ฉบับที่ ๙ การล่มสลายของอาร์เจนตินา


ร้องไห้ให้ผมเถอะ

ฉบับที่ ๙

ร้องไห้ ให้กับผมเถอะ  กานต์วลี 

                        ย่ำรุ่งที่เพิ่งผ่านมา  ผมได้ฟังเพลง Don't Cry for Me Argentina  ของ Sinead O'Connor กานต์ลองอ่านบางตอนของเนื้อเพลงสิกานต์

It won't be easy                        มันไม่ใช่เรื่องง่าย
you'll think it strange                           คุณจะคิดว่ามันประหลาด
When I try to explain how I feel        เมื่อฉันพยายามที่จะพร่ำบอกถึง

                                                ความรู้สึก
That I still need your love                    ว่า..ฉันยังคงต้องการความรักจากคุณ
         Don't cry for me Argentina         อย่าร้องไห้เพื่อฉัน อาร์เจนตินา
The truth is I never left you                 ความจริงก็คือฉันไม่เคยหนีจากคุณ
All through my wild days                    แม้ในช่วงเวลาอันเลวร้ายของฉัน
My mad existence                               ความไร้เหตุผลของฉันยังดำรงคงอยู่
I kept my promise                                ฉันยังรักษาคำมั่นสัญญาของฉัน
Don't keep your distance                      อย่าไกลจากฉัน
     Have I said too much?                    ฉันพร่ำพูดมากเกินไปหรือเปล่า
There's nothing more                           ไม่มีเรื่องอะไรมากมายหรอก
I can think of to say to you                  ฉันสามารถใคร่ครวญที่จะพูดกับคุณ
But all you have to do is                       แต่สิ่งทั้งปวงที่คุณต้องทำ ก็คือ
           look at me                                   เพ่งมองมาที่ฉัน
To know that every word is true           เพื่อที่จะทราบว่า ทุกทุกคำพูดของฉัน

                                                      คือความจริง

ผมจึงฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า  เพื่อความเข้าใจที่ดีในวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ปี ๒๕๔๐ ผมน่าจะนำบทเรียนที่ผ่านมาของประเทศอาร์เจนตินา มาเล่าให้กานต์ฟังก่อนดีกว่า

กานต์ครับ มีคนถาม ชาร์ล  เอ.เพียร์ต  นักประวัติศาสตร์ว่า  เขาได้เรียนบทเรียนอะไรบ้างจากประวัติศาสตร์ที่เขารู้  คำตอบของเขาก็คือ   ๑. เมื่อถึงเวลาที่มืดที่สุด  ดาวทั้งหลายก็จะปรากฏออกมา        ๒. เมื่อผึ้งขโมยน้ำผึ้งจากดอกไม้ มันก็ช่วยแพร่พันธุ์ด้วย ฯลฯ

            กานต์วลี  บางครั้งบทเรียนที่ดีที่สุด  อาจจะได้จากคนที่เลวที่สุด..

            ผมจะนำประวัติเศรษฐกิจของอาร์เจนตินามาเทียบเคียง เพื่ออธิบายให้คุณเข้าใจถึงการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ปี ๒๕๔๐ และอาจจะเกิดขึ้นอีกในภายภาคหน้า

            อดีต อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมาก ซึ่งก็เหมือนกับประเทศไทยก่อนเกิดวิกฤตการณ์  เคยได้รับฉายาเป็น ประเทศยุโรปในลาตินอเมริกา  ก็เพราะโครงสร้างทางสังคมคล้ายคลึงกับประเทศพัฒนาแล้ว ในประชากรทั้งหมด ราว ๓๔ ล้านคน มีถึง ๘๗% ที่อาศัยอยู่ในเมือง และถือได้ว่ามีช่องว่างระหว่างชนชั้นอยู่ในระดับต่ำสุดในลาตินอเมริกา แต่ความเป็นจริง ปัญหาของการมีหนี้สะสมจนถึงขั้นวิกฤต ได้ส่งผลกระทบหลายอย่างต่อประเทศ ทำให้อัตราการเจริญเติบโตของประเทศตกต่ำลงอย่างมาก  กิจการสาธารณูปโภคต่าง ๆ อยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ลง  ภาวการณ์บริหารกิจการต่าง ๆ ล้มเหลว  รัฐบาลจึงจำเป็นต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ  เพื่อให้ได้เงินมาแก้ปัญหาขาดดุลงบประมาณและลดหนี้สินต่างประเทศ  หลังจากการแปรรูป กิจการสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้กำไรอย่างมหาศาล  แต่กิจการเหล่านี้เป็นของกลุ่มทุนต่างชาติ และรัฐบาลต้องแบกรับหนี้ระยะยาวของกิจการเหล่านี้ที่โอนมาให้รัฐบาลก่อนขาย  ทั้งหมดก็เท่ากับว่ารัฐได้ยกกิจการของรัฐซึ่งประชาชนทั้งประเทศเป็นเจ้าของ ไปให้กลุ่มทุนต่างชาติและกลุ่มทุนใหญ่ โดยที่นักการเมือง ญาติพี่น้อง ผู้บริหารระดับสูง ได้โอนเงินไปฝากในต่างประเทศเป็นจำนวนมาก แล้วปล่อยให้ประชาชนรับกรรมจากการบริการที่แย่ลง แต่มีราคาแพงขึ้นส่งผลให้ในปี ๒๕๔๒ เป็นหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นถึง ๒ เท่า จากปี ๒๕๓๒

 

            การดำเนินนโยบายผิดพลาด ของประธานาธิบดี เช่น การยกเลิกควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุน โดยให้เงินร้อนไหลเข้าออกอย่างเสรี  ยกเว้นเก็บภาษีรายได้ของบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุน เพื่อจูงใจให้นำเงินเข้ามาลงทุน ลดภาษีอากรสินค้าเข้า  ซึ่งส่งผลทำลายอุตสาหกรรมภายในประเทศ ทำให้คนตกงาน  ทำให้เงินตราไหลออกนอกประเทศ เงินสำรองคงคลังลดลง  ทำให้ดุลการชำระเงินติดลบ ปล่อยให้มีการจ้างงาน จ้างชั่วคราวและปล่อยให้มีการกดค่าแรงอย่างเสรี เพื่อเอาใจบริษัทข้ามชาติ

                        การตัดงบประมาณ

คนรอถอนเงินจากธนาคาร

สวัสดิการ               

 ยกเลิกระบบบำเหน็จบำนาญ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การตัดลดงบประมาณ  การลดจำนวนข้าราชการและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ  นโยบายดังกล่าวเหล่านี้  ได้นำความย่อยยับมาสู่ประชาชนและประเทศอย่างไม่อาจประมาณค่าเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองที่ตามมา

 

            กานต์วลี  นโยบายการเงินที่ผิดพลาดของอาร์เจนตินา ทำให้นักลงทุนทั้งหลายขนเงินออกจากอาร์เจนตินาไปลงทุนที่บราซิลแทน การกู้หนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ในและนอกประเทศอย่างไม่ลืมหูลืมตา ทำให้อัตราดอกเบี้ยของประเทศสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนหลายบริษัทต้องปิดกิจการลง , และผลโดยตรงจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้พนักงานจำนวนมากตกงาน ประชากรกว่า ๒๕% ต้องตกงาน และงานที่หาได้ส่วนใหญ่เป็นงานในภาคบริการที่ไม่มีสหภาพคุ้มครอง ขาดรายได้และลดการบริโภคลง ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมทรุดหนัก..

 

  

ประชาชนก่อการจลาจล ในภาวะเศรษฐกิจล่มสลาย

 

 

 

 

ภาพการจลาจล ในอาร์เจนตินาจากความผิดพลาดทางเศรษฐกิจ

 

 

 

            สภาพการปล้นสะดม ข้าวของต่างๆ ที่เกิดมาจากความล้มเหลวทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น นี่คือการล่มสลายของระบบเศรษฐกิจ

 

            กานต์วลีที่รัก  สิ่งที่ผมเล่าให้กานต์ฟังทั้งหมดมันเกือบเหมือนกับภาวะเศรษฐกิจประเทศไทย ก่อนปี ๒๕๔๐

            ผมยังคิดถึงคุณ ตลอดเวลา แม้ว่ามีบางสิ่ง บางอย่างและบางครั้ง ผมได้กระทำต่อกานต์ผิดพลาดไป ผมก็พร้อมที่จะยอมรับในสิ่งที่ผมได้ทำลงไป  หวังว่ากานต์คงจะมีเวลาที่คิดถึงผมบ้าง

            Don’t  cry  for  me.  กานต์วลี

                       

                                                  ด้วยรัก

                                                                                                                                     อภิษฐา

คำสำคัญ (Tags): #อาร์เจนตินา
หมายเลขบันทึก: 217487เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2008 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับ

  • ผมว่าไทยเรา  ก็ร่ำๆจะเป็น"อาร์เจนไตน์ออฟเอเชีย" เหมือนกันนะ  ต่างรูปต่างแบบกันก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
  • นี่ขนาดมีพ่อหลวงทรงเป็นแบบอย่างและเตือนสติเราอยู่ตลอดมานะ  เรายังง่อนแง่นได้ถึงเพียงนี้  ถ้าไม่มีเราจะเป็นเช่นไร  ไม่อยากนึกภาพเลยจริงๆ
  • สวัสดีครับ

มีหลายสิ่งในอดีตที่เป็นบทเรียน

แต่คนไทยกี่คนที่จดจำ

เรายังคงฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย

แม้จะมีหลักปรัชญาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

รู้และเข้าใจ

แต่กี่คนที่เพียรปฏิบัติ

สวัสดีค่ะ

  • เมื่อ ปี 49 ครูอ้อย เรียนเรื่องนี้ อาร์เจนตินากับการล่มสลาย  เรียนเพื่อให้รู้ ถึงเศรษฐกิจ  และอาจารย์ผู้สอนให้พวกเรา..คิด
  • พวกเรา เรียนหลายสาขา  ต่างคิดให้เข้าระบบกับการศึกษาของสาขาของตัวเอง
  • หลายๆคน เขียน พูดได้ดีค่ะ  น่าจะได้อ่านบันทึกนี้ก่อน เรียนนะคะ  อิอิ จะได้ลอก..

ขอบคุณค่ะ....ใกล้เข้าไปอีกนิด  ชิดชิด เข้าไปอีกหน่อย...

สวัสดีค่ะ

  • เมื่อ ปี 49 ครูอ้อย เรียนเรื่องนี้ อาร์เจนตินากับการล่มสลาย  เรียนเพื่อให้รู้ ถึงเศรษฐกิจ  และอาจารย์ผู้สอนให้พวกเรา..คิด
  • พวกเรา เรียนหลายสาขา  ต่างคิดให้เข้าระบบกับการศึกษาของสาขาของตัวเอง
  • หลายๆคน เขียน พูดได้ดีค่ะ  น่าจะได้อ่านบันทึกนี้ก่อน เรียนนะคะ  อิอิ จะได้ลอก..

ขอบคุณค่ะ....ใกล้เข้าไปอีกนิด  ชิดชิด เข้าไปอีกหน่อย...

เรียนคุณครูอ้อยครับ

ผมสอนเรื่องนี้ในวิชาเศรษฐสาสตร์พอเพียงครับ

นักเรียนจะต้องอ่านจดหมายนี้กอ่นเรียนครับ

ได้ผลครับนักเรียนมีความสุข มีส่วนร่วมในการรับรู้

จดหมายฉบับที่ ๘ นี้ ปูพื้นเพื่อนำไปสู่เหตุการวิกฤติของไทยในฉบับที่ ๙ ครับ

ยินดีและเป็นสุขครับที่คุณครูอ้อยชอบ

กานท์กวีจ๋า

ขณะนี้ประเทศไทยก็ใกล้เป็นอาร์เจนติน่าแล้ว

เรียนครูภา

ประเทศไทยคงจะไม่ล่มสลายดอกครับ

ประเทศไทยมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ประเทศอื่นไม่มี

เพราะฉะนั้นการกระทำบางอย่าง

ของประชาชนคนไทย

ชาวต่างชาติจึงต้องมองด้วยความฉงน

คนไทย ยังคงคุ้นชินกับคำว่า "ไม่เป็นไร"

ครับ ประเทศชาติยังคง "ไม่เป็นไร"

ก้วยความรักครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท