GotoKnow

จดแล้วไม่จน ...

Miss woranut phiphatkun
เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2548 11:38 น. ()
แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2555 15:12 น. ()
ช่วงนี้มีโฆษณาของธกส. ออกมาแนะให้ประประชาชนมีการทำบัญชีค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เพื่อช่วยในการพิจารณาตัดค่าใช้จ่ายส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป ทำให้มีเงินเหลือเก็บสำหรับซื้อบ้านใหม่ และมีชีวิตที่ดีขึ้น..


ดิฉันเห็นด้วยและชื่นชมผู้เสนอแนวคิดนี้มากค่ะ
เพราะโดยส่วนตัวแล้วก็ปฏิบัติอยู่   ถึงแม้จะมีเงินเหลือเก็บไม่มาก แต่ก็พอมีเก็บไว้เป็นทุนสำรองยามฉุกเฉิน

การวางแผนเรื่องการใช้จ่ายเงินถือเป็นเรื่องสำคัญ..  ไม่จำเพาะคนที่มีเงินน้อยเท่านั้น
หลักการในการประหยัดเงินที่ง่าย แต่ปฏิบัติไม่ง่ายเท่าไหร่นักที่ดิฉันจำมาจากหนังสือเล่มนึงนานมากแล้ว
คือ  ใช้จ่ายให้น้อยกว่าเงินที่ได้รับ  แค่นี้ก็มีเงินเหลือแล้วค่ะ
ตรงนี้ล่ะสำคัญ  เพราะทุกวันนี้สิ่งที่มายั่วยวนใจให้ใช้จ่ายมีมากเหลือเกิน  ซึ่งทุกท่านคงทราบดีไม่ต้องกล่าวถึงว่ามีอะไรบ้าง


กลับมาที่การทำแผนใช้จ่ายรายเดือน  ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราได้คิดซ้ำๆในการที่จะใช้เงินแต่ละบาทออกไปได้มากขึ้น
ต้นเดือนปุ๊บ.. ตั้งเลยค่ะรายได้มีเท่าไหร่
หักด้วยค่าใช้จ่ายหลักๆ  ได้แก่  ค่าเช่าบ้าน , ค่าน้ำ ,ค่าไฟ , ค่าโทรศัพท์ ,ค่าอาหารประจำเดือน ,
ค่าน้ำมันรถ ,ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ( ตั้งสำรองไว้ยามฉุกเฉิน  ถ้าเดือนใดไม่ต้องจ่าย  ถือเป็นเงินออมค่ะ ) และค่าฝากธนาคารเพื่อเป็นเงินออม  เป็นต้น

List ค่าใช้จ่ายประจำให้ครบถ้วนแล้วหักออกจากรายได้ที่ได้รับ   แล้วดูเงินที่เหลือนั่นล่ะค่ะ  เหลือเท่าไหร่?? แล้วค่อยคิดว่าจะนำไปใช้อะไรตามที่ตัวเองพอใจ  หรือจะเก็บออมไว้อีกก็ยิ่งดี
สิ่งที่สำคัญอีกอย่างก็คือ  ไม่ว่าเราจะทำแผนการเงินที่ดีแค่ไหน   หากไม่สามารถบังคับใจตัวเองให้ทำตามแผนนั้นได้     แผนที่วางไว้ก็อาจไม่เป็นผล ..
อย่าถือว่าบังอาจมาแนะนำเรื่องส่วนตัวเลยนะคะ 
เจตนาแล้วคืออยากมีส่วนช่วยรณรงค์เหมือนกับในโฆษณา  เพราะทราบว่าหลายท่านคงปฏิบัติกันดีอยู่แล้ว
แต่อาจมีบางครั้งที่เราอาจเผลอ ลืมคิดไป 
ในช่วงภาวะเศรษฐกิจค่าน้ำมันแพงเช่นนี้   มาช่วยกันประหยัดเถอะนะคะ
จดแล้วไม่จนแน่นอนค่ะ ...


ความเห็น

แนวคิดผม วางแผนการออมไว้ด้วยก็ดีครับ ไม่ใช่เหลือเท่าไรแล้วค่อยออม เพราะหากไม่วางแผน คิดว่าเหลือเท่าไรค่อยออม มักจะออมไม่ได้จริง (จากประสบการณ์ครับ) ผมเขียนไว้ในบันทึกชื่อ "เงินออมไม่ใช่เงินได้ลบด้วยเงินจ่าย" เมื่อประมาณปลายเดือน กพ.๕๐

ไม่ระบุ
เขียนเมื่อ

โปรแกรมบันทึกค่าใช้จ่ายประจำวัน ออนไลน์ ฟรี

http://www.paybook.freekrub.com

— บันทึกแล้วไม่จน —


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย