พระบรมราชชนก


สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

 

ชาวพุทธตัวอย่าง

 

            สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

          สมเด็จ พระมหิตลาธิเศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๖๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี

          สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๔

 

ทรงบรรพชาสามเณร

          สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ทรงบรรพชาสามเณร เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ถึงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ขณะทรงผนวชเป็นสามเณรประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงสนพระทัยศึกษาและปฏิบัติธรรมเป็นอย่างดี

ทรงศึกษา ณ ยุโรปประเทศ

          ภาย หลังทรงลาผนวชแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จไปศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ทรงเข้าเรียนแฮโรว์ในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ เพื่อทรงศึกษาวิชาเบื้องต้น

          ต่อ มาทรงศึกษาต่อโรงเรียนเตรียมนายร้อยที่ประเทศเยอรมนี และทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกจนสำเร็จ และหลังจากนั้นได้ทรงศึกษาด้านทหารเรือ และทรงสำเร็จการศึกษาเป็นนายทหารเรือ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ และทรงรับราชการอยู่ในกองทัพเรือเยอรมนี

 

ทรงรับราชการกระทรวงทหารเรือ

          ใน สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ขึ้น สมเด็จ ฯ พระบรมราชชนก จึงเสด็จจากประเทศเยอรมนีกลับประเทศสยาม (ประเทศไทย) และทรงเข้ารับราชการในกระทรวงทหารเรืออยู่ระยะหนึ่ง

 

ทรงสนพระทัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข

          สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ทรงมีพระเมตตาต่อปวงประชาราษฎร์อย่างหาที่สุดมิได้ เมื่อเสด็จโรงพยาบาลศิริราช ทอดพระเนตรเห็นความขาดแคลนของโรงพยาบาลศิริราช ความทุกข์ยากของราษฎรเมื่อป่วยไข้ สถานที่ในโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล และเครื่องมือไม่เพียงพอ ทรงสลดพระทัยเมื่อเห็นภาพเหล่านั้น พระองค์จึงตัดสินพระทัยลาออกจากกองทัพเรือ เสด็จประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุขจนสำเร็จแพทย ศาสตร์บัณฑิตเกียรตินิยมเหรียญทอง และได้เสด็จนิวัตเมืองไทย

 

ทรงอภิเษกสมรส

 

          สมเด็จ ฯ พระบรมราชชนก ได้อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระศรีนครินราบรมราชชนนี (พระนามเดิม สังวาล ตะละภัฏ) ในวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๓ โดยรับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์ทรงมีพระธิดาและพระโอรสทั้งสิ้น ๓ พระองค์ คือ

            ๑. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

            ๒. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

            ๓. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

พระกรณียกิจด้านการแพทย์

          สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ทรงสนพระทัยในการปรับปรุงการศึกษาแพทย์ การศึกษาพยาบาล การปรับปรุงโรงพยาบาลศิริราช การสาธารณสุข และทรงพัฒนารากฐานระบบการแพทย์และสาธารณสุขของไทย

 

ด้านการทหาร

          ทรงพัฒนากองทัพเรือ เช่น เรือตอร์ปิโด เรือดำน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาด้านการศึกษาด้านการประมง และด้านอื่น ๆ อีกมาก

          สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ทรงเป็นชาวพุทธตัวอย่างที่ดี สมควรถือเป็นแบบอย่าง คือ ในขณะที่ทรงพระเยาว์ทรงมีพระราชจริยาวัตรที่งดงาม ทรงนำหลักธรรมมงคลชีวิต  ๓๘ ประการ มาปฏิบัติพระองค์ได้อย่างเหมาะสม เช่น ทรงเคารพเชื่อฟังพระบรมราชชนก (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) และพระบรมราชชนนี (สมเด็จพระศรีสวรินทรา บรมราชเทวี) เป็นอย่างยิ่ง ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อทรงพระเยาว์ ทรงตั้งใจศึกษาเล่าเรียนด้วยความอ่อนน้อมเคารพครูอาจารย์โดยไม่ถือพระองค์

          สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ทรงมีพระราชจริยาวัตรอันงดงามในฐานะแพทย์ที่มีน้ำพระทัยเปี่ยมล้นด้วยพระ เมตตาต่อประชาชน พระองค์ทอดพระเนตรเห็นความทุกข์ยากของราษฎรที่เจ็บป่วย พระองค์จึงตัดสินพระทัยลาออกจากการเป็นทหารเรือและเสด็จกลับไปศึกษาที่สหรัฐ อเมริกา โดยศึกษาวิชาแพทย์ และสาธารณสุขจนสำเร็จ ทรงเสด็จกลับมาปฏิบัติหน้าที่แพทย์รักษาประชาชนผู้เจ็บป่วยและทรงแก้ไขพัฒนา โรงพยาบาลศิริราชให้เป็นโรงพยาบาลที่ทันสมัยและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่าง ไม่เห็นแก่พระองค์เอง พระเมตตาของสมเด็จฯพระบรมราชชนก สอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า เมตตาธรรมค้ำจุนโลก

 

          จะ เห็นได้ว่า ตลอดพระชนม์ชีพสมเด็จฯพระบรมราชชนก ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์เพื่อประเทศชาติและเพื่อประชาชน ซึ่งถือได้ว่าสมเด็จฯพระบรมราชชนก ทรงเป็นชาวพุทธตัวอย่างที่ดีงาม สำนึกในพระกรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นล้นพ้นในฐานะที่ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์ การสาธารณสุข การพยาบาล การทันตแพทย์ การประมง การทัพเรือ และการสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น

          พระองค์ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย" และ "พระบิดาแห่งการสังคมสงเคราะห์ของไทย" สมควรที่ประชาชนชาวไทยจะได้สนองพระกรุณาธิคุณ ด้วยการประพฤติปฏิบัติตนเป็นประชาชนที่ดี น้อมนำพระราชจริยาวัตรเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นชาวพุทธที่ดีตลอดไป

 

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

พระราชประวัติ

          สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีศักดิ์กำเนิดเป็น "สามัญชน" ทรงมีพระนามเดิมว่า นางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ พระราชสมภพในวันอาทิตย์ที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ ที่จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรีองค์ที่ ๓ ในพระชนกชูและพระชนนีคำ

          ต่อมาครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ในละแวกวัดอนงคาราม แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร (เดิมคือจังหวัดธนบุรี) หลังจากทรงกำพร้าพระชนกตั้งแต่ทรงพระเยาว์ และกำพร้าพระชนนีเมื่อ ๙ พรรษา พระญาติได้นำขึ้นถวายตัวเป็นข้าหลวงรุ่นเด็กของสมเด็จเจ้าฟ้าวลัยอลงกรณ์ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตลอดมา

ทรงศึกษา

          เมื่อ ทรงพระเยาว์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรงศึกษาที่โรงเรียนวัดอนงคาราม ในแผนกเด็กนักเรียนหญิง ต่อมาทรงได้ย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนศึกษานารีและโรงเรียนสตรีวิทยา ตามลำดับ

          เมื่อ ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสตรีวิทยาแล้ว ได้ทรงเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช จนครบหลักสูตร ๓ ปี สามารถประกอบอาชีพได้ การที่ทรงเลือกอาชีพนี้ก็เพราะทรงมีพระเมตตาต่อบุคคลทั่วไป

 

          การ ที่ทรงศึกษาตามเส้นทางอาชีพสายนี้ เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในพระชนม์ชีพ ซึ่งคงจะเป็นพระราชบุพเพสันนิวาสบันดาลก็เป็นได้ เพราะต่อมาสมเด็จพระศรีสวรินทรา บรมราชเทวี ได้พระราชทานทุนเล่าเรียนเพื่อคัดเลือกพยาบาลส่งไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐ อเมริกา ตามพระประสงค์ของสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (พระยศในขณะนั้น) ที่ทรงส่งเสริมด้านการแพทย์ และพยาบาล ในขณะนั้นพระองค์กำลังทรงศึกษาวิชาแพทย์ศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

          ใน การนี้อธิบดีกรมสารธารณสุขได้คัดเลือกนางสาวสังวาลเป็นนักเรียนทุนของสมเด็จ พระศรีสวรินทรา บรมราชเทวี โดยสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมขุนสงขลานครินทร์ จึงทรงเป็นผู้ดูแลนักเรียนทุนไปโดยปริยาย ประกอบกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระสิริโฉมและพระจริยวัตรอันงดงามจนกลายเป็นที่สนิทเสน่หาในเวลาต่อมา

 

ทรงอภิเษกสมรส

          ใน เวลาต่อมา ทั้งสองพระองค์ทรงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตอภิเษกสมรส ตามกฎมณเฑียรบาลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเข้าสู่พิธีอภิเษกสมรสที่วังสระประทุม เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๓

          พระนามที่เรียกขานในเวลานั้น คือ "หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา" เมื่ออภิเษกสมรสแล้ว ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งสองพระองค์ทรงมีพระธิดา และพระโอรสรวม ๓ พระองค์

          เมื่อ ทรงศึกษาต่อจนสำเร็จแล้ว ทั้งสองพระองค์เสด็จนิวัติพระนครเพื่อนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการทรงงาน ทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุข สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ทรงเป็นนายแพทย์ที่สมบูรณ์และพร้อมที่จะทรงงานด้านการแพทย์ พระองค์จึงทรงงานด้วยพระวิริยะอุตสาหะ และทรงเสียสละเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ทนทุกขเวทนาด้วยโรคภัยไข้เจ็บ จนกระทั่งพระสุขภาพพลานามัยทรุดโทรมลง และทรงประชวรหนักจนสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒

 

          ขณะ นั้นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระชนมายุเพียง ๒๙ พรรษาเท่านั้น จึงต้องทรงรับพระราชภาระเลี้ยงดูพระธิดาและพระโอรส ซึ่งมีพระชนมายุ ๖ พรรษา ๔ พรรษา และ ๒ พรรษา ตามลำดับ

          นับแต่วาระนั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีต้องทรงเป็นทั้งพระชนกและพระชนนีของพระโอรสและพระธิดาทั้ง ๓ พระองค์

 

 

พระราชภาระเพื่อประเทศชาติ

          เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงสละราชสมบัติ รัฐสภาจึงมี มติอัญเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล เป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๘ ซึ่งต่อมาคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินได้สถาปนาหม่อมศรีสังวาลย์ เป็น "สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์"

          ครอบ ครัวมหิดลทุกพระองค์ทรงประทับอยู่ที่ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อศึกษาต่อ การถวายอภิบาลพระมหากษัตริย์จึงเป็นพระราชภาระของสมเด็จพระศรีนครินทราบรม ราชชนนีแต่เพียงพระองค์เดียว ณ ต่างประเทศอันห่างไกลปราศจากข้าราชการบริพาร

          ใน ช่วงหนึ่งยังต้องทรงเผชิญกับวิกฤตการณ์สงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งมีภัยอันตรายที่น่าสะพรึงกลัวจากมหาสงคราม แต่ทรงสามารถรักษาพระเกียรติยศดำรงพระองค์ และอภิบาลรักษาพระธิดาและพระโอรสมาได้อย่างน่าสรรเสริญยากจะหาผู้ใดเสมอ เหมือน

 

พระมารดาผู้อภิบาล  ๒ กษัตริย์ไทย

          สมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นสตรีที่มีดวงจิตเปี่ยมด้วยกุศล ซึ่งพระองค์ท่านได้ทรงสั่งสอนอบรมพระธิดาและพระโอรสทั้ง ๓ พระองค์ ให้เปี่ยมด้วยคุณธรรมความดีหลายประการที่ปรากฏอยู่ในทศพิธราชธรรม ทรงสอนให้รู้จักทำงาน การบริจาค การเสียสละ และการไม่เบียดเบียนรังแกผู้อื่น เพื่อเตรียมพระองค์ให้พร้อมสำหรับการเป็นพระมหากษัตริย์ จึงจำเป็นต้องมีหลักการและวิธีการซึ่งไม่แตกต่างจากการอบรมเยาวชนให้เติบโต เป็นผู้ใหญ่ที่ดีนั่นเอง

          สมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงสามารถอบรมพระโอรสทั้งสองพระองค์ให้ทรงมีพระราชอุปนิสัยที่ดีงาม อันเป็นพื้นฐานของการพัฒนาให้ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรมในภายภาคหน้า

          ใน พ.ศ. ๒๔๘๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัตพระนครอีกครั้ง พร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชาและพระราชชนนี ด้วยพระชนมายุ ๒๐ พรรษา ทรงบรรลุนิติภาวะที่จะบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เอง

 

          แต่ ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ เรื่องร้ายแรงที่สุดเกิดขึ้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลต้องพระแสง (ปืน) สวรรคต ซึ่งได้นำความเศร้าโศกมาสู่ชาวไทยอย่างใหญ่หลวง แต่ผู้ใดเล่าจะทุกข์หนักไปกว่าสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

          และ ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ วันเดียวกันนั้นสภาผู้แทนราษฎรได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชขึ้นครองราชย์เมื่อชนมายุเพียง ๑๘ พรรษาเท่านั้น

 

          สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จึงต้องรับพระราชภารกิจ  และ ถวายอภิบาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาล ที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจที่ดีงามเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ทรงเป็นที่รักและเทิดทูนบูชาของเหล่าพสกนิกรชาวไทยตลอดมา

พระราชภาระเพื่อประชาชน

          ตลอด พระชนม์ชีพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระองค์ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรต่างจังหวัดในหมู่บ้านถิ่น ทุรกันดารโดยทรงพบเห็นความทุกข์ยากของราษฎรผู้อยู่ห่างไกลความเจริญ ปัญหาการขาดแคลนโรงเรียน ปัญหาด้านการอนามัย ปัญหาการขาดแคลนแพทย์และพยาบาล

          พระองค์โปรดให้คณะแพทย์ในขบวนเสด็จออกรักษาประชาชนที่เจ็บไข้ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ "มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี" หรือมูลนิธิ พอ.สว. ด้วยพระองค์ทรงตระหนักว่าราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดารไม่มีโอกาสได้รับการรักษาพยาบาลตามแผนปัจจุบันที่ถูกต้อง

 

          พระองค์ทรงอนุรักษ์สภาพป่าเลื่อมใสโทรมโดยทรงจัดตั้ง "โครงการพัฒนาดอยตุง" เพื่อพัฒนาพื้นที่ดอยตุงในเขตอำเภอแม่จัน อำเภอแม่ฟ้าหลวงและ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าให้กลับสมบูรณ์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่าง เหมาะสม ยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวไทยภูเขาและชาวพื้นที่ราบที่ยังยากจน

          นอก จากนี้พระองค์พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้างโรงเรียนถึง ๙๙ แห่ง และได้รับเงินจากพระสหายชาวต่างชาติจัดสร้างโรงเรียนเพิ่มขึ้น และทรงเสด็จเปิดโรงเรียนด้วยพระองค์เอง

          พระองค์ ทรงอุทิศพระวรกายให้กับวงการแพทย์ การศึกษาของประชาชนตามชนบทที่อยู่ตามถิ่นทุรกันดารจนเป็นที่รักเคารพบูชาของ ประชาชนทั้งประเทศ จนกระทั่งเรียกพระองค์ว่า "แม่ฟ้าหลวง"

 

หมายเลขบันทึก: 214456เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2008 19:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

กราบนมัสการเจ้าคะ...

ชมภาพแล้วรู้สึกดีจังคะ

"ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน"

รักในหลวง คะ

เอื้องแสงเดือน

P

ธรรมสวัสดีโยมเอื้องแสงเดือน

นี่ขนาดว่าชมแต่ภาพยังรู้สึกดีๆ

หากโยมอ่านจบจะรู้สึกดีๆขึ้นเท่าทวี

โชคดีที่เรามีสถาบันพระมหากษัตริย์

อนุโมทนาสาธุ..บุญรักษา

กราบนมัสการเจ้าค่ะ...

***บารมีพระมากล้นรำพันจริงๆนะคะ...มีความสุขที่ได้อ่านค่ะ

P

อนุโมทนาสาธุกับโยมคูนครู

เราคนไทยรักพระเจ้าอยู่หัว

เทิดทูนชาติ ศาสน์ กษัตริย์

บุญรักษา

กราบนมัสการพระคุณเจ้า

  • แบบนี้  นักเรียน  มาศึกษาแล้วนำไปเป็นข้อมูลทำรายงานได้เลย เจ้าค่ะ
  • เป็นบันทึกที่เยี่ยมมากเจ้าค่ะ..
  • ครูอ้อย  ถวายคำสัตย์  ในวันรับพระราชทานปริญญา 2 ครั้งแล้ว ว่า ..จะตั้งใจ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ขยันหมั่นเพียรฯ..เจ้าค่ะ

กราบนมัสการเจ้าค่ะ

P

ธรรมสวัสดีโยม ครูอ้อย แซ่เฮ

อนุโมทนาสาธุบุญด้วย

นมัสการพระคุณเจ้า

มีความสุขที่ได้อ่าน

และโชคดีที่มีโอกาสได้อ่าน

ขอขอบพระคุณ เจ้าค่ะ

P

ธรรมสวัสดีโยมkrukim

อนุโมทนาสาธุบุญด้วย

เเต่ก็เสียนะ เพราะ ตอนนี้ท่านก็ไม่อยู่เเล้ว อยากเห็นหน้าท่านเข้าอีกครั้งจัง ฮือออออ

เเต่ก็เสียนะ เพราะ ตอนนี้ท่านก็ไม่อยู่เเล้ว อยากเห็นหน้าท่านเข้าอีกครั้งจัง ฮือออออ

เเต่ก็เสียนะ เพราะ ตอนนี้ท่านก็ไม่อยู่เเล้ว อยากเห็นหน้าท่านเข้าอีกครั้งจัง ฮือออออ

เเต่ก็เสียนะ เพราะ ตอนนี้ท่านก็ไม่อยู่เเล้ว อยากเห็นหน้าท่านเข้าอีกครั้งจัง ฮือออออ

เเต่ก็เสียนะ เพราะ ตอนนี้ท่านก็ไม่อยู่เเล้ว อยากเห็นหน้าท่านเข้าอีกครั้งจัง ฮือออออ

เเต่ก็เสียนะ เพราะ ตอนนี้ท่านก็ไม่อยู่เเล้ว อยากเห็นหน้าท่านเข้าอีกครั้งจัง ฮือออออ

เเต่ก็เสียนะ เพราะ ตอนนี้ท่านก็ไม่อยู่เเล้ว อยากเห็นหน้าท่านเข้าอีกครั้งจัง ฮือออออ

เเต่ก็เสียนะ เพราะ ตอนนี้ท่านก็ไม่อยู่เเล้ว อยากเห็นหน้าท่านเข้าอีกครั้งจัง ฮือออออ

เเต่ก็เสียนะ เพราะ ตอนนี้ท่านก็ไม่อยู่เเล้ว อยากเห็นหน้าท่านเข้าอีกครั้งจัง ฮือออออ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท