การสร้างสมดุลของการพัฒนาคุณภาพ


การจัดการความรักกับการจัดการความรู้ และ การจัดการความเสี่ยงกับการจัดการความสุข

                   หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มีการพัมนาคุณภาพหน่วยงานเพื่อมุ่งหวังสิ่งที่ดีที่จะเกิดขึ้นแก่ผลงานที่ลูกค้าได้รับ จึงมีการนำเอาแนวคิด แนวทางและรูปแบบการพัฒนาที่หลายหลายมาใช้มีทั้งสำเร็จและสับสน ยิ่งยึดติดรูปแบบมากเท่าไหร่ ยิ่งสับสนและไปไม่ค่อยไกลเท่านั้น

                    หากมองเรื่องคุณภาพแล้ว คุณภาพก็เหมือนความดี ระบบบริหารคุณภาพก็เหมือนศาสนา ทุกศาสนาสอนให้คนทำดี ความดีเป็นสากล คุณภาพก็เป็นสากล หากระบบไหนก็ตามสอนให้เราทำงานที่ได้คุณภาพแล้ว ย่อมไม่ผิด เพียงแต่จะเลือกได้เหมาะกับหน่วยงานเราหรือไม่

                    หากมีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนนั้น ผมมมองว่า เราจะต้องสร้างสมดุลให้ได้ในการจัดการ 2 คู่ คือ

1.  การจัดการความรักกับการจัดการความรู้ การพัฒนาคุณภาพเป็นกระบวนการเรียนรู้ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนอยุ่เรื่อยๆ เพราะโลกเปลี่ยนไป สังคมเปลี่ยนตาม เราและหน่วยงานก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย ระบบคุณภาพหรือมาตรฐานก็จำต้องเปลี่ยนไป ตามการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น แต่ในการเรียนรู้นั้นพลังสำคัญจะเกิดขึ้นได้จะต้องไม่ขาดความรักความสามัคคีของคนในหน่วยงานหรือในสังคม นั่นคือต้องมีการจัดการความรักด้วย นักวิชาการด้านHRDได้สรางสมการ สินทรัพย์ทางปัญญาขององค์การขึ้นมา ดังนี้

                         Intellectual capital = Competency x Commitment

โดยการจัดการความรู้สร้างปัญญา(ความรู้ที่ปฏิบัติได้จริง ซึ่งทำให้คนทำงานมีสมรรถนะ(Competency)กลายเป็นKnowledge worker ได้ ส่วนการจัดการความรัก จะช่วยสรางสัมพันธภาพที่ดีระหว่างคนกับคน คนทำงานกับลูกค้า คนทำงานกับองค์การ ลูกค้ากับองค์การ ส่งผลให้คนมีความรักที่จะทำงานให้ดี มีความมุ่งมั่นที่จะทำ(Commitment)หรือเรียกง่ายว่าเต็มใจทำ งานก็จะสำเร็จได้โดยง่าย 

2.  การจัดการความเสี่ยงกับการจัดการความสุข เป็นอีก 2 เรื่องที่ต้องสร้างสมดุลให้ได้ การจัดการความเสี่ยง(Risk)เป็นการหาโอกาสในการพัฒนาหรือหาบทเรียนจากความล้มเหลวผิดพลาด ส่วนการจัดการความสุขเป็นการสร้างคุณค่าในสิ่งที่ทำได้ดีในหน่วยงาน ในหน่วยงานหนึ่งๆย่อมมีทั้งความสุขหรือSuccess story(คือความสำเร็จ คำยกย่องชื่นชม)กับความทุกข์หรือRisk/Mistake/defect/Error(คือความผิดพลาด ล้มเหลว โอกาสที่จะเกิดสิ่งไม่ไดในหน่วยงาน)  เหมือนกับคนๆหนึ่งก็ย่อมมีทั้งสุขและทุกข์ ทั้งสองประการนี้มีประโยชน์ต่อชีวิตเสมอ ในทำนองเดียวกันในองค์การก็เช่นกัน เราสามารถหยิบเอาทั้งสุขและทุกข์มาทำให้เกิดประโยชน์ได้

                ในการทำงานจึงต้องมองทั้งผิดพลาดและสำเร็จ แต่การมองผิดพลาดอาจเกิดข้อขัดแย้ง ปกป้องตนเอง การทะเลาะเบาะแว้งกันได้ หากเริ่มจากความสำเร็จ คำชื่นชมก่อนจะช่วยสร้างบรรยากาศแห่งความสุข สดชื่น การพูดคุยแลกเปลี่ยน ร่วมมือกันก็จะง่ายขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #kmกับคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 20836เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2006 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท