พระไตรปิฎก


พุทธศาสนสุภาษิต

 

พระไตรปิฎก

ความหมายของพระไตรปิฎก

          พระไตรปิฎก แปลตามตัวอักษรว่า ตะกร้า ๓ ใบ  มาก จากคำว่า ไตร แปลว่า สาม และ ปิฎก แปลว่า ตะกร้าหรือกระจาด ดังนั้น พระไตรปิฎก หมายถึง คำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาที่ได้จัดรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันเป็นหมวดหมู่รวม ๓ ชุด

          พระ ไตรปิฎก ถือเป็นแม่แบบในการตีความ หรืออธิบายความธรรมต่าง ๆ ที่ได้สอนอยู่ในปัจจุบัน ถ้าหากธรรม หรือข้อความทางพระพุทธศาสนาใด ๆ ขัดแย้งหรือคลาดเคลื่อนไปจากพระไตรปิฎกแล้ว ข้อความหรือธรรมนั้นก็ใช้ไม่ได้  พระ พุทธศาสนาได้เผยแผ่ไปสู่ประเทศต่าง ๆ ดังนั้นพระไตรปิฎกจึงถูกจารึกด้วยอักษรของประเทศนั้น ๆ ดังเช่น ประเทศไทยก็จารึกด้วยอักษรไทย เนื้อหาทั้งหมดต้องเป็นไปอย่างเดียวกันทั้งสิ้น

          พระ ไตรปิฎกของประเทศไทยในปัจจุบันมีทั้งส่วนที่เป็นภาษาบาลี ซึ่งถือเป็นภาษาที่ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและมีพระไตรปิฎกที่แปลจากภาษา บาลีเป็นภาษาไทยและแบ่งเป็นเล่มที่กะทัดรัดแยกเป็นเล่มได้ทั้งหมด ๔๕ เล่ม

          แม้ ว่าพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้และนำหลักธรรมมาสั่งสอนบุคคลต่าง ๆ เมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีแล้วก็ตาม แต่ความรู้ต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกนั้น สามารถนำมาอธิบายให้เข้าใจในเหตุการณ์และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

          เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์ที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา  ชาว พุทธได้ยึดถือแนวคำสอนที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเป็นหลักปฏิบัติ ข้อความรู้ต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกนั้นครอบคลุมศาสตร์ต่าง ๆ อย่างมากมาย การศึกษาความรู้เหล่านี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชาวพุทธทุกคน  ในชั้นนี้เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก คือ เรื่อง พระโมคคัลลานะเรียนวิชาแก้ง่วง

พระโมคคัลลานะเรียนวิชาแก้ง่วง

            หลังจากที่พระโมคคัลลานะอุปสมบทแล้วได้ ๗ วัน และได้บำเพ็ญเพียรอยู่ที่หมู่บ้านกัลวามุตตคาม ในแคว้นมคธ พระโมคคัลลานะรู้สึกง่วงเป็นยิ่งนัก ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปโปรดและทรงสอนวิธีแก้ง่วง ๘ ประการ ให้พระโมคคัลลานะฟัง

 

วิธีแก้ง่วง ๘ ประการ

     ๑. นึกคิดเรื่องใดแล้วเกิดความง่วง ก็ให้นึกเรื่องนั้นให้มาก ถ้ายังไม่หาย

      ๒. ให้ตรึกตรองเรื่องที่ได้เรียนได้ฟังมา ถ้ายังไม่หาย

     ๓. ให้ท่องข้อความที่ได้เรียนได้ฟังมา ถ้ายังไม่หาย

     ๔. ให้ย่อนหูทั้ง ๒ ข้างและเอามือลูบตัว ถ้ายังไม่หาย

     ๕. ให้ลุกขึ้นยืน แล้วเอาน้ำลูบตัว แหงนหน้ามองดูท้องฟ้า ถ้ายังไม่หาย

     ๖. ให้นึกถึงแสงสว่างในตอนกลางวัน แม้จะอยู่ในตอนกลางคืนก็ตาม ถ้ายังไม่หาย

     ๗. ให้เดินจงกรม คือ ลุกขึ้นเดินกลับไปกลับมาสักพัก และถ้ายังไม่หาย

     ๘. ให้นอนพัก โดยมีสติสัมปชัญญะตั้งใจว่าจะลุกขึ้น เมื่อตื่นแล้วให้ลุกขึ้นทันที

 

                   

 

 

ศัพท์ทางพระพุทธศาสนา

 

          ศัพท์ ทางพระพุทธศาสนา เป็นคำยากที่ต้องแปล เพื่อให้เรียนรู้พระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง และเกิดประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าให้ถ่องแท้และสร้างความรู้ความเข้าใจให้ กับนักเรียน ศัพท์ที่ต้องเรียนรู้สำหรับชั้นนี้คือ

อุเบกขา

          อุเบกขา คือ การวางใจเป็นกลาง ได้แก่ การมีจิตเรียบตรงไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง วางเฉยและไม่ยินดียินร้าย พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำ ซึ่งควรได้รับผลดีหรือผลชั่วสมควรแก่เหตุที่ตนได้ทำไว้  รวม ทั้งรู้จักการวางเฉยสงบใจมองดู เมื่อไม่มีกิจธุระใดที่ควรทำเพราะผู้อื่นเขารับผิดชอบได้แล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และไม่เข้าไปก้าวก่ายยุ่งเกี่ยว

อัญญานุเบกขา

          อัญญานุเบกขา คือ การวางเฉยแบบไม่รู้อะไร เรียกว่า เฉยแบบโง่นั่นเอง ซึ่งลักษณะของเฉยแบบโง่มักจะไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงออก จะนิ่งเงียบตลอดเวลา เช่น ถ้านักเรียนไม่เข้าใจในบทเรียนควรถามครู เพื่อประโยชน์ในการเรียนไม่ควรนิ่งเฉยหรือเก็บข้อสงสัยนั้น เพราะจะทำให้เราไม่ได้รับความรู้

 

 

 

พุทธศาสนสุภาษิต

 

          พระ พุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้คนยึดมั่นในการทำความดี ไม่ทำความชั่วและทำจิตใจให้บริสุทธิ์ และเพื่อเป็นการเตือนสติสำหรับชาวพุทธ พระองค์ทรงบัญญัติเป็นพุทธศาสนสุภาษิตไว้มากมาย

พุทธศาสนสุภาษิตที่ชาวพุทธควรรู้จัก ได้แก่

 

สุขา   สงฺฆสฺส  สามคฺคี

ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะนำสุขมาให้

          ความ พร้อมเพรียงของหมู่คณะนำสุขมาให้ หมายถึง ความสามัคคี ความกลมเกลียวกันในหมู่คณะ ในกลุ่ม ทำให้ทุกคนช่วยกันทำกิจกรรมต่าง ๆ จนสำเร็จ ซึ่งนำความสุขมาสู่หมู่คณะนั้น เพราะทุกคนย่อมได้รับความสุข ความสำเร็จจากผลงานที่ได้ช่วยกันทำ

 

          ตัวอย่าง เช่น ครูได้มอบหมายให้นักเรียนทำความสะอาด โดยจัดเวรทำความสะอาดในแต่ละวัน ถ้าทุกคนช่วยกันทำเวรอย่างพร้อมเพรียงกัน ห้องเรียนก็จะสะอาด หมู่คณะก็สบายใจ ทุกคนมีความสุขเกิดขึ้นเพราะห้องเรียนสะอาด ทุกคนก็มีความสุขสบายใจ

      ความ พร้อมเพรียงกันของหมู่คณะ จะเกิดขึ้นได้จากการที่หมู่คณะมีความสมัครสมานสามัคคี เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน มีความอดทน ขยันหมั่นเพียร รู้จักเสียสละ ร่วมมือร่วมใจกัน ทำงานอะไรก็จะช่วยเหลือกันจนสำเร็จ

 

          ในครอบครัว ทุกคนมีความพร้อมเพรียงกันทำงาน ช่วยกันประหยัด ร่วมมือร่วมใจกันทำกิจกรรม ทุกคนในครอบครัวก็จะมีความสุข

          ในโรงเรียน ทุกคนพร้อมเพรียงกันยึดถือกฎระเบียบข้อบังคับของโรงเรียนนักเรียนทุกคนพร้อมใจกันศึกษาเล่าเรียน

 

          ใน ชุมชน ทุกคนสมัครสมานสามัคคีกัน พร้อมเพรียงกันประกอบอาชีพที่สุจริต ร่วมมือกันทำนุบำรุงดูแลท้องถิ่นของตน เช่น แม่น้ำ ถนน คูคลอง ประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ เป็นต้น

          ในประเทศชาติ  ถ้า ทุกหมู่คณะมีความพร้อมเพรียงกันถือปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด พร้อมเพรียงกันเสียภาษี พร้อมเพรียงกันป้องกันประเทศชาติ พร้อมเพรียงกันปฏิบัติตนตามหลักคำสอนของศาสนา ก็จะเกิดความสุขทั้งในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และประเทศชาติ

 

โลโกปตฺถมฺภิกา  เมตฺตา

เมตตาธรรมค้ำจุนโลก

          เมตตา คือ ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขทั้งทางกายและจิตใจ ผู้ที่มีความเมตตาจะเป็นคนโอบอ้อมอารี ช่วยเหลือบุคคลอื่นให้มีความสุขเท่าที่สามารถทำได้โดยไม่เบียดเบียนใคร ความเมตตานั้นสามารถแสดงออกได้ทั้งทางกาย วาจา และใจ ดังนี้

 

 

 

 

 

 

การแสดงออกทางกาย ได้แก่

           - ให้ทาน โดยการบริจาคทรัพย์และสิ่งของแก่บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือ

           - ไม่รังแกทำร้ายผู้อื่นและพร้อมที่จะปกป้องผู้ที่อ่อนแอกว่า

           - ให้ความรักและความเอ็นดูต่อสัตว์ต่าง ๆ ไม่ควรทำร้ายหรือรังแกสัตว์ให้ได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน

 

การแสดงออกทางวาจา ได้แก่ การให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้มีความทุกข์ทางใจ ท้อแท้ใจไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เราควรใช้คำพูดที่ไพเราะ ไม่ควรใช้คำพูดที่เยาะเย้ยถากถาง จนทำให้ผู้ที่มาขอคำปรึกษาท้อแท้ใจลงไปอีก

การแสดงออกทางใจ ได้แก่ การมอบความปรารถนาดีความหวังดีให้ทุกคนมีความสุข รวมทั้งการไม่คิดร้าย ผูกพยาบาทอาฆาต โดยพร้อมที่จะให้อภัยแก่ทุกคน และมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

 

          คนเราจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้ ถ้าเรามีความเมตตาต่อกันโดยแสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีอะไรก็แบ่งปันกัน มองเห็นความทุกข์ยากของผู้อื่น เห็นผู้อื่นเดือนร้อนก็ให้ความช่วยเหลือโดยไม่นิ่งดูดาย และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน

          ดัง นั้น นักเรียนจึงควรฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีเมตตาต่อคนและสัตว์เพื่อให้เป็นนิสัย เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่จะได้มีความเมตตาต่อกัน และจะได้อยู่ร่วมอย่างสงบสุข

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                              _/!\_................_/!\_

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 214034เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2008 17:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

นมัสการพระคุณเจ้าค่ะ

พอลล่าขอนำวิธีแก้ง่วงไปใช้ค่ะ กราบนมัสการเจ้าค่ะ

P

  • ธรรมสวัสดีโยมพอลล่า
  • ดีมากๆใช้ได้ผลจริงๆ
  • อนุโมทนาสาธุ

นมัสการเจ้าค่ะหลวงพี่

อุเบกขา คือ การวางใจเป็นกลาง ได้แก่ การมีจิตเรียบตรงไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง วางเฉยและไม่ยินดียินร้าย พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำ

ควรมีใจเป็นกลางเจ้าค่ะ...อิอิ

นมัสการเจ้าค่ะ

หลายเรื่อง  เป็นการสอนคุณธรรมพื้นฐานให้กับเด็กไก้อย่างดี

แต่ต้องนำความรู้ตรงนี้ไปแปลเป็นภาษาที่เหมาะสมกับวัยของเด็กก่อน

ขอขอบพระคุณอย่างสูงเจ้าค่ะ

P

  • ธรรมสวัสดีนะโยม น้องกล้วยแขก
  • ใช่แล้วควรมีใจเป็นกลาง มิใช่ใจเป็นกลัว
  • และที่สำคัญต้องอยู่ข้างความดี ความถูกต้องด้วย
  • อนุโมทนาสาธุ..บุญรักษา

กราบนมัสการพะรคุณเจ้า

  • ครูอ้อย ตั้งใจมาเรียน ธรรมะ ค่ะ  หลังจากเสร็จภารกิจอื่นๆ  จิตใจแน่วแน่  ก็เลยมาอ่าน  อ่านแล้ว ก็สบายใจ  เพราะ อ่านง่าย เข้าใจง่าย ปฏิบัติง่าย และนำไปใช้ได้ง่ายๆ
  • เรื่องความเมตตา  นักเรียนสมัยนี้  ขาดคุณลักษณะนี้มากเลยนะเจ้าคะ  ได้อ่านบันทึกของคุณหมอ กล่าวว่า  เด็กไปเที่ยวสวนสัตว์ จับสัตว์เล็กมาฆ่า แล้ว โยนให้จระเข้กิน
  • ข่าวที่ออกหน้าหนังสือพิมพ์ เรื่องที่เด็กไทย ฆ่า แท็กซี่  เพราะขาดความเมตตาธรรม  นี่ล่ะเจ้าค่ะ
  • บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน และสื่อ ฯ  ต้องช่วยกันมากๆ  จะได้เข้าถึงจิตใจเด็กเหล่านี้มากๆนะเจ้าค่ะ

กราบนมัสการพระคุณเจ้า เจ้าค่ะ 

P         ธรรมสวัสดีกับโยมคุณครูคิม

                  อนุโมทนาสาธุ..บุญรักษา 

        P         ธรรมสวัสดีกับโยมคุณครูอ้อย 

                          อนุโมทนาสาธุ ..บุญรักษา  

กราบนมัสการพะรคุณเจ้า

***ต้องรีบเร่งศึกษาธรรม

***การใกล้ชิคพระธรรมเป็นบุญวาสนา...ดิฉันคิดเช่นนั้นค่ะ..

กราบนมัสการพระคุณเจ้า เจ้าค่ะ

P

  • ธรรมสวัสดีโยมกิติยา
  • โยมเข้าใจได้ถูกต้องแล้ว
  • อนุโมทนาสาธุด้วย
  • บุญรักษา

นมัสการค่ะ

แวะมาอ่านและน้อมรับธรรมะด้วยจิตใจที่แช่มชื่นค่ะ

เพิ่งได้เห็นคำว่า อัญญานุเบกขา เป็นครั้งแรกค่ะ...จะได้ระวังไม่เป็นเช่น อัญญานุเบกขา = เฉยแบบโง่ ไม่รู้เรื่อง

สาธุค่ะ

P

  • ธรรมสวัสดีนะโยม คนไม่มีราก
  • โยมเลือกประเด็นได้ชัด
  • อนุโมทนาสาธุ..บุญรักษา

นมัสการค่ะ

หากทุกคนได้เรียนรู้พระไตรปิฎกอย่างลึกซึ้ง ทำสอนของพระพุทธเจ้าจะช่วยให้ทุกๆคนมีสติในการระลึก แก้ไข ในชีวิตได้อย่างดีเลยนะค่ะ

สาธุค่ะ :)

นมัสการค่ะ พระอาจารย์

สำหรับคนที่อยากจะศึกษาธรรมะ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร พระอาจารย์มีข้อคิดดีๆแนะนำ สำหรับผู้อยากเริ่มต้นปฏิบัติธรรมไหมคะ คือว่าไม่รู้จะเริ่มอย่างไรค่ะ

  • ธรรมสวัสดีโยม Dhamma
  • ใช่จริงๆเลย อนุโมทนาสาธุ
  • ธรรมรักษา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท