สรุปการออกเยี่ยมโครงการ โรงเรียนบ้านโพนทอง วันที่ 17 มีนาคม 2549


สรุปผลการจัดกิจกรรม
โครงการประสานงานวิจัยการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น  จังหวัดมหาสารคาม
วันที่  17  มีนาคม   2549
ณ  โรงเรียนบ้านโพนทอง  อำเภอนาดูน  จังหวัดมหาสารคาม

ความเป็นมา
                   ฐานคิดสำคัญของการบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานคือ “การจัดการศึกษาที่ให้โอกาสชุมชนได้มีส่วนร่วม มีความเหมาะสมสอดคล้องกับท้องถิ่นและเอื้อต่อการปฏิบัติงานร่วมกันกับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  ที่มีทิศทางการทำงานมุ่งเน้นไปที่  “สร้างสรรค์ปัญญา  พัฒนาท้องถิ่น ที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก (สกว.) สำนักงานภาค แล้ว 9 โครงการจากนั้น  ทางสำนักงานชุดโครงการประสานงานวิจัยการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น  ได้ออกเยี่ยมติดตามกิจกรรมของ   โครงการบูรณาการสาระการเรียนรู้ในการส่งต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นและกิจกรรมชุมชนเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับนักเรียนและเยาวชนโดยชุมชนกรณีศึกษา  :  “หมู่บ้านเข้มแข็งต้นแบบ”  บ้านโพนทอง  อำเภอนาดูน  จังหวัดมหาสารคาม  โดยมี  ผอ.ศักดิ์พงศ์  หอมหวน    ผอ.ธงชัย  ดาวยันต์   เป็นวิทยากรแนะนำการดำเนินงานกิจกรรม และมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม  คือ  ผู้ใหญ่บ้าน  ชาวบ้านของหมู่บ้านโพนทอง  อบต. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม  110  คน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ภารกิจ / กิจกรรม  ของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น  ชุดประเด็นการศึกษา  ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ  บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์    และมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับต่อไป


วัตถุประสงค์
           1.  เพื่อทำความเข้าใจกับชุมชนของหมู่บ้านโพนทองในเรื่องการส่งต่อภูมิปัญญาท้องถิ่น
           2.  เพื่อรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นและกิจกรรมการส่งต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นมีอะไรบ้าง


กิจกรรมสำคัญ
          ฟังการบรรยาย   ของ  ผอ.ศักดิ์พงศ์  หอมหวน   ผอ.ธงชัย  ดาวยันต์  พูดถึงเรื่องการดำเนินกิจกรรมหมู่บ้านโพนทองจะเอาอะไรบ้างมาส่งต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นและกิจกรรมชุมชนส่งต่อกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนและเยาวชนอย่างไร  และร่วมกันเสนอเรื่องที่จะมาส่งต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นของโครงการโรงเรียนบ้าน โพนทอง

สรุปประเด็นสำคัญ
          โครงการบูรณาการสาระการเรียนรู้ในการส่งต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นและกิจกรรมชุมชนเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับนักเรียนและเยาวชนโดยชุมชนกรณีศึกษา  :  “หมู่บ้านเข้มแข็งต้นแบบ”  บ้านโพนทอง  อำเภอนาดูน  จังหวัดมหาสารคาม ได้กำหนดตารางกิจกรรมให้ชุมชนได้รับรู้ว่าโครงการจะดำเนินไปอย่างไร


   ตารางแผนกิจกรรม

  กิจกรรม
ระยะเวลา
  ประชุมประจำเดือน  ทีมวิจัยทุกเดือน  (14  ครั้ง)
1  มีนาคม 2549  -  31  พฤษภาคม  2550
  ประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับชุมชน
17  มีนาคม. 2549
  ประชุมทีมวิจัยนักเรียน  เยาวชน
28  มีนาคม  2549
  เก็บข้อมูล / ประวัติหมู่บ้าน / กิจกรรมดีเด่น   /  ภูมิปัญญาท้องถิ่น
1 30 เมษายน  2549
  สรุปและแลกเปลี่ยนข้อมูล
เมษายน  2549
  การศึกษาดูงานนอกสถานที่
พฤษภาคม  2549
  วางแผนการส่งต่อกิจกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น
พฤษภาคม  2549
  รายงานความก้าวหน้าโครงการ
พฤษภาคม  2549
  ดำเนินการส่งต่อภูมิปัญญาท้องถิ่น
มิถุนายน พฤศจิกายน  2549
  สรุปผลกับสาระการเรียนรู้ 8  สาระ
ธันวาคม  2549
  สรุปวิเคราะห์ผลจากการเรียนรู้กับ มาตรา  23 
  ของ  พรบ.  การศึกษา  2542
มกราคม กุมภาพันธ์  2550
  จัดทำรายงานผลการวิจัยเล่มสมบูรณ์
มีนาคม พฤษภาคม  2550

ภูมิปัญญาที่จะมาส่งต่อมีอะไรบ้าง
      ข้อเสนอของชุมชน
      1.  มโหรีพื้นบ้าน
      2.  ศาสนพิธี
      3.  พานบานศรีสู่ขวัญ
      4.  การจักสาน / สานแห / สานสวิง / สานหวด
      5.  ทอผ้าไหม
      6.  การเลี้ยงหม่อนเลี้ยงไหม
      7.  ทอผ้าฝ่าย
      8.  หมอยาสมุนไพร
      9.  ปุ๋ยชีวภาพ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21071เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2006 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท