารย์

ปีนี้กระผมก็ไปตั้งแต่เช้า พิธีตักบาตรเทโว (ค่อยเขียนเรื่องตักบาตรเทโวนะครับ) แล้วมาลากพระที่ทุ่งหวัง ลากจริง ๆ นะครับได้ 2 วัด คือ วัดทุ่งหวังในและวัดเขาราม แล้วมาดูเรือพระที่สระบัว แล้วเดินทางไป สิงหนคร บ้านภรรยา พอดีคุณพ่อตารับอาสาเจ้าอาวาสวัดม่วงงาม มาสมโภชที่ศาลาบ้านดอนแค ก็ได้ลากพระอีก 1 วัด รวม 3วัด ระหว่างทางก็ได้เห็นเรือพระแบบโบราณของวัดธรรมโฆษณ์ วัดบ้านพร้าว ก็ทราบว่าที่นันชาวบ้านนิยมปิดทองหัวเรือพระจนหัวพญานาคเป็นสีทอง สรุปว่า ปีนี้ได้ชมเรือพระหลายวัด ลากพระ 3 วัด 2 อำเภอ ครับ และเมื่อวาน เจอเรือพระวัดยางทอง จอดอยู่หน้าโรงพยาบาล มอ.หาดใหญ่ ครับ

กราบนมัสการด้วยความเคารพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท