เข้าระบบ
สมัครสมาชิก
หน้าแรก
สมาชิก
ห้องสมุดกรมบัญชีก...
สมุด
สรุปข่าวประจำวันข...
คลังวุ่นเงินสดขาดมือ
ห้องสมุดกรมบัญชีกลาง CGD Library
สมุด
บันทึก
อนุทิน
ความเห็น
ติดต่อ
คลังวุ่นเงินสดขาดมือ
คลังวุ่นเงินสดขาดมือ ลุ้นออกตั๋วอีก 2 หมื่นล. จุกอกรายได้ไม่พอจ่าย ‘ของเดิม’ ใช้หมดแล้ว
ฐานะการคลังป่วนเงินสดขาดมือ เล็งขอเพิ่มวงเงินกู้โดยการขอออกตั๋วเงินคลังกู้เสริมสภาพคล่องอีก 2
หมื่นล้านบาท จากที่ก่อนหน้านี้ขอออกตั๋วเงินไปแล้ว 8 หมื่นล้านบาท
แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง กล่าวว่า จากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กำลังพิจารณาที่จะ ขอขยายกรอบการออกตั๋วเงินคลังเพิ่มจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 ที่อนุมัติไว้ให้ 8 หมื่นล้านบาท เพิ่มเป็น 1 แสนล้านบาท หรือเพิ่มอีก 2 หมื่นล้านบาท เพื่อให้พอรองรับต่อการเบิกจ่ายของภาครัฐ ซึ่งจะมีปัญหาเงินสดขาดมือ ประกอบกับช่วงนี้รายได้หายไปจำนวนมาก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการชะลอการอุปโภคบริโภคของประชาชนและกำลังการผลิตที่หดตัวลง “ตอนแรกคลังได้เสนอขอวงเงินในการออกตั๋วเงินคลังไป 1 แสนล้านบาท แต่ได้รับการอนุมัติแค่ 8 หมื่นล้านบาท ซึ่งวงเงินตั๋วเงินคลังที่ได้รับอนุมัติน้อยเกิน ทำให้ การบริหารเงินตึงตัว แต่ละเดือนรัฐต้องใช้เงินคงคลังแทบไม่เหลือเลย เนื่องจากรายได้ของรัฐบาลไล่ตามไม่ทันรายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว” แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า กฎหมายอนุญาตให้สามารถออกตั๋วเงินคลังเพิ่มได้ หากมีความจำเป็นที่ภาครัฐ ต้องนำไปใช้จ่าย ในช่วงที่การจัดเก็บรายได้ยังน้อย ซึ่งรัฐบาลจะต้องตั้งงบประมาณมาชดเชยปีถัดไปเพื่อทำงบสมดุล โดยที่ผ่านมาตั๋วเงินคลัง ที่ออกเมื่อเดือนธันวาคม จำนวน 6.8 หมื่นล้านบาท ได้ถูกใช้จ่ายไปหมดแล้ว แม้กระทรวงการคลัง เนื่องจากการเบิกจ่ายที่สูงกว่าปกติ จากนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้ใช้เงินลงทุนภาครัฐกระตุ้นเศรษฐกิจจึงทำให้เกิดปัญหาขาดดุลเงินสดในทุกเดือน จนต้องมีการออกตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในยามที่รายรับยังไม่เข้าหรือ ไม่พอกับรายจ่าย
แหล่งข่าวจากผู้บริหารกรมบัญชีกลาง กล่าวยอมรับว่า การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่าย ค่อนข้างมีปัญหาบ้างในช่วงนี้ เนื่องจากมีการเบิกงบ เหลื่อมปีเข้ามาค่อนข้างมาก ทำให้เงินรายได้ของภาครัฐเข้ามาไม่ทันรายจ่าย ในระยะนี้ ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ทางกรมบัญชีกลาง จึงให้มีการจัดลำดับความสำคัญของการเบิกจ่ายของแต่ละหน่วยงาน โดยดูจากความเดือดร้อนหากต้องการใช้เงินเร่งด่วนก็จะได้เบิกก่อน เช่น ค่าเดินทางของข้าราชการ ค่าเบี้ยเลี้ยง อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าปัญหาการขาดสภาพคล่องคงจะหมดไปหลังรายได้เข้ามาในช่วงตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จากภาษีนิติบุคคล ซึ่งประมาณการไว้ว่าเงินคงคลังจะเหลือทั้งปี ที่ประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาท
แหล่งข่าว สบน. กล่าวว่า ในการขอออกตั๋วเงินคลังเมื่อปลายปีที่ผ่านมาได้ขอไปจำนวน 1 แสนล้านบาท แต่เนื่องจากรัฐบาลถูกโจมตีอย่างหนักว่าถังแตกใช้จ่ายเกินตัว ทางคณะรัฐมนตรีจึงลดวงเงินที่ขอไป เพื่อลดกระแสกดดันทางการเมือง ทำให้การบริหารเงินคงคลังยังมีปัญหาอยู่ สภาพคล่อง และต้องขอกู้เพิ่มเท่ากับที่ขอไปครั้งแรก “ที่ผ่านมาทาง นายวีรพงษ์ รามางกูร ในฐานะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนปัจจุบัน ได้เสนอทางแก้ไข
โดยการในการขาดเงินสดและการบริหารเงินคลังด้วยการออกพันธบัตรแทนตั๋วเงินคลัง ด้วยหลักการที่ว่าภาระระยะยาวก็ควรชดเชยด้วยหนี้ระยะยาวและควรบริหารเงินระยะสั้นให้เกิดประโยชน์ซึ่งตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ” แหล่งข่าวระบุ
แหล่งข่าวกล่าวว่า ปัญหาตอนนี้คนในสำนักงบประมาณรู้เรื่องดี ว่าจริง ๆ แล้วที่รัฐบาลประกาศว่า ใช้งบประมาณสมดุลนั้น ไม่เป็นความจริง เพราะขาดดุลมาตลอด ดูได้จากดุลเงินสดที่ขาดดุล ต้องออกตั๋วเงินคลังเสริมสภาพคล่องอยู่ตลอด ล่าสุดเดือนมีนาคม 2549 ได้ออกตั๋วเงินคลังอีกจำนวน 6.8 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกันตั๋วเงินคลังที่ออกก่อนหน้านี้ เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ จนบัดนี้ยังคงต้องยืดอายุ ออกไปเรื่อย ๆ อีก 1.7 แสนล้านบาท
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์เป็นต้นมา ถึงวันที่ 20 มีนาคม ได้ออกประมูลตั๋วเงินคลังไป 6.3 หมื่นล้านบาท อายุตั้งแต่ 28 วัน จนถึง 182 วัน โดยในงวดวันที่ 27 มีนาคมนี้ จะประมูลอีก 1.7 หมื่นล้านบาท
โพสต์ทูเดย์ 27 มีนาคม 2549
เขียนใน
GotoKnow
โดย
ห้องสมุดกรมบัญชีกลาง CGD Library
ใน
สรุปข่าวประจำวันของห้องสมุดกรมบัญชีกลาง
คำสำคัญ (Tags):
#uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21087
เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2006 11:36 น. (
)
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:37 น. (
)
สัญญาอนุญาต:
จำนวนที่อ่าน
ความเห็น
ไม่มีความเห็น
หน้าแรก
สมาชิก
ห้องสมุดกรมบัญชีก...
สมุด
สรุปข่าวประจำวันข...
คลังวุ่นเงินสดขาดมือ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID
@gotoknow
สงวนลิขสิทธิ์ © 2005-2024 บจก. ปิยะวัฒนา
และผู้เขียนเนื้อหาทุกท่าน
นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท