“กัดไม่ปล่อย” เคล็ดลับสู่ ISO ของหน่วยจุลชีวะฯ และ คลังเลือด


ทั้งสองหน่วยงานเป็นหน่วยที่ทีมติดตามงานกลางชม ชมว่า มีความคืบหน้าไปมาก

ขอเล่าต่อจากบันทึกก่อน เกี่ยวกับวิธีการนำของ TM หน่วยต่างๆ ที่ขอรับรอง ISO15189 จากการพูดคุยกันเมื่อวันที่ 22 มีค. เป็นเรื่องเล่าจากหน่วยจุลชีวะฯ และหน่วยคลังเลือด  ทั้งสองหน่วยงานเป็นหน่วยที่ทีมติดตามงานชมว่า มีความคืบหน้าไปมาก และเอกสารค่อนข้างจะครบถ้วนแล้ว

หน่วยจุลชีวะฯ  
คุณณัฐณิชา อิงวิยะ หัวหน้างาน บอกว่า “ที่ห้อง ให้คนที่ดูแลเรื่องนี้ ออกจากงาน routine เพื่อไปทำ ISO ได้เต็มที่  แต่ส่วน WI ก็แจกจ่ายกันไปทำ ก็จะคอยเตือน และตามกันตลอด

หน่วยคลังเลือด
มีคุณวาสนา บัวทอง เป็นแม่งานใหญ่ เธอบอกว่า “หลังจากที่คลังเลือดเลือด test ที่ขอรับรอง ก็ประชุมกันในหน่วย ช่วยกัน list งานทั้งหมดที่จะต้องทำเกี่ยวกับ test นั้น  ต่อจากนั้น ก็เอาเอกสารเดิม (SOP) มาดู ว่าต้องเพิ่มเติมอะไรบ้าง แล้วก็แจกจ่ายให้คนที่เป็นคนเป็นผู้เขียน SOP ฉบับนั้นไปแก้ไข  พร้อมกับตกลงเวลาการส่งงาน เมื่อเขาส่งก็จะลงรับไว้ว่าส่งงานแล้ว หากยังไม่ส่ง ก็คอยทวงถาม

ขอชื่นชมกับ ความเอาใจใส่ และเกาะติด (ตามงานอย่างกัดไม่ปล่อย) ของผู้ประสานงานหลักทั้งสองท่าน รวมทั้งความร่วมไม้ร่วมมือของคนในหน่วย ค่ะ  

หมายเลขบันทึก: 21497เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2006 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  ขอบคุณค่ะที่หัวหน้าภาคกรุณาช่วยเขียนเคล็ดลับการสู่ ISO ของหน่วยจุลชีวะให้ค่ะ แต่ขอขยายความประโยคที่ว่า" ให้คนที่ดูแลเรื่องนี้  ออกจากงาน routine เพื่อไปทำ ISO ได้เต็มที่"หมายถึง ออกจากงาน routine เฉพาะงานช่วงบ่าย ค่ะ ช่วงเช้ายังทำงาน routine อยู่ค่ะ เนื่องจากทางหัวหน้าหน่วยได้มีนโยบายมาตั้งแต่ตอนที่เริ่มทำ HA แล้วค่ะ  จึงได้ทำต่อๆมาจนถึง ISO ปัจจุบันค่ะ
เห็นไหมละค๊ะว่า คนทำน่าจะเขียนเองดีที่สุด มีอะไรดีๆ ก็ช่วยๆ กันเล่าค่ะ คนทำเล่าเอง ข้อมูลน่าเชื่อถือกว่ากันเยอะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท