เตรียมการสอนความหมายของชนิดของคำ


ความหมายของชนิดของคำ สำหรับนักเรียนสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ ๒

ความหมายของชนิดของคำ

๑.ความหมายของคำนาม

             คำนามหมายถึง  คำที่ใช้เรียกชื่อ  คน  สัตว์  พืช  สิ่งของ  สถานที่  สภาพ  อาการ  ลักษณะ  ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิต  หรือสิ่งไม่มีชีวิต  ทั้งที่เป็นรูปธรรม  และนามธรรม  เช่นคำว่า  คน   ปลา  ตะกร้า   ไก่  ประเทศไทย  จังหวัดพิจิตร  การออกกำลังกาย  การศึกษา  ความดี  ความงาม  กอไผ่  กรรมกร  ฝูง  ตัว  เป็นต้น  

๒.ความหมายของคำสรรพนาม

                                   *******************

            คำสรรพนาม  หมายถึง  คำที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึงมาแล้ว  เพื่อจะได้ไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำอีก  เช่นคำว่า  ฉัน  เรา  ดิฉัน  กระผม  กู  คุณ   ท่าน  ใต้เท้า  เขา  มัน   สิ่งใด  ผู้ใด  นี่  นั่น  อะไร  ใคร  บ้าง  เป็นต้น

๓.ความหมายของคำกริยา

             คำกริยา  หมายถึง  คำแสดงอาการ  การกระทำ  หรือบอกสภาพของคำนามหรือคำสรรพนาม  เพื่อให้ได้ความ  เช่นคำว่า  กิน  เดิน  นั่ง   นอน  เล่น  จับ  เขียน  อ่าน  เป็น  คือ  ถูก  คล้าย  เป็นต้น

 ๔.ความหมายของคำวิเศษณ์

              คำวิเศษณ์  หมายถึง  คำที่ใช้ประกอบหรือขยายคำนาม  สรรพนาม  คำกริยา  หรือคำวิเศษณ์  เพื่อให้ได้ใจความชัดเจนและละเอียดมากขึ้น  เช่น
        -   คนอ้วนกิน
จุ
      
   ("อ้วน" เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำนาม "คน" "จุ" เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำกริยา "กิน"

        -   เขาร้องเพลงได้ไพเราะ
            ("ไพเราะ"  เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำกริยา "ร้องเพลง")

        -  เขาร้องเพลงได้ไพเราะมาก
           ("มาก"  เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำวิเศษณ์  "ไพเราะ")

๕.ความหมายของคำบุพบท
               คำบุพบท  หมายถึง  คำที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือประโยค  เพื่อให้ทราบว่าคำหรือกลุ่มคำที่ตามหลังคำบุพบทนั้นเกี่ยวข้องกับกลุ่มคำข้างหน้าในประโยคในลักษณะใด  เช่น  กับ  แก่  แต่  ต่อ  ด้วย  โดย  ตาม  ข้าง  ถึง  จาก  ใน  บน  ใต้  สิ้น  สำหรับ  นอก  เพื่อ  ของ  เกือบ  ตั้งแต่ แห่ง  ที่  เป็นต้น  เช่น
               เขามาแต่เช้า
               บ้านของคุณน่าอยู่จริง
               คุณครูให้รางวัลแก่ฉัน
               เขาให้รางวัลเฉพาะคนที่สอบได้ที่หนึ่ง

๖.ความหมายของคำสันธาน
                คำสันธาน  หมายถึง  คำที่ใช้เชื่อมประโยค  หรือข้อความกับข้อความ  เพื่อทำให้ประโยคนั้นรัดกุม  กระชับและสละสลวย  เช่นคำว่า  และ   แล้ว  จึง  แต่  หรือ  เพราะ  เหตุเพราะ  เป็นต้น  เช่น
                                    -  เขาอยากเรียนหนังสือเก่งๆ แต่เขาไม่ชอบอ่านหนังสือ
                                    -  เขามาโรงเรียนสายเพราะฝนตกหนัก

 ๗.ความหมายของคำอุทาน
             คำอุทาน  หมายถึง  คำที่แสดงอารมณ์ของผู้พูดในขณะที่ตกใจ  ดีใจ  เสียใจ  ประหลาดใจ หรืออาจจะเป็นคำที่ใช้เสริมคำพูด  เช่นคำว่า  อุ๊ย  เอ๊ะ  ว้าย  โธ่  อนิจจา  อ๋อ  เป็นต้น  เช่น
                      -  เฮ้อ!  ค่อยยังชั่วที่เขาปลอดภัย
                      -  เมื่อไรเธอจะตัดผมตัดเผ้าเสียทีจะได้ดูเรียบร้อย

หมายเลขบันทึก: 217067เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2008 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ อ.ณฐมน เข้ามาเยี่ยม ค่ะ

  • สวัสดีค่ะพี่
  • เมี้ยวมาเยี่ยม เพิ่งกลับจากโรงพยาบาลศิริราชค่ะ

ขอบคุณครูต๋อยและน้องเมี้ยวค่ะ

สวัดดีคับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลเล็กๆน้อยๆ

เหอๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ>W< >+ <

รายงานเรีองนี้ดีมากครับ ผมได้ใช้ในเรืองการเรียน

ได้ความรู้ดีมากทีเดียวค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท