โครงการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง อาณาจักรสัตว์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4
หลักการและเหตุผล
การจัดการศึกษาในปัจจุบันได้นำพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มาเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา สถาบันการศึกษาทุกระดับจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนจำเป็นอย่างยิ่งต้องให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ประสิทธิภาพ และเทคโนโลยี เพื่อการศึกษาอย่างเพียงพอ จัดให้มีแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
อาณาจักรสัตว์ เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งของสาระการเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ระดับช่วงชั้นที่ 4 (มัธยมศึกษาตอนปลาย) แต่การศึกษาในรายวิชานี้ยังประสบปัญหา อุปสรรคหลายประการเนื่องจากเนื้อหาสาระส่วนใหญ่ อยู่ในรูปนามธรรมมากกว่ารูปธรรม ทั้งยังมีคำศัพท์ภาษาอังกฤษมากยากต่อการจดจำ และในกระบวนการจัดการเรียนการสอนปัจจุบันยังคงใช้สื่อประเภทแผ่นภาพ ประกอบการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาวิชาได้ยาก แนวทางแก้ไขปัญหาแนวทางหนึ่งคือการนำเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้พัฒนาการเรียนการสอนคือการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และนอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้วยังเป็นการปฏิบัติ และดำเนินการ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามมาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพและมาตรา 66 ให้ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (วิชัย ตันศิริ,2543 หน้า 104) เป็นผลทำให้การเรียนการสอนในปัจจุบันนี้ ได้มีการนำเอาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาช่วยในการเรียนการสอนเนื่องจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูเพิ่มประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลในการเรียนการสอนดีขึ้น เพราะครูสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการสอน การทบทวน การทำแบบฝึกหัด การทำแบบทดสอบ และการวัดผล สามารถจัดการสอนโดยเรียงลำดับความยากง่ายโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนตลอดเวลา และยังสามารถทบทวนบทเรียนได้ทุกโอกาสนอกจากนั้นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนยังสามารถโต้ตอบและแสดงผลลัพธ์ได้ทันทีในลักษณะข้อความ ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว นักเรียนจะรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างสนุกสนาน (สุกรี รอดโพธิ์ทอง,2530 หน้า 2-3 อ้างถึงจาก จุฑามาศ ชัญญะพิเชษฐ์, 2544 หน้า 3 )
ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 คณะผู้ศึกษาค้นคว้าจึงมีความสนใจที่จะสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง อาณาจักรสัตว์ สำหรับนักเรียน ระดับช่วงชั้นที่ 4 กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้สาระวิทยาศาสตร์ ระดับช่วงชั้นที่ 4 เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เรื่อง อาณาจักรสัตว์ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และแก้ปัญหาการใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนในปัจจุบัน
วัตถุประสงค์
1. ผู้เรียนสามารถระบุเกณฑ์ที่สำคัญในการจำแนกสัตว์ออกเป็นหมวดหมู่ใหญ่และหมวดหมู่
ย่อยได้
2. ผู้เรียนสามารถจำแนกสัตว์ออกเป็นหมวดหมู่ได้
3. ผู้เรียนสามารถสรุปความสำคัญของสัตว์แต่ละไฟลัมได้
จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องอาณาจักรสัตว์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
2. เพื่อช่วยในการจัดการเรียนการสอนของครู และเร้าความสนใจของผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนานและมีความสุข
3. เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดความสนใจใคร่รู้และไม่เกิดความเบื่อหน่ายต่อบทเรียนที่เนื้อหามากและมีความยากต่อการจดจำ
ขอบเขต
เป็นการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง อาณาจักรสัตว์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ข้อตกลงเบื้องต้น
ผู้เรียนที่เรียนผ่านบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง อาณาจักรสัตว์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จะต้องมีความรู้พื้นฐาน ในการใช้คอมพิวเตอร์มาก่อน
วิธีดำเนินการ
1. ประชุมวางแผนงาน , ศึกษากลุ่มเป้าหมาย,ศึกษาเนื้อหา , วิเคราะห์เนื้อหา , กำหนดขอบเขต
เนื้อหา , เลือกหัวข้อเรื่อง
2. ศึกษาวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและวัตถุประสงค์ของเนื้อหา
3. เสนอหัวข้อและรับคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา
4. ศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการสอน ทฤษฎีประมวลสารสนเทศการออกแบบบทเรียน
โปรแกรม ทฤษฎีการออกแบบกราฟิก
5. ศึกษาวิธีการ กระบวนการผลิตและเทคนิคการผลิต
6. ขั้นออกแบบ กระบวนการ ระบบที่จะใช้ในการพัฒนา เขียนโครงสร้างเนื้อหาบทเรียน
7. ผลิตบทเรียน
8. ทดลองใช้กับกลุ่มย่อย
9. วัดความคิดเห็น / เจตคติ ผลย้อนกลับ
10. ประเมินผล
11. ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
12. ปรับปรุง
13. นำไปเผยแพร่ (ส่งอาจารย์)
ผู้รับผิดชอบ
1. นางชนิดาพร ขวัญจำเริญ รหัสนิสิต 47093141
2. น.ส.ธนิตา ชาติวุฒิ “ 47093257
3. น.ส.นิภาพร จันเสนา “ 47093372
4. น.ส.วีนัส สนโต “ 47093620
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง อาณาจักรสัตว์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที 4 ได้อย่างสนุกสนาน
2. ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ (ชีววิทยา)
3. ผู้เรียนมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
4. ผู้เรียนสามารถระบุเกณฑ์สำคัญในการจำแนกสัตว์ออกเป็นหมวดหมู่ใหญ่และ
หมวดหมู่ย่อย
5. ผู้เรียนสามารถจำแนกสัตว์ออกเป็นหมวดหมู่ได้
6. ผู้เรียนสามารถสรุปความสำคัญของสัตว์แต่ละไฟลัม
7. ผู้เรียนสามารถจำและท่องศัพท์เกี่ยวกับเรื่องอาณาจักรสัตว์ได้
แนวทางประเมินโครงการ
1. ประเมินจากผู้เรียนโดยใช้แบบสอบถามเจตคติ และแบบทดสอบความรู้
2. ประเมินความสามารถของผู้เรียนโดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน
3. นำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาบทเรียน
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เรื่อง อาณาจักรสัตว์
สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โดย
ชนิดาพร ขวัญจำเริญ 47093141
ธนิตา ชาติวุฒิ 47093257
นิภาพร จันเสนา 47093372
วีนัส สนโต 47093620
เสนอ
ดร.รุจโรจน์ แก้วอุไร
เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 355542 การออกแบบและพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
มหาวิทยาลัยนเรศวร