beyondKMเขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2549 11:22 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 14:37 น. ()
สำหรับผมแล้วประชาธิปไตยดีตรงที่ ....ไม่ว่าท่านจะเชียร์หรือต่อต้านใคร .....ไม่ว่าท่านจะเป็นผู้ที่มีอำนาจ มีพวกพ้องมากมาย หรือไม่ว่าท่านจะพูดเสียงดังแค่ไหน....พอมาถึงวันเลือกตั้งแล้ว เราทุกคนล้วนต่างก็มีสิทธิ์มีเสียง "เท่ากัน"
เหลือเวลาเพียงสัปดาห์เดียวก็จะถึงวันเลือกตั้งแล้วนะครับ
นี่เป็นครั้งแรกที่ผมเขียนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมือง
...สงสัยผมจะ "อคติ"
กับเรื่องการเมืองนะครับ เพราะเพียงแค่พูดว่าจะเขียนเรื่องการเมือง
มันก็ทำให้ผมรู้สึกไม่ค่อยจะดีแล้ว ...ขอแก้ใหม่
เอาเป็นว่าผมกำลังจะพูดเรื่อง "ประชาธิปไตย" ก็แล้วกัน
...เป็นการพูดเชิงบวกของประชาธิปไตยนะครับ....
สำหรับผมแล้วประชาธิปไตยดีตรงที่
....ไม่ว่าท่านจะเชียร์หรือต่อต้านใคร
.....ไม่ว่าท่านจะเป็นผู้ที่มีอำนาจ มีพวกพ้องมากมาย
หรือไม่ว่าท่านจะพูดเสียงดังแค่ไหน....พอมาถึงวันเลือกตั้งแล้ว
เราทุกคนล้วนต่างก็มีสิทธิ์มีเสียง "เท่ากัน"
...ไม่ว่าท่านจะมีเงินเป็นร้อยล้านพันล้าน
หรือยากจนจนแทบจะไม่มีอาหารยาไส้ ...พอไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
เราทุกคนต่างก็มีกันคนละหนึ่งเสียง จะสนับสนุน หรือต่อต้าน
จะเลือกหรือไม่เลือก ก็เป็นสิทธิ์ของแต่ละคน
บางคนอ่านมาถึงตรงนี้
.....บอกว่ารู้แล้วล่ะว่าผมอยู่ฝ่ายไหนหรือเชียร์ใคร?
...ที่ท่านคิดอยู่นั้น ...ไม่ใช่หรอกครับ
คนที่รู้จักผมดีจะรู้ว่าแท้ที่จริงแล้ว
ผมเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับที่ท่านคิดไว้ ...ถามจริงๆ เถอะครับว่าจริงๆ
แล้วจำเป็นต้องรู้ด้วยหรือว่าผมนั้นอยู่ฝ่ายไหน?
ที่หลายคนอยากรู้... เพราะบอกว่าตั้งแต่รู้จักกันมายังไม่เคยเห็นผมแสดง
"จุดยืน"
ในเรื่องนี้ไว้เลย ไม่เคยเปิดเผยว่าต่อต้านหรือเชียร์ทักษิณกันแน่
....เพราะแม้แต่ลูกชายผมเขายังแสดงจุดยืนไว้อย่างชัดเจนว่าจะไปกาช่อง
"ไม่เลือก"
ส่วนแม่ของผมก็โทรมาจากต่างจังหวัดบอกให้พวกเราทุกคนในบ้านเลือกคุณทักษิณ
!!
จริงๆ
แล้วผมได้ตัดสินใจไปแล้วล่ะครับว่า จะเลือกอย่างไรในวันที่ 2
เมษาที่กำลังจะมาถึงนี้ เพราะเป็นวันที่ ....พวกเราทุกคนมีสิทธิ์มีเสียงเท่ากัน
...แต่นั่นก็คือการตัดสินใจที่แม้แต่คนที่นอนข้างเราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเราเลือกใคร
(หรือว่าไม่เลือก) .....ผมชอบประชาธิปไตยก็ตรงนี้นี่แหละครับ
เราสามารถตัดสินใจได้โดยไม่ต้องบอกให้ใครรู้ถึงการตัดสินใจของเรา
!!
ความเห็น
เลือกตั้งเป็นหน้าที่ เพราะฉะนั้นจะเชียร์ จะต่อต้าน จะชอบ
หรือไม่ชอบ ก็ต้องทำหน้าที่
แต่...ประชาธิปไตยที่ตัดสินใจของตัวเองได้โดยไม่ต้องบอกใครนั้น
จะเป็นการตัดสินใจที่ไม่มีใครกำหนดได้ ไม่มีเงื่อนไขของการแลกเปลี่ยน
หรือแม้แต่ "ต้องทำตาม (เพราะถ้าไม่ทำตาม อาจจะมีผลที่ตามมา
จากการตัดสินใจของคนอื่นได้)" ได้หรือไม่?
อย่างที่อาจารย์กล่าวไว้ว่า ทุกคนมีสิทธิ์มีเสียงเท่ากัน
และขอให้ ทุกคนเป็นเจ้าของสิทธิ์และเสียงเท่ากัน
เป็นเจ้าของการตัดสินใจเอง ไม่งั้นอาจกลายเป็น มีสิทธิ
แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของการตัดสินใจในสิทธินั้น
เห็นด้วยกับอาจารย์......แต่ผมไม่แน่ใจว่าการตัดสินใจของผมมันควรมีค่าแค่ไหน
ถ้าหากว่าผมเลือกทักษิณและมีหลายคนเลือกทักษิณ
จนได้เสียงข้างมากเขาจะยอมรับกันไหม...ที่ผมยังเลือกทักษิณเพราะผมได้รับข้อมูลจากทั้งหมดแล้วประเมินด้วยตัวผมเอง
ผมยอมรับได้ ผมไม่ได้ต้องการนายกที่ดีเลิศประเสริฐศรีเหมือนอรหันต์
แต่ผมต้องการแค่คนที่จะบริหารประเทศได้ ทำงานเป็น
ผมเลือกแล้ว และผมหวังว่า 1
เสียงของผมถ้ามันอยู่ข้างมาก ก็ควรได้รับการยอมรับ
ความเห็นท่านอาจารย์ อ่านออกมาแล้ว
ดูกลางมากครับ เพราะไม่รู้เลย
ไม่แน่ใจเท่าไหร่เมื่ออ่านจบ ว่าอาจารย์อยู่ข้างไหน
แต่ในส่วนตัวผมเองแล้วก็มีคำตอบเช่นกันครับ
แต่ไมใช่อยู่ตรงกลาง เป็นอีกขั้วครับ
ผมตั้งคำถามว่าทำไม
ผู้คนที่ได้รับข้อมูลมากมายเท่ากันแต่ก็ยังคิดต่างกัน
คนละด้านเลยครับ
ผมว่ามีจุดเดียวที่จะเป็นหลักยึดและข้อยุติได้ คือพุทธรรม
เป็นพุทธรรมที่แท้จริง
และไม่ได้ตัดตอนมาบางส่วนเสี้ยวเพื่อสนุบสนุนความถูกต้องของตนเอง
ผมว่าเรื่องราวในปัจจุบันไม่ควรจะเกิดส่วนที่เป็นตรงกลาง
ถ้ายิ่งเวลาผ่านไป ก็คงจะกลายเป็นขั้วมากเรื่อยๆ
เรื่องของความคิด
ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมือง เราสามารถนำเรื่อง KM
เข้ามาเชื่อมโยงได้ดี
เชื่อมโยงแล้วน่าจะพบความจริงมากขึ้น
แล้วนำไปสู่ความเข้าใจและความเป็นสภาพที่แท้จริงของสิ่งที่ปรากฏอยู่
เป็นภาพร่วมจริงที่ไม่ได้เกิดจากการตีความหรือรับรู้ของคนใดคนหนึ่งครับ
คุณ bukpat ครับ ...ผมชอบคำว่า "สภาพที่แท้จริงของสิ่งที่ปรากฎ"
ครับ ...เพราะมองว่านั่นก็คือ "ปัญญา" นั่นเอง
....เรียนตามตรงครับว่าผมเองก็เป็น "ขั้วหนึ่ง" เช่นกัน ....ถ้าเราวางใจ "เป็นกลาง" ได้
คงจะดีนะครับ
ไปมาแล้วครับท่านอาจารย์ ชุดแรกเลยของหน่วย ต้องใช้
"ตรายาง"