เดือนตุลาคมเป็นเดือนแห่งต้านภัยมะเร็งเต้านมสากล ซึ่งทั่วโลกได้ตระหนักถึงภัยของผู้หญิงที่ไม่ควรมองข้าม และมีหน่วยงานต่างๆรวมกันรณรงค์ ซึ่งในวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมาสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้เปิดตัวที่สวนเบญจสิริ ทำให้สวนทั้งสวนกลายเป็นสีชมพู ซึ่งสถาบันมะเร็งแห่งชาติมีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชนและเพื่อให้ผู้หญิงได้ตื่นตัวในการดูแลและป้องกันตัวเองจากภัยของมะเร็งเต้านม ซึ่งมะเร็งเต้านมในไทยเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของหญิงไทยเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปากมดลูก
โรคมะเร็งหรือ Cancer ซึ่งมีรากศัพท์เดิมมาจากภาษาลาตินว่า Kancer แปลว่า ปู เนื่องจากเซลล์มะเร็งสามารถจับติดกับเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายได้อย่างเหนียวแน่นคล้ายปูและยังแทรกลุกลามเซลล์ปกติที่อยู่รอบๆ ตลอดจนแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง สมอง ตับ ปอด และกระดูก เปรียบเสมือนขาปูที่แผ่ออกจากตัวปูและพร้อมจะเดินไปยังทิศทางใดก็ได้ ดังนั้นจึงใช้ปูเป็นสัญลักษณ์แทนโรคมะเร็ง
มะเร็งคือเซลล์ในร่างกายที่แบ่งตัวอย่างผิดปกติ โดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ และกลายเป็นเนื้องอก หากไม่ได้รับการรักษาหรือตัดออกก็จะพัฒนากลายเป็นมะเร็งและอาจลุกลามไปทำลายอวัยวะต่างๆได้ มะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย
มะเร็งเต้านมพบบ่อยในเพศหญิง โดยเฉพาะหญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้ชายก็มีสิทธิ์เป็นได้เช่นกันแต่พบน้อย มะเร็งเต้านมที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ มะเร็งที่เริ่มจากเนื้อเยื่อส่วนหน้าส่วนใดส่วนหนึ่งของเต้านม หรือมะเร็งแบบที่เกิดในท่อน้ำนมและไม่กระจายออกนอกท่อน้ำนมมาสู่เนื้อเยื่อไขมันหน้าอก พบว่าเกือบ 100% ของผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยในขั้นตอนนี้สามารถรักษาหายขาดได้
มะเร็งที่พบได้บ่อยคือมะเร็งที่เกิดในท่อทางเดินน้ำนม แต่ลุกลามผ่านผนังท่อน้ำนมออกมาข้างนอกสู่เนื้อเยื่อไขมัน และมีโอกาสแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นๆของร่างกายได้ โดยผ่านทางน้ำเหลืองหรือกระแสเลือดและยังมีมะเร็งที่เริ่มในต่อมน้ำนม ซึ่งมีโอกาสกระจายไปทั่วร่างกาย อย่างไรก็ตามมะเร็งเต้านม สามารถรักษาหายได้ ถ้าตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ก้อนที่เต้านมไม่ใช่เป็นมะเร็งเสมอไป อาจจะเป็นถุงน้ำหรือเนื้องอกธรรมดาก็ได้
สิ่งผิดปกติบริเวณเต้านมที่ควรไปพบแพทย์
1. เมื่อคลำพบก้อน ตุ่ม หรือเปื้อนแข็ง
2. เมื่อมีอาการบวม แดงร้อน หรือเต้านมมีสีผิวคล้ำขึ้น
3. ขนาดและรูปทรงของเต้านมเปลี่ยนไป
4. ผิวหนังบริเวณหน้าอกเปลี่ยนแปลง เช่น มีรอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติหรือบางส่วนเป็นสะเก็ด
5. หัวนมมีการหดตัว คัน หรือแดงผิดปกติ
6. มีเลือดหรือน้ำไหลออกมาจากหัวนม
7. เจ็บเต้านม (มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ไม่เจ็บ นอกจากก้อนโตมากแล้ว)
8. รักแร้บวมเพราะต่อมน้ำเหลืองโต
การตรวจวินิจฉัยเพื่อทำการรักษา
1. การซักถามประวัติผู้ที่เข้ารับการรักษาอย่างละเอียดเพื่อประเมินถึงอาการต่างๆ ปัญหาสุขภาพอื่นๆและปัจจัยเสี่ยงของคนไข้
2. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่?
3. หมอจะทำการตรวจหน้าอกละเอียด เพื่อช่วยในการค้นหาตำแหน่งที่ชัดเจนของก้อนเนื้อหรือบริเวณที่สงสัยว่าจะมีปัญหา เปรียบเทียบกับส่วนอื่นๆของร่างกาย
4. มีการตรวจเครื่องแมมโมแกรม
5. การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ
6. การตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวน์
การรักษามะเร็งเต้านมมีจุดประสงค์ เพื่อกำจัดเนื้อร้ายให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยวิธีที่นิยมในปัจจุบัน คือ การผ่าตัด การฉายแสง การให้เคมีบำบัด และการใช้ฮอร์โมน บางรายอาจรักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเช่นผ่าตัดอย่างเดียว ในขณะที่บางรายอาจใช้หลายวิธีรวมกัน เช่นการผ่าตัดแล้วตามด้วยการฉายแสง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยและความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาเพื่อพิจารณาทางเลือกที่ดีร่วมกัน
การทำแมมโมแกรม(Mammogram)
การตรวจแมมโมกราฟี่ เป็นเครื่องเอกซเรย์ชนิดพิเศษ ที่สามารถตรวจจับความผิดปกติที่จะก่อให้เกิดมะเร็งที่บริเวณเนื้อเยื่อหน้าอกได้ ก่อนที่ก้อนมะเร็งจะมีขนาดโตขึ้นจนสามารถสัมผัสได้ด้วยมือ ยิ่งตรวจพบก้อนมะเร็งได้เร็วเท่าไหร่ โอกาสในการรักษาให้หายขาดและรอดชีวิตก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น
สิ่งที่ควรรู้สำหรับผู้หญิง
1. ตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน อย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะผู้หญิงที่อายุ 20-40 ปี
2. ตรวจเต้านมในช่วงเวลา 7-10 วันนับจากวันที่มีประจำเดือนวันแรก
3. ผู้หญิงที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ถ้ามีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ควรตรวจเต้านมตนเองทุกเดือนและตรวจเอกซเรย์เต้านมตั้งแต่อายุ 35ปี
4. ตรวจเต้านมขณะที่เต้านมอ่อนนุ่ม ไม่คัดตึง หรือเจ็บ
5. การตรวจพบก้อนที่เต้านม อาจจะไม่ใช่มะเร็งก็ได้ ต้องมาให้แพทย์ตรวจละเอียดอีกครั้ง
ผึ้งงานได้มีโอกาสไปร่วมงานมหกรรมต้านภัยมะเร็งเต้านม ครั้งที่ 8 จัดที่สวนเบญจสิริ จึงขอโอกาสนี้ร่วมรณรงค์ด้วย ซึ่งหลายปีมานี้คนเริ่มนึกถึงพิษภัยของมะเร็งเต้านมมากขึ้นดังนั้นผู้หญิงเราควรใส่ใจและดูแลรักษาสุขภาพ เดือนตุลาคมทั้งเดือนท่านมักจะพบเห็นโบว์สีชมพู ที่ใช้ในการรณรงค์เรื่องนี้ ซึ่งการตรวจพบในระยะเริ่มแรกจะสามรถรักษาได้หายขาด ดังนั้นอย่าลืมตรวจเต้านมด้วยตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งแรกที่ผู้หญิงเราไม่ควรมองข้ามค่ะ ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพดีถ้วนหน้าค่ะ.
....ท่านสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้ที่ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ โทร. 02 3547025 หรือ สายด่วนมะเร็ง 1668 หรือ www.nci.go.th (ขอขอบคุณข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ)
เป็นบันทึกที่มีประโยชน์มากค่ะ...คุณผู้หญิงและทุก ๆ คน ไม่ควรประมาทในเรื่องของการตรวจสุขภาพ...กันไว้ดีกว่าแก้ค่ะ
สวัสดีค่ะคุณลำดวน
สวัสดีค่ะคุณครู วรางค์ภรณ์
สวัสดีค่ะคุณน้ำ
· ผึ้งงานต้องขอโทษจริงๆค่ะที่ตอบช้า คงทำให้คุณกังวลมาก
· ปกติผู้หญิงเราถ้าอยู่ในช่วงก่อนหลังมีประจำเดือนมาเล็กน้อยก็จะสามารถเกิดอาการดังกล่าวได้เช่นกัน ไม่ถือว่าผิดปกติค่ะ
· แต่ถ้าอย่างที่คุณน้ำเล่ามา ผึ้งงานว่าคุณน้ำไม่ควรนิ่งนอนใจค่ะและอย่าอายที่จะมาพบแพทย์ ลักษณะดังกล่าวอาจจะเกิดจากการอุดตันของท่อน้ำนมอักเสบหรือการผิดปกติของฮอร์โมนก็ได้
· คุณน้ำ ควรไปให้คุณหมอคลินิกตรวจเต้านมโดยเฉพาะ ดูอีกครั้งก็ดีนะคะ ซึ่งท่านสามารถให้ข้อแนะนำและมีการตรวจเป็นเครื่องมือเฉพาะเช่น แมมโมแกรม การตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวน์ เป็นต้น
· หรือคุณน้ำลองสอบถาม สายด่วนมะเร็ง 1668 หรือ www.nci.go.th
· ขอให้ปลอดภัยและหายเป็นปกติไวๆค่ะ
เต้านมมีอาการเจ็บและมีตุ่มแดงๆและคันเมื่อเกาจะรู้สึกเหมือนเป็นตุ่มยุงกัด อยากทราบว่ามีโอกาศเป็นมะเร็งเต้านมมั้ยค่ะ
สวัสดีค่ะ
สวัสดีค่ะ คุนผึ้งงาน ดิฉันมีแผลที่ฐานของหัวนมค่ะ กังวลมากกลัวจะเป็นมะเร็งค่ะ
เป็นแผลเหมือนมันลอกผิวหนังชั้นบนออกอ่ะค่ะ
รบกวนช่วยให้คำตอบด้วยนะค่ะ
สวัสดีค่ะคุณมะปราง
สวัสดีค่ะ
พอดีดูในลิงย์เลยสงสัยตัวเองเวลาจับดูเต้านมตัวเองมีก้อนเข้งๆก้อนนึ่งมันสามารถเคลื่อนได้เมื่อเวลาเราคลำดู
รู้สึกกังวลมากค่
สวัสดีคะ
ขอสอบถามหน่อยคะเป็นตุ่มแดงคล้ายสิวแต่ไม่มีหัว แดงและเวลาจับจะเจ็บอยูบริเวณใกล้ๆลานนมคะ ไม่ทราบว่าจะอันตรายรึป่าวคะ หรือเป็นสัญญาณของมะเร็งมั้ย กังวลมากค
คือก่อนหน้านี้ประมาณสองปี คลำเต้านมพบเป็นเนื้อนูนๆ ขึ้นมา เลยไปหาคุณหมอ คุณหมอส่งตรวจแมมโมแรมกับอัลตร้าซาวน์ ผลออกมาหมอบอกว่าไม่ได้เป็นมะเร็ง แนะนำให้ทานผักเยอะๆ กินเนื้อน้อยๆ แต่พอเมื่อวาน (12/12/60) ดิฉันลองบีบหัวนมดูปรากฎว่ามีน้ำออกมา จับดูเหนียวๆ แบบนี้ดิฉันจะเป็นมะเร็งไหมคะ รบกวนสอบถามหน่อยคะ ดิฉันอายุ 25 ปี ยังไม่มีบุตรคะ