การจัดการดูแล..ผู้ป่วยมะเร็งที่ภูมิต้านทานต่ำมาก


CoP เคมีบำบัด แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่มีภูมิต้านทานต่ำมาก

Knowledge sharing 2/2551

9 กันยายน 2551

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่มีภูมิต้านทานต่ำ

 

ผู้เข้าร่วมประชุม คือ พยาบาลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยจากหอผู้ป่วยต่างๆ

ผู้นำเสนอ คือ นางสาวมีนา  วงษ์หนองแล้ง

 

เราชาวหอผู้ป่วยเคมีบำบัด ได้มีโอกาสเชิญชวนพยาบาลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยภูมิต้านทานต่ำจากการได้รับยาเคมีบำบัด มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยของเราค่ะ

 

ปัญหาผู้ป่วย

·        ไข้จากเม็ดเลือดต่ำ

·        เกร็ดเลือดต่ำ มีโอกาสเลือดออกง่าย

·        วิตกกังวลกลัวโรคกลับเป็นซ้ำ

 

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่มีภูมิต้านทานต่ำ

·        ส่งเวรให้บุคลากรให้เห็นความสำคัญในการเฝ้าระวัง

·        อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ ถึงความจำเป็นในการดูแลแตกต่างจากผู้ป่วยอื่นๆ เช่น เจ้าหน้าที่จะต้องผูก Mask ผู้ป่วยจะต้องเข้าห้องแยก

·        บุคลากรจะต้องเตรียมความพร้อมทั้งด้านความรู้ จะต้องมีบุคลิกภาพดี เป็นที่น่าเชื่อถือ

·        บุคลากรต้องให้การพยาบาลด้วยสีหน้าท่าทางดี ยิ้มแย้มแจ่มใส ดูแลผู้ป่วยประดุจญาติมิตร

·        เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ซักถาม พูดคุยและระบายสิ่งไม่สบายใจ

·        ควรจัดทำคำแนะนำการปฏิบัติตัวในห้องแยกด้วย

·        จัด Waterless ไว้ล้างมือก่อนการดูแล

·        จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยความสะดวก เช่น หนังสือธรรมมะ ทีวี   วิทยุเปิดเทปธรรมมะ

·        อำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยได้นั่งสมาธิ

·        ควรอนุญาตให้ผู้ป่วยออกมานอกห้องบ้าง โดยปิด Mask

·        แนะนำผู้ป่วยสังเกตจุดจ้ำเลือด หรืออาการผิดปกติ เช่น อาการปวดศีรษะ หน้ามืด ตาลาย

·        แนะนำให้ผู้ป่วยระมัดระวังพลัดตกหกล้ม อาจหน้ามืด วิงเวียนง่าย

 

หลังจากประชุม

เราได้แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดเป็นอย่างดี

ทุกวันนี้กรณีผู้ป่วยแบบนี้มีมากขึ้นเรื่อยๆและเราภาคภูมิใจมากที่พวกเราได้ดูแลผู้ป่วยจนอัตรารอดชีวิตมีมากขึ้น

ถึงแม้ว่า เม็ดเลือดขาวจะต่ำจนถึง 0 ก็ตาม

หมายเลขบันทึก: 208161เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2008 18:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ภาพกิจกรรม

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

น้องสนใจเข้าแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน  ประมาณ 30 คนค่ะ

                           อุบล จ๋วงพานิช รายงาน

คุณอภิญญาเล่าว่า ผู้ป่วยที่มีจุดจ้ำเลือดตามตัว แล้วไปนวด ต่อมาเลือดออกในสมองทำให้เสียชีวิตในเวลาต่อมาค่ะ

น้องพยาบาลจากศัลยกรรม เล่าว่า ผู้ป่วยเหล่านี้จะเม็ดเลือดแดงต่ำ เกร็ดเลือดต่ำด้วย เวลาเข้าห้องน้ำต้องระวังเพราะจะหน้ามืด หกล้มง่าย ดังนั้นต้องระมัดระวังมากๆนะคะ

  • ขอบคุณค่ะ ได้ความรู้ดีค่ะ

พยาบาลจาก 5ก เล่าว่า การฉีดยา ให้เลือด ต้องกดไว้นานๆก่อน เพราะเลือดจะไหลไม่หยุดค่ะ

พยาบาล 5จ บอกว่า

การดูแลเมื่อผู้ป่วยปวดศีรษะ

  • ประเมินปวด
  • ประเมิน neuro signs Vital signs
  • ติดตามผล เลือด
  • แจ้งผลเลือดให้ผู้ป่วยทราบด้วย
  • ใช้กระเป๋าน้ำแข็งประคบ

การดูแลกรณีการป้องกัน mucositis

  • ให้บ้วนปากด้วยน้ำเกลือบ่อยๆ
  • บ้วนปากด้วย xylocain viscous

P

ยินดีค่ะ

ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว ในปัจจุบันอัตรารอดชีวิตนานขึ้น จากการดูแลของแพทย์และพยาบาลเป็นอย่างดีค่ะ

ขอบคุณความรู้ดี ๆ ที่คุณแก้ว..อุบล นำมาฝาก...ขอบคุณคุณหมอ คุณพยาบาล น้อง ๆ เจ้าหน้าที่ทุกท่านที่ปฏิบัติต่อผู้ป่วยด้วยความกรุณา...โดยเฉพาะคุณหมอ น้องพยาบาลและเจ้าหน้าที่ศูนย์มะเร็งลพบุรี ทุกท่านน่ารักและปฏิบัติหน้าที่ด้วยใจจริง ๆ...

คุณพ่อของครูวรางค์ภรณ์ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในเม็ดเลือดค่ะ...

P

เสียใจด้วยนะคะ  ที่คุณพ่อเสียชีวิตด้วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว

แต่ก่อนใครก็ตาม  ถ้าบอกว่า..เป็นมะเร็งเม็ดเลือด จะต้องนอนรอวันค่ะ

แต่ปัจุจุบัน วิทยาการก้าวหน้า การให้ยาเคมีบำบัดทำให้ผู้ป่วยอายุยืนขึ้นค่ะ แต่ต้องเสี่ยงกับภาวะแทรกซ้อนต่างๆจากการรักษา ต้องดูแลเป็นอย่างดี  ระหว่างเม็ดเลือดต่ำมากๆ จนเชื้อโรคโจมตีได้ง่าย

ตอนนี้..พวกเราเห็นคนไข้เรารอดชีวิตได้เป็นส่วนมาก และมีความสุขที่อยู่กับเรามากๆ เพราะบางคนต้องอยู่ รพ นานครั้งละ 30-40 วันค่ะ จนไม่มีไข้ เม็ดเลือดสูงขึ้น จึงจะได้กลับบ้าน

                           แก้วค่ะ

การดูแลผู้ป่วยที่มีเกล็ดเลือดต่ำ ไม่จำเป็นต้องรอให้เกล็ดเลือดต่ำกว่า 50000 แต่ควรพึงสังเกตุอาการและอาการแสดงต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไปร่วมด้วย เช่น จุดจ้ำเลือด ตามัว มองไม่เห็น สับสน การรับรู้เปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจเนื่องมาจาก เลือดออกในสมองได้ค่ะ

ในขณะเดียวกัน สัญญาณชีพอาจจะยังไม่เปลี่ยนแปลงก็ได้ ดังนั้นควรพึงระวังอย่างมากในผู้ป่วยเกล็ดเลือดต่ำ

คุณมีนา

 

      

             คุณมีนา ผู้นำการเล่าเรื่องในวันนี้ค่ะ

 

ขอบคุณที่สรุปความรู้เพิ่มเติมให้นะคะ

ขอชื่นชมว่า เป็นการ conference ครั้งแรก แต่ทำได้ดีมาก

ถ้าจะดียิ่งขึ้น เราอาจจะให้คนที่ยังไม่ได้เล่าเรื่องหรือประสบการณ์ ได้บอกเล่าเรื่องราวดีดีของตนเอง โดยตัวเราพูดน้อยลง ตัวเราเพียงกระตุ้นและเชื่อมโยงให้คนอื่นได้พูด จะ Perfect !

ไม่ทราบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายกระดูกสันหลัง อยู่พักฟื้นที่รพ.นานกี่วันคะ และสามารถดื่มแอลกอฮอร์ได้ไหม รบกวนตอบด่วนนะคะ อยากทราบจริงๆ

คุณทาทา

การพักฟื้นใน รพ ขึ้นกับสภาพร่างกายคนไข้

ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์นะคะ

อุบล จ๋วงพานิช ตอบให้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท