ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์


เรียนรู้สู่เทคโนโลยี

ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอาชีพนั้น ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้งหมดที่รวมกันเป็นระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) จะนึกถึงแค่เพียงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นไม่ได้ จะต้องคำนึงถึงอุปกรณ์รอบข้างด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ ในที่นี้หมายถึงองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ ได้แก่

2.1 ฮาร์ดแวร์ ( Hardware)

ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือหากจะกล่าวง่าย ๆ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้มือจับต้องได้ ศัพท์บัญญัติที่เป็นภาษาไทย คือ กระด้างภัณฑ์ แต่ไม่ได้รับความนิยมในการเรียกขานเท่าใดนัก ฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนที่มีความสำคัญ 6 หน่วย ได้แก่

(1) หน่วยรับข้อมูลและคำสั่ง ( Input Device)

หน่วยรับข้อมูลและคำสั่ง ( InputDevice) หมายถึง หน่วยที่ทำหน้าที่รับโปรแกรม คำสั่ง และข้อมูล เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปดำเนินการ อุปกรณ์ที่สำคัญได้แก่

          - แป้นพิมพ์ ( Keyboard) เป็นอุปกรณ์คล้ายแป้นพิมพ์ดีด สำหรับใช้พิมพ์คำสั่งและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง

 

ภาพที่ 2.1 แป้นพิมพ์ ( Keyboard

- เมาส์ ( Mouse ) เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กวางบนโต๊ะสำหรับใช้ขยับเลื่อนไปมาเพื่อให้ตัวชี้เมาส์ (Mouse Pointer) ซึ่งมักจะมีลักษณะเป็นหัวลูกศร เพื่อใช้ชี้ตำแหน่งบนจอภาพเลื่อนตามไปในทิศทางที่ต้องการ เป็นเสมือนตัวแทนที่เป็นมือของเราในการทำงานในโปรแกรมบนหน้าจอ

 

ภาพที่ 2. 2 เมาส์ ( Mouse )

 

          - สแกนเนอร์ ( Scanner ) เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านภาพ เพื่อบันทึกลวดลายและสีสันของภาพต้นฉบับ อุปกรณ์ชนิดนี้มีทั้งแบบที่อ่านได้ทั้งภาพสีและภาพขาวดำ นอกจากนั้นยังมีชนิดที่อ่านข้อความได้ด้วย

 

 

 

ภาพที่ 2. 3 สแกนเนอร์ ( Scanner )

 

(2) หน่วยความจำหลัก ( Main Memory )

          หน่วยความจำหลัก ( Main Memory ) หมายถึง หน่วยที่บรรจุคำสั่งและข้อมูลสำหรับให้คอมพิวเตอร์ทำงาน หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์มีสองแบบ ประกอบด้วย

  1. หน่วยความจำรอม ( Read Only Memory : ROM) เป็นหน่วยความจำชนิดอ่านอย่างเดียว คือ หน่วยความจำที่บันทึกคำสั่งและข้อมูลตายตัวมาจากโรงงานผู้ผลิต โดยสิ่งที่บันทึกไว้ในหน่วยความจำรอมนี้จะไม่มีวันลบหายไปแม้ไฟฟ้าจะดับ หรือปิดเครื่องก็ตาม

          2. หน่วยความจำแรม ( Random Access Memory : RAM ) หรือหน่วยความจำที่บันทึกและอ่านได้ตลอดเวลา และเป็นหน่วยความจำที่ใช้กันทั่วไปในการทำงาน หน่วยความจำแรมไม่อาจบันทึกคำสั่งและข้อมูลได้อย่างถาวร หากปิดสวิตซ์เครื่องหรือไฟฟ้าดับ สิ่งที่บันทึกไว้จะถูกลบหายไปหมด

    ตามปกติเราจะวัดขนาดของหน่วยความจำ โดยใช้หน่วยการวัดเป็น ไบต์ ( Byte ) ซึ่งมีความหมายโดยนัยเหมือนกับตัวอักษร เช่น หน่วยความจำขนาด 1,024 ไบต์ หมายถึง ความสามารถในการเก็บตัวอักษรได้ 1,024 ตัว เป็นต้น หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีความจุค่อนข้างมาก และนิยมใช้ชื่อหน่วยที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ดังนี้

          1 กิโลไบต์ ( Kilobyte หรือ KB) = 1,024 ไบต์

          1 เมกะไบต์ ( Megabyte หรือ MB) = 1,024 กิโลไบต์

          1 กิกะไบต์ ( Gigabyte หรือ GB) = 1,024 เมกะไบต์

(3)หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit : CPU )

          หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit : CPU ) หมายถึงหน่วยที่ใช้ในการควบคุมและประมวลผลข้อมูล บางครั้งก็เรียกว่าตัวประมวลผล ( Processor ) หรือถ้าเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์นิยมเรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ ( Microprocessor ) โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่

          1. หน่วยควบคุม ( Control Unit ) คือ หน่วยที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของฮาร์ดแวร์ ทั้งการควบคุมการอ่านคำสั่งและข้อมูลมาบันทึกในหน่วยความจำ ควบคุมการนำคำสั่งและข้อมูลจากหน่วยความจำมาดำเนินงาน ควบคุมการจัดทำผลลัพธ์

          2. หน่วยคำนวณและตรรกะ ( Arithmetic and Logical Unit ) คือ หน่วยที่ทำหน้าที่คำนวณและประมวลผลตามคำสั่งที่กำหนด โดยใช้วงจรคำนวณที่ซับซ้อน

 

ภาพที่ 2. 4 หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit : CPU )

 

(4) หน่วยแสดงผล ( Output Unit )

หน่วยแสดงผล ( Output Unit ) หมายถึง หน่วยที่ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณหรือการประมวลผลมาแสดงให้ผู้ใช้ทราบหรือนำไปใช้งาน หน่วยแสดงผลที่สำคัญ ได้แก่

          - จอภาพ ( Monitor) เป็นหน่วยแสดงผลทางกายภาพของโปรแกรม ที่ใช้กันมากที่สุดในเวลานี้ จอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปมีลักษณะเหมือนจอโทรทัศน์ มีทั้งชนิดที่แสดงภาพเป็นสีเดียว คือ สีเขียว สีอำพัน หรือสีขาว และชนิดที่แสดงภาพสีได้ ขณะที่จอภาพของคอมพิวเตอร์ชนิดมือถือ วางตัก หรือสมุดบันทึก จะมีลักษณะเป็นจอภาพแบนๆ เพราะใช้เทคโนโลยีผลึกเหลวจึงเรียกกันว่าจอภาพผลึกเหลว ( Liquid Cryptal Display : LCD ) จอภาพชนิดนี้มีทั้งชนิดเป็นภาพสีเดียวและชนิดแสดงภาพสีได้

 

 

                                                                       ภาพที่ 2.5 จอภาพของไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไป

 

 

                                                        ภาพที่ 2.6 จอภาพผลึกเหลว ( Liquid Cryptal Display : LCD )

 

          - เครื่องพิมพ์ ( Printer ) เป็นหน่วยแสดงผล ในรูปแบบผลลัพธ์ของข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์หลายแบบ และเหมาะสำหรับใช้เวลาต้องการเก็บผลลัพธ์ของงานเอาไว้อ้างอิง ซึ่งเรียกกันว่าเป็นผลลัพธ์ถาวร ( Hard Copy ) เครื่องพิมพ์ที่มีจำหน่ายอยู่เวลานี้มีหลายประเภท เช่น

              ก. เครื่องพิมพ์แบบบรรทัด ( Line Printer ) ตามปกตินิยมใช้ในงานที่ต้องการพิมพ์ผลลัพธ์จำนวนมากๆ สามารถพิมพ์ได้ทีละบรรทัด โดยมีความเร็วตั้งแต่ 300 บรรทัดต่อนาที ขึ้นไป

          . เครื่องพิมพ์แบบเข็ม ( Dot Matrix Printer ) ตามปกตินิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ การพิมพ์ใช้เข็มพิมพ์ จำนวน 9 เข็ม หรือ 24 เข็ม

 

 

                                                                       ภาพที่ 2.7 เครื่องพิมพ์แบบเข็ม ( Dot Matrix Printer )

           ค. เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ ( Laser Printer ) ตามปกตินิยมใช้ในงานพิมพ์ผลลัพธ์ ที่ต้องการคุณภาพสูง และมีความรวดเร็วในการพิมพ์ โดยการพิมพ์กระดาษขนาด A4 ประมาณ นาทีละ 8-10 แผ่น การทำงานใช้หลักการแบบเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสารชนิดไฟฟ้าสถิตย์ และอาจพิมพ์ภาพเป็นสีได้ด้วย

 

                                                                       ภาพที่ 2.8 เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ ( Laser Printer )

          ง. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก ( Ink Jet Printer ) เป็นเครื่องพิมพ์แบบที่ใช้การพ่นละอองหมึกไปปรากฏบนกระดาษ และสามารถพิมพ์ภาพสีได้ด้วย แต่การพิมพ์ผลลัพธ์อาจใช้เวลานาน โดยการพิมพ์กระดาษขนาด A4 ประมาณ 15-30 วินาที/แผ่น

                                                                    ภาพที่ 2. 9 เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก ( Ink Jet Printe

   จ. เครื่องพิมพ์แบบวาด ( Plotter ) เป็นอุปกรณ์สำหรับวาดแบบ แผนที่หรือภาพอื่นๆ นิยมใช้งานที่เกี่ยวกับวิศวกรรม สถาปัตยกรรม งานออกแบบ เครื่องพิมพ์แบบวาดที่ใช้อยู่เวลานี้ใช้เทคโนโลยีสองแบบ คือ

1. เครื่องพิมพ์แบบวาดโดยใช้ปากกาที่มีหลายด้ามและหลายสี ลากเส้นไปมาบนกระดาษ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย คือ

  • เครื่องพิมพ์แบบวาดในแนวระนาบ ( Flat-Base Plotter ) โดยมีลักษณะเป็นแผ่นระนาบ ตรึงกระดาษไว้กับที่แล้วมีกลไกจับปากกาให้ลากเส้นไปมาบนกระดาษนั้น
  • เครื่องพิมพ์แบบวาดชนิดทรงกระบอก ( Drum Plotter ) ซึ่งใช้วิธีนำกระดาษมาสอดไว้กับแท่งทรงกระบอก ซึ่งจะหมุนและดึงกระดาษกลับไปมา ขณะเดียวกันก็มีกลไกจับปากกาเลื่อนไปมาบนกระดาษด้วย

2. เครื่องพิมพ์แบบวาดโดยใช้หลักการไฟฟ้าสถิตย์สร้างภาพขึ้น เช่นเดียวกับหลักการของเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์

 

ภาพที่ 2.10 เครื่องพิมพ์แบบวาด ( Plotter )

 

          - ลำโพง ( Speaker ) นิยมใช้แสดงผลลัพธ์ที่เป็นเสียง ทั้งที่เป็นเสียงเพลง เสียงประกอบโปรแกรมต่าง ๆ เช่น เกมส์ ตลอดจนเป็นเสียงเตือนเมื่อเครื่องต้องการให้เราดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด หรือใช้ระบุเวลาเกิดความผิดพลาดขึ้น

ภาพที่ 2.11 ลำโพง ( Speaker )

 

(5) หน่วยความจำรอง ( Secondary Storage )

          หน่วยความจำรอง ( Secondary Storage ) หมายถึง หน่วยที่ใช้สำหรับเก็บบันทึก (Save) คำสั่งและข้อมูลเอาไว้อย่างถาวรเพื่อใช้งานในอนาคต หรือเพื่อนำส่งและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้อื่น โดยที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เก็บได้ตลอดเวลา หน่วยความจำรองที่สำคัญมี 4 ชนิด คือ

           ก. เครื่องขับเทปแม่เหล็ก ( Magnetic Tape Drive : MTD ) เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้อ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนเทปแม่เหล็ก ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้มี 2 แบบ คือ เทปแม่เหล็กแบบม้วน( Reel ) และเทปแม่เหล็กแบบตลับ ( Cassette )

 

ภาพที่ 2.12 เครื่องขับเทปแม่เหล็ก ( Magnetic Tape Drive : MTD )

 

          ข. เครื่องขับจานบันทึกแบบอ่อน ( Floppy Disk Drive :FDD ) เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านและบันทึกคำสั่งหรือข้อมูลลงบนแผ่นบันทึกแบบอ่อน (Floppy Diskette) ซึ่งมีอยู่หลายขนาด แต่ที่ใช้กันมากในเวลานี้ คือ ขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 1.44 เมกะไบต์

ภาพที่ 2.13 เครื่องขับจานบันทึกแบบอ่อน ( Floppy Disk Drive :FDD )

           ค. เครื่องขับจานบันทึกแบบแข็ง ( Hard Disk Drive : HDD ) เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านและบันทึกคำสั่งหรือข้อมูลลงบนจานบันทึกแบบแข็ง มีทั้งที่เป็นชนิดถอดได้ ( Removable Hard Disk ) และชนิดติดตั้งตายตัว ( Fixed Hard Disk ) และอาจมีความจุได้หลายขนาดตั้งแต่ 40 เมกะไบต์ขึ้นไปจนถึงเป็นกิกะไบต์ โดยการรัดความจุของจานแม่เหล็กนิยมวัดเป็นจำนวนลงตัว คือ 1 เมกะไบต์ เท่ากับ 1 ล้านไบต์ และ 1 กิกะไบต์ เท่ากับ 1 พันล้านไบต์

 

ภาพที่ 2.14 เครื่องขับจานบันทึกแบบแข็ง ( Hard Disk Drive : HDD )

 

          ง. เครื่องขับจานซีดีรอม ( CD-ROM Drive ) เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านจานซีดี (Compact Disk) ซึ่งหมายถึง แผ่นบันทึกข้อมูล ที่นิยมใช้ในการบันทึกภาพยนต์ ในรูปแบบ VCD และเสียงเพลง ในรูปแบบ CD-Audio เมื่อนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์จึงเรียกว่า CD-ROM ให้มีความหมายว่าเป็นจานบันทึกแบบคอมแพกต์ที่ได้บรรจุข้อมูลแบบอ่านอย่างเดียว (Read Only) จะใช้บันทึกเปลี่ยนแปลงข้อมูลลงไปไม่ได้ ปกตินิยมใช้บันทึกเอกสาร บทความ ข่าว ฯลฯ ที่ต้องการเก็บไว้อย่างถาวร เทคโนโลยีที่ใช้อ่าน คือ เทคโนโลยีเลเซอร์ ดังนั้น บางครั้งจึงมีผู้เรียกจานแบบนี้ว่าเลเซอร์

 

ภาพที่ 2.15 เครื่องขับจานซีดีรอม ( CD-ROM Drive )

          จ. หน่วยความจำรองอื่น ๆ คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บบันทึก (Save) คำสั่งและข้อมูลเอาไว้อย่างถาวรเพื่อใช้งานในอนาคต หรือเพื่อนำส่งและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้อื่น โดยที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เก็บได้ตลอดเวลา ซึ่งในปัจจุบันมีอุปกรณ์ในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นมากมาย เช่น

                    - อุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบ ซิปไดร์ฟ ( Zip Drive)

                    - อุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบ แฟลชไดร์ฟ ( Flash Drive)

                    - อุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบ คอมโบไดร์ฟ ( Combo Drive)

ภาพที่ 2.16 อุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบ ซิปไดร์ฟ ( Zip Drive)

 

 

ภาพที่ 2.17 อุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบ แฟลชไดร์ฟ ( Flash Drive)

2.2 ซอฟต์แวร์ ( Software)

 

             ซอฟต์แวร์ หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่ง (Command Package) ที่จัดทำขึ้นเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานหรือแก้ไขปัญหาตามที่เราต้องการ ถ้าปราศจากโปรแกรม คอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้เลย ศัพท์บัญญัติที่เป็นภาษาไทย คือ ละมุนภัณฑ์ แต่ไม่ได้รับความนิยมในการเรียกขานเท่าใดนัก ซอฟต์แวร์ที่ใช้กันอยู่เวลานี้อาจจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ

 

(1) ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software )

            ซอฟต์แวร์ระบบ หมายถึง โปรแกรมพื้นฐานที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานภายในของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การจัดการหน่วยความจำ การบันทึกแฟ้มข้อมูล (File) ลงในแหล่งเก็บข้อมูล ซอฟต์แวร์ระบบเปรียบเสมือนคนกลางที่ใช้ในการเชื่อมโยงระหว่างระหว่างผู้ใช้ (User) กับเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (Hardware)

ซอฟต์แวร์ระบบ ยังแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

        - ระบบปฏิบัติการ ( Operating System ) หมายถึง โปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ โดยเฉพาะส่วนที่ควบคุมและจัดการหน่วยความจำ จัดการนำงานของผู้ใช้มาดำเนินการ และจัดการการรับข้อมูลและแสดงผล ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไป เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows , Linux , MS-DOS

        - โปรแกรมอรรถประโยชน์ ( Utilities ) หมายถึง โปรแกรมที่ช่วยอำนวยความสะดวก ในการใช้งานแก่ผู้ใช้ เช่น โปรแกรมตรวจสอบและดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำรวจอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมจัดเรียงข้อมูลตามลำดับตัวอักษร โปรแกรมค้นหาแฟ้มข้อมูล โปรแกรมกู้คืนข้อมูลที่ถูกลบทิ้งโดยไม่ได้ตั้งใจ

        - โปรแกรมแปลภาษา ( Compiler ) หมายถึง โปรแกรมที่ใช้แปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูง เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาปาสกาล ภาษาซี หรือภาษาโคบอล มาเป็นโปรแกรมภาษาเครื่อง ( Machine language ) เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจในภาษาระดับสูงนั้นได้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจในภาษาเครื่องที่เขียนด้วยเลขไบนารี ( Binary ) ที่ประกอบด้วย 0 กับ 1 เท่านั้น

(2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )

           ซอฟต์แวร์ประยุกต์ หมายถึง โปรแกรมที่ใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอื่นๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่ไม่เกี่ยวกับตัวเครื่อง เช่น งานพิมพ์รายงานหรือข้อความ จะใช้โปรแกรมประเภทประมวลผลคำ การทำตารางบัญชี จะใช้โปรแกรมประเภทตารางทำการ งานนำเสนอ จะใช้โปรแกรมประเภทสร้างสื่อนำเสนอ เป็นต้น

           ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้อยู่ทั่วไปในเวลานี้ อาจแบ่งที่มาได้ดังนี้

                - ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ( Package Program ) คือ ซอฟต์แวร์ที่จัดทำสำเร็จรูป ในลักษณะพร้อมใช้งานได้ในทันทีที่ติดตั้งแล้ว

                - ซอฟต์แวร์ที่จัดทำขึ้นใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะด้านของหน่วยงาน โดยอาจเป็นบุคลากรของหน่วยงานเป็นผู้สร้างและพัฒนาขึ้นมาเอง หรืออาจจ้างผู้มีความรู้สร้างขึ้นก็ได้

2.3 ข้อมูล ( Data )

           ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สถานที่ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ซึ่งได้มีการบันทึกไว้ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะใช้ข้อมูลนั้นในงานอาชีพ เช่น ข้อมูลการสั่งสินค้าใช้สำหรับจัดส่งสินค้าตามสั่ง ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณคอนกรีตใช้ในงานก่อสร้าง ข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้าของงานเพื่อใช้ในการควบคุมให้งานเป็นไปตามแผน เป็นต้น

          การใช้งานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จำเป็นจะต้องเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้พร้อม จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ตามต้องการ เช่น การใช้โปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้างอาคาร จำเป็นต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับขนาดและชนิดของโครงสร้างอย่างละเอียด จึงจะสามารถใช้โปรแกรมคำนวณค่าแรงต่างๆ ในองค์อาคารอย่างถูกต้อง ถ้าหากข้อมูลผิดพลาด อาจทำให้ผลลัพธ์ผิดพลาดได้

          ข้อมูลที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ ได้แก่

              (1) ข้อมูลจำนวน ( Numeric Data ) คือ ข้อ

หมายเลขบันทึก: 214461เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2008 19:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

มีสื่อประกอบด้วยน่าสนใจ

น่ารักดีสุดยอดทำได้งั้ย

แวะมาเม้นให้บ้างนะ

อี

ผมชอบกันนี้มาก

1234567891234567895555555555555555555555555555555555555555555555555556+555

ก้อดีอร๊ แต่ข้อมูลมั้ยค่อยครบ....อร๊ คร๊

ขอบคุณมากนะคะที่ให้ความรู้ค่ะพี่เอมอร

เม้นกลับด้วยนะคะ บายคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท