หลักจิตวิทยาและทฤษฏีการเรียนรู้ในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


จิตวิทยากับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ทฤษฏีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์ (Skinner)
หลักการของสกินเนอร์คือ จะให้รางวัลทุกครั้งที่ทำตามเงื่อนไขได้ถูกต้อง   เมื่อนำมาใช้กับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้เรียนเรียนได้ตามลำพัง  เมื่อสำเร็จแต่ละขั้นตอนจะได้รับรางวัลหรือการเสริมแรงทันที
กฎแห่งการเสริมแรง มีสาระสำคัญ 2 ประการ ได้แก่
1. ตารางการกำหนดการเสริมแรง  เช่น เวลา และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเป็นตัว
กำหนดการเสริมแรง(อารี พันธ์มณี. 2534,หน้า 118)
2. อัตราการตอบสนองเกิดจากการเสริมแรงต่างๆ มากหรือน้อยและคงทนถาวรเพรียงใด
ขึ้นอยู่ กับตารางการกำหนดการเสริมแรงนั้นๆ แบ่งออก 4 วิธีได้แก่  (กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. 25436.หน้า 163)
2.1 การเสริมแรงโดยใช้เวลากำหนดที่ตายตัว เช่นการเสริมแรง ทุกๆ 3 นาที หรือ 5 นาที เป็นต้น
2.2 การเสริมแรงโดยให้พฤติกรรมกำหนดคงที่ เช่นจะต้องมีการตอบสนองในพฤติกรรมที่
ต้องการกี่ครั้ง  จึงจะได้รับการเสริมแรง เช่น ตอบถูก 3 ข้อ ให้ดาว 1 ดวง เป็นต้น
2.3 การเสริมแรงที่ใช้เวลาไม่แน่นอน   ไม่ตายตัว ทำระยะที่เห็นว่าเหมาะสม
2.4 การเสริมแรงโดยใช้ช่วงพฤติกรรมต่างๆ ที่ไม่คงที่เป็นเกณฑ์
ดังนั้น  การประยุกต์เอาหลักการเสริมแรงของสกินเนอร์ มาใช้กับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย
สอน   ผู้เรียนจะต้องได้รับการเสริมแรงทันที เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้อง
หมายเลขบันทึก: 21075เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2006 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบใดที่สอดคล้องกับแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยมหรือคะ?  เพราะอะไรหรือ?
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท