ไข่ (ตอนที่2)


บวกของแถมนั้นคือคุณภาพดินที่เสียไปจากการใช้เคมี

     

หลังจากที่ได้เขียนความรู้ในเรื่อง ไข่ (ฮอร์โมนไข่) ในวันที่ 19 กันยายน 2551ยังคงมีความรู้สืบเนื่องจากไข่อีกเรื่องที่ได้รับจากเวทีเรียนรู้ของเกษตรกรโครงการส่งเสริมผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ปี 2551 โดยวิทยากรปราชญ์ชาวบ้านของเรา (คุณครูวิโรจน์  ชูทุ่งยอ) นั้นคือ การใช้ฮอร์โมนไข่และการใช้ปุ๋ยหมัก พด.2 มาใช้กับเงาะหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว การเก็บเกี่ยวผลผลิตในสวนเงาะส่วนใหญ่จะเก็บเกี่ยวโดยการตัดแต่งกิ่งควบคู่กันไป เพื่อลดต้นทุนในการผลิต เพราะว่าหากไม่ตัดแต่งกิ่งไปด้วยนั้นจะทำให้สิ้นเปลืองค่าจ้างตัดแต่งกิ่งอีกครั้ง (อำเภอบ้านนาเดิม ค่าแรงงานจ้างตัดแต่งกิ่งเงาะต้นละ 30-40 บาท ถ้าเงาะอายุ 20 ขึ้นไป) หลังจากตัดแต่งกิ่งเกษตรกรส่วนใหญ่จะเผ่าทำลาย หรือขายต้นขายกิ่งต้นละประมาณ200 บาท  แต่ปราชญ์ชาวบ้านของเรานั้นจะนำกิ่งที่ตัดแต่งแล้วมากองใกล้ๆกับสปริงเกอร์(คุณครูวิโรจน์จะให้ฮอร์โมนไข่ หรือ พด.2ควบคู่ไปกับน้ำในสายสปริงเกอร์เพื่อลดต้นทุนและแรงงาน) เมื่อกิ่งที่ตัดแต่งได้น้ำปุ๋ยหมักจากสปริงเกอร์ทุกวัน กิ่งจะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยลงไปบำรุงต้นเงาะที่กำลังแตกกิ่งใหม่ ได้ปุ๋ยอีกครั้งโดยที่ไม่ได้เสียเงินแม้แต่บาทเดียว ดีกว่าที่เกษตรกรส่วนใหญ่ขายต้นได้ต้นละ 200 บาท แล้วนำเงินมาซื้อปุ๋ยเคมีกระสอบละ 1,500 บาท (กี่ต้นกว่าจะได้ ?)  บวกของแถมนั้นคือคุณภาพดินที่เสียไปจากการใช้เคมี ในปีหนึ่งๆท่านปราญช์ได้รับเงินเลขหกหลักภายหลังจากใช้วิธีการนี้ แบบนี้ถือได้ว่าได้รับ GAP ร้อยเปอร์เซ็นต์โดยไม่ต้องผ่านการตรวจจากหน่วยงานไหนๆ ขอยกนิ้วให้..

 

 

หมายเลขบันทึก: 210572เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2008 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2012 09:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

หวัดดีครับ

  • ภูมิปัญญา + การค้นคว้า ของชาวสวน ไม่รู้ว่าใช้เวลา กี่ปีนะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท