จิตตปัญญาศึกษา


ผมเขียนบันทึกเรื่องจิตตปัญญาศึกษา ในบล็อก Thaikm เป็นระยะๆ มาเป็นเวลากว่า ๒ ปี    อ่านได้ที่ http://gotoknow.org/blog/thaikm/tag/จิตตปัญญาศึกษา    

วันที่ ๒๒ ก.ย. ๕๑ มีการประชุม คณะกรรมการนโยบายโครงการศูนย์จิตตปัญญาศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ ๑/๒๕๕๑   การประชุมได้สาระมากมายจน ศ. กิตติคุณ สุมน อมรวิวัฒน์ ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวชมความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของผู้บริหาร    ที่มากันพร้อมเพรียงทั้งนายกสภา  กรรมการสภาที่เป็นกุนซือใหญ่ (ศ. นพ. ประเวศ วะสี) อธิการบดี  รองอธิการบดี และท่านอื่นๆ  

จินตนาการใหญ่ของโครงการนี้ คือการเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์เสียใหม่   เน้นการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงตนเองจากด้านใน เพื่อการเรียนรู้ที่สมบูรณ์   ไม่ใช่แค่เรียนรู้เชิงเทคนิค

การดำเนินการทำผ่านกิจกรรม ๔ อย่าง คือ (๑) การวิจัย  (๒) หลักสูตรระดับปริญญาโท   ซึ่งรุ่นแรกมี นศ. ๑๔ คน   (๓) การฝึกอบรม   และ (๔) การสื่อสารสาธารณะ และเครือข่าย   หวังว่าจะมีผลไปปฏิวัติ การศึกษาทั่วไป  หวังให้ นศ. ทำหน้าที่ change agent    ให้เกิด ชุมชนนักปฏิบัติ ด้านการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงตนเองจากด้านใน  

ผมได้ให้ความเห็นว่า แนวทางที่ศูนย์จิตตปัญญาศึกษาใช้ อาจเรียกว่าเป็นแนวทางวิชาการนำ    น่าจะเสริมด้วยแนวทางปฏิบัตินำ   หาหน่วยงาน (เช่น SCG)  หรือกลุ่มคน (เช่นนักเรียนโรงเรียนชาวนา มขข. สุพรรณบุรี) ที่ดำเนินการอยู่แล้ว   เห็นผลแล้ว   เชิญมา ลปรร. และทำความเข้าใจ แกมขยายผลเป็น CoP ของจิตตปัญญาศึกษา

คือผมมี bias ในเรื่องการใช้ KM เป็นเครื่องมือ    โดยใช้สมมติฐานว่า มีกลุ่มคนในที่ต่างๆ เขาปฏิบัติ transformative learning ได้ผลดีอยู่ในระดับหนึ่งแล้ว    หากเข้าไปเชื่อมโยงต่อยอด จะสามารถสร้าง จิตตปัญญาศึกษา จากแผ่นดิน/สังคม ของเราเองได้

 

วิจารณ์ พานิช

๒๒ ก.ย. ๕๑

หมายเลขบันทึก: 212622เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2008 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท