ปัจจุบัน อนาคต การเรียนการสอนใน มอ.


เพราะสัดส่วนของ นศ. ที่มี Learnability ต่ำ มีเกือบ ๕๐%    มอ. จึงจัดสัมมนาคณบดีในเรื่องนี้   มีข้อสรุปสิ่งที่จะดำเนินการ ๘ เรื่อง ได้แก่

1. กำหนดเป็นนโยบาย ให้การเรียนการสอนเป็น active learning

2. อบรม “วิธีจัดการเรียนการสอน” แก่อาจารย์ 

3. ถ่าย วิดีโอ ชั่วโมงสอน เอาไปแขวนไว้บน เว็บ 

4. จัดเวที ลปรร. วิธีการจัดการเรียนการสอนระหว่างอาจารย์

5. มีหน่วยงานทำหน้าที่พัฒนาการเรียนการสอน และวิจัยสถาบันด้านการเรียนรู้

6. สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในชั้นเรียน

7. share ทรัพยากรการเรียนการสอนระหว่างวิทยาเขต

8. ร่วมมือกันด้านการเรียนการสอนระหว่างวิทยาเขต

 

น่าชื่นชมที่ มอ. เอาใจใส่เรื่องนี้   และเอาข้อสรุปจากการสัมมนาผู้บริหาร มาเข้าสภาวิชาการ เมื่อวันที่ ๓ ต.ค. ๕๑  

รศ. ยืน ภู่วรวรรณ ให้คำแนะนำการเรียนแบบท้าทาย สนุกสนาน ไม่จำเจ   เน้นการจัดสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระตุ้นและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้   เปลี่ยนฐานคิดจาก teaching เป็น learning  

 

ผมเสนอว่า ต้องเปลี่ยนจากเรียนเพื่อรู้ fact   ไปสู่ เรียนเพื่อฝึกตีความความรู้   ด้วยกรณีศึกษา ที่เรียกว่า Case-Based Learning 

 

ผมให้ความเห็นว่า ในยุคใหม่ คุณค่าสำคัญที่สุดที่อาจารย์ให้แก่ นศ. คือการจุดประกายแรงบันดาลใจ   ดังนั้นอาจารย์ต้องพัฒนา Inspirational skill    และมหาวิทยาลัยต้องมีการจัดการ จัดบรรยากาศ จัดปฏิสัมพันธ์ ให้มี Inspirational process

  

ตัวอาจารย์ และตัวสถาบัน ต้องให้บริการ Learning facilitation แก่ นศ.   ดังนั้นอาจารย์ต้องมี Learning Facilitation Skill   และตัวมหาวิทยาลัยต้องมีการจัดการ Learning Facilitation Management    (ซึ่งเป็นอย่างไรผมก็ไม่ทราบ)   

 

นศ. เปลี่ยนมาก  สมองของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไปมาก   แต่ การจัดการเรียนการสอนยังคงเดิม เหมือนเมื่อ ๒๐ – ๓๐ ปีก่อน    นี่คือความท้าทายต่อมหาวิทยาลัยที่เอาใจใส่ปฏิรูปการเรียนรู้

 

วิจารณ์ พานิช

๕ ต.ค. ๕๑


หมายเลขบันทึก: 214880เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2008 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีใจจังค่ะ ที่ระดับมหาวิทยาลัยได้หยิบยกประเด็น Learnability ของ นศ.ต่ำ เป็นหัวข้อสัมมนา ฃึ่งถ้าจะวิเคราะห์ทั้งในเชิงลึกและกว้างแล้ว ความสามารถในการเรียนของเด็กไทยค่อนข้างต่ำ ทุกระดับก็ว่าได้ ด้วยนโยบาย หลักสูตร กระบวนการสอน และการวัดผลค่ะ

วันนี้ขออนุญาตยกตัวอย่างในเรื่องเล็กๆ ฃึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในหลายๆปัจจัยเช่นกัน ฃึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตนะคะ (และถ้าเป็นไปได้น่าจะทำวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนลดลง )กล่าวคือ ทักษะจำเป็นในการเรียนรู้ได้ลดลง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการฟัง การคิด การใช้คำถาม และการเขียนสื่อความ พูดง่ายๆ ก็คือเรื่อง สุ จิ ปุ ลิ หรือหัวใจนักปราชญ์นั่นเอง ดิฉันเป็นครูระดับชั้นมัธยม พบว่า นักเรียนที่สอน มากกว่า ร้อยละ30 เขียนหนังสือสื่อความค่อนข้างลำบาก อย่าว่าแต่ให้สวยงามเลยนะคะ เขียนตามตัวอย่างยังยากเลยค่ะ ทำให้เรียนไม่ทัน ลองคิดง่ายๆ ว่าเป็นเพราะยุคสมัยนี้ เด็กไม่ได้เรียนเขียนไทยหรือเปล่านะ จึงไม่มีวิธีฝึกและประเมินได้ว่าผู้เรียนมีความสามารถในการเขียนเพียงใด ฃึ่งในเรื่องนี้ ก็อาจจะต้องคิดถึงบริบทด้านอื่นๆด้วย เช่นกัน เช่น เนื้อหาวิชาตามหลักสูตรมากเกินเวลาที่คุณครูจะแบ่งไปฝึกนักเรียนหรือเปล่า จำนวนนักเรียนในชั้นเรียนมากเกินกว่าจะดูแลในรายละเอียดได้ทั่วถึงหรือไม่ นโยบายการประเมินผล ก็ไม่ให้มีเด็กตกซ้ำชั้น คุณครูก็ใช้วิธีสะดวกและลัด ด้วยการให้ผ่านเลย เพื่อไม่ให้เป็นภาระในการดูแลแก้ไขปัญหา ตัวเลขที่แสดงออกมา ก็โชว์ความสามารถของผู้สอนว่า สอนดี สอนเก่ง เด็กได้คะแนนดีๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพที่แท้จริงของผู้เรียน

ตัวอย่างวันนี้ เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ ตัวอย่างเดียว ทีดิฉันพอจะมีเวลาบันทึกและนึกได้ค่ะ โอกาสหน้าจะขออนุญาต ลปรร.ใหม่นะคะ ในประเด็นเรื่องนี้ต่อค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท