จริยธรรมกับการบริหารงานองค์กร


รองศาสตราจารย์ ดร.บุษยา วีรกุล จากคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(NIDA)

จริยธรรมกับการบริหารงานองค์กร บทเรียนหนึ่ง ในหลักสูตรนักบริหารการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับกลาง รุ่น38

 

 

             เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2551 รองศาสตราจารย์ ดร.บุษยา วีรกุล จากคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD )สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA ) ได้ไปบรรยายและให้ความรู้-ประสบการณ์แก่ผู้เข้ารับอบรมหลักสูตรนักบริหารการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ระดับกลางรุ่น38  ณ. โรงแรมหลุยฯกรุงเทพมหานคร  ซึ่งมีสาระสำคัญและเป็นความรู้ ที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้รับ ทราบและเข้าใจมากยิ่งขึ้น และพร้อมที่จะนำไปพัฒนาตนเอง

              ปัญหาทางจริยธรรมในปัจจุบันนี้การบริหารงานองค์กรมักจะมองไม่ค่อยเห็นจริยธรรม หรือหากจะพูดว่าการไม่มีจริยธรรมในสังคมมนุษย์เท่าที่ควร   นั้นอาจจะมาจากหลายประการด้วยกันคือ การโกง ความไม่ซื่อสัตย์  การไม่เชื่อถือในผลตอบแทนจากการทำงานเพื่อส่วนรวม  การไม่สำรวมทางเพศ  การอยากได้และอยากมีมากเกินความเหมาะสมของตนเอง  การดำรงตนขัดแย้งกับวิถีของธรรมชาติ

                 เราลองมาดูคำว่าจริยธรรมนั้น เป็นการศึกษากฎเกณฑ์และปรัชญาด้านคุณธรรมและศีลธรรมที่เกี่ยวกับความประพฤติและการกระทำของบุคคล  คุณค่าของความดีงามในความประพฤติหรือการกระทำของบุคคล

 

 

 

               ในการทำงานในระดับองค์กร โดยทั่วไปในปัจจุบันนี้ บุคลากรในองค์กรจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมในระดับบุคลากร   การที่เราจะพัฒนางานและองค์กรนั้นหากตัวเรายังไม่เข้าใจในเรื่องของจริยธรรมหรือขาดจริยธรรม   แล้วเราจะพัฒนางานก็คงยาก บางครั้งสิ่งที่เรามองเห็นนั้น มันเห็นแต่เปลือกนอก เราไม่เห็นข้างใน ว่าในใจเขานั้นเป็นอย่างไร

 

 

               หากในองค์กรเรา จะพัฒนาให้ไปข้างหน้า โดยให้มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา โดยต้องพัฒนาบุคล ให้เข้าใจในความหมายของคำว่าจริยธรรม    เราลองมาดูทฤษฏีพัฒนาการทางจริยธรรม มีอยู่ 3 ระดับคือ

 

 

ระดับก่อนกฏเกณฑ์               ขั้นที่ 1   เคารพเชื่อฟังและกลัวลงโทษ

 

                                                              ขั้นที่ 2  แสวงหาและแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ที่เท่ากัน

 

 

 

ระดับตามกฏเกณฑ์               ขั้นที่ 3  ทำตามความคาดหวังของผู้อื่นเพื่อรักษาสัมพันธภาพ

 

                   

                                                           และความ เป็นพวกเดียวกัน 

 

 

                                 ขั้นที่ 4 มีจิตสำนึกของการทำเพื่อสังคม

 

 

ระดับเหนือกฏเกณฑ์               ขั้นที่ 5 ปฏิบัติตามสิทธิและกฏเกณฑ์ในสังคม

 

 

                                                                ขั้นที่ 6 หลักจริยธรรมที่เป็นสากล

 

                     เราลองมาดูว่า บุคลากรในทีมงานเดียวกัน มีการพัฒนาการทางจริยธรรม อยู่ในขั้นใด แล้วเราลองประเมินกันว่า เราจะมีการยกระดับทางจริยธรรมได้หรือไม่ นี่ก็เป็นความท้าทายเช่นกัน  การสร้างระบบงานและวัฒนธรรมองค์กรที่มีจริยธรรม พฤติกรรมของคนมีปัจจัยสำคัญ อยู่ สองประการที่ควบคุมอยู่คือ ปัจจัยด้านตัวบุคคล และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม การสร้างระบบงานและวัฒนธรรมองค์กรที่มีจริยธรรม จึงควรให้ความสำคัญกับการจัดการปัจจัยสองประการนี้ คือการบริหารงานให้มี คน ที่มีความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติที่เอื้อต่อการสร้างระบบงาน และวัฒนธรรมองค์กร ที่มีจริยธรรมอยู่กับองค์กร และสร้างสภาพแวดล้อม ที่สนับสนุนพฤติกรรม ระบบงานและวัฒนธรรมการทำงานที่มีจริยธรรมให้เกิดขึ้นและคงอยู่ในองค์กร

 

 

 

              ท้ายสุดนี้ จะขออนุญาตนำเสนอทฤษฏีต้นไม้จริยธรรม ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ ต่อผู้สนใจที่จะศึกษาและพัฒนาทางจริยธรรม   ทั้งนี้เพื่อเป็นกำลังใจให้บุคคลที่มีการพัฒนาทางจริยธรรม ในการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร  ได้มีพลังใจที่จะพัฒนาดังกล่าวให้บรรลุต่อไป

            ทางผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ระดับกลางรุ่น38  ต้องขอขอบคุณท่าน รองศาสตราจารย์ ดร.บุษยา  วีรกุล  ไว้ณ. โอกาสนี้  ที่ได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม นับว่าเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาบุคลากรในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อไป...........

 

 

 

 

 

          

หมายเลขบันทึก: 213891เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2008 19:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท