30 บาท ถ้าไม่มีทักษิณ


มาช่วยกันบอกว่า 30 บาทหลังยุคทักษิณน่าจะดีกว่าปัจจุบันในแง่ไหนบ้างดีไหมครับ

วันนี้ไปประชุมที่ สปสช ในห้องนำ้เห็นเขาติดข่าวไว้ให้อ่าน มีข่าว กก สปสช ให้ข่าวว่า 30บาทรักษาทุกนายก  ตอนแรกคิดว่าเขาหมายถึงถ้านายกป่วยก็มีสิทธิ์เหมือนกันหมด แต่พออ่านอีกทีก็ได้ความว่าตอนนี้มีการพูดกันทำนองว่า ถ้าไม่มีทักษิณก็ไม่มี 30 บาท เลยถึงบางอ้อ ว่าเหมือนที่ผู้ว่า ธราคารแห่งประเทศไทยเคยมาบอกว่า เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง ไม่ต้องห่วงหรอกว่าใครมาเป็นายกก็ยังโตได้ดี

ผมมีคำถามว่าทำไมจึงเกิดการพูดคุยกันแบบนี้ คำตอบก็พลันคิดถึงวลีที่นักคิดชาวอเมริกัน โนอัม ชอมสกี้เคยพูดไว้เขาเรียกว่า manufacturing consent แปลว่า ฉันทานุมัติที่กำหนดได้ ในกรณีที่เขาพูดถึงนั้นเขาบอกว่าสื่อมวลชนอเมริกันเป็นผู้สร้างฉันทานุมัติให้กับประชาชน คือถ้าสื่อว่าอะไรดี ชาวบ้านก็จะเห็นงานเห็นดีไปหมด ดังนั้นเวลาติดตามข่าวก็ให้พึงระวังว่า เราจะถูกเขาปลูกฝังให้เห็นดีเห็นงามไปแบบผิดๆ หรือพูดง่ายๆว่าถูกชักจูงให้เห็นผิดเป็นชอบไปหรือเปล่า

สำหรับเมืองไทยนั้นเราพูดกันอยู่เสมอว่า การตลาดถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานการเมืองอยู่มากในตอนนี้ ซึ่งว่าไปแล้วต้องนับเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับคนไทย

การตลาดมีเป้าหมายชัดเจนคือทำให้เราเห็นดีเห็นงามไปกับสิ่งที่เขาบอกเราว่าดี สิ่งที่น่ากลัวสำหรับคนไทยจึงเป็ฯเรื่องของ การสร้างฉันทานุมัตืโดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาด ไม่ว่าจะเพื่อธุรกิจหรือเพื่อการเมือง

ผมเองคิดว่า ข้อความที่ว่าไม่มีทักษิณ ไม่มี 30 บาท จนนำไปสู่วลีที่ว่า 30 บาทรักษาทุกนายก นับเป็นเรื่องดีที่สมควรนำมาพูดคุยในหมู่คนไทย เพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ว่าที่จริงแล้วเป็นยังไง

เรากำลังถูกชักนำให้เห็นผิดเป็นชอบด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดหรือไม่

ผมเองคิดว่ามีเหตุผลมากมายกว่า 5 ข้อที่ 30 บาทจะคงอยู คู่เมืองไทย ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีทักษิณ ดีไม่ดี อาจจะอยู่ได้ดีกว่า ถ้าเราๆท่านๆให้ความสนใจในวิธีการบริหารจัดการของระบบนี้ให้มากกว่านี้

เหมือนที่เราควรจะให้ความสนใจกับวิธีการบริหารบ้านเมือง ของผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะชื่ออะไร มีประวัติดีหรือแย่แค่ไหน  ชื่อเหนือ หรือชื่อใต้  ตะวันออก หรือตะวันตก

แต่ผมว่าสิ่งที่ดีกว่าที่พวกเราน่าจะมาช่วยกันทำตอนนี้คือมาช่วยกันบอกว่า  30 บาทหลังยุคทักษิณควรดีกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ ในแง่ไหนบ้าง จะดีกว่าไหมครับ

ผมขอเริ่มที่ข้อหนึ่ง คือ ต้องเลิกหาเสียงด้วยการโยนความผิดให้กับโรงพยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เสมือนหนึ่งว่ารัฐบาลให้เงิน และทำเต็มที่แล้ว โรพยาบาลต่างหากหละที่ไม่สนองนโยบาย ทั้งที่จริงๆแล้ว วิธีบริหารนั้นบั่นทอนกำลังโรงพยาบาลอยู่ตลอดเวลา

 มาช่วยกันต่อ  ีข้อสอง ข้อสาม ข้อสี่ ฯลฯ หน่อยครับ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20552เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2006 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อาจารย์ครับอยากจะร่วมแจมว่า ไม่ว่าใคร (เป็นนายกฯ) คนไทยทุกคนต้องมีหลักประกันสุขภาพ เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ อันพึงมีพึงได้ และเชื่อมั่นว่าทรัพยากรสุขภาพเป็นเรื่องที่ต้องนำมาเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขกัน ไม่ใช่มือใครยาวสาวได้สาวเอา ครับ!

เห็นด้วยค่ะ ด้วยหลักการของการสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชนทุกคน เป็นเรื่องดี แต่ต้องมองถึงความเป็นไปได้และการรองรับ ไหนๆแต่ละสิทธิทั้ง 3 กลุ่มก็ไม่เท่ากันอยู่แล้ว(ข้าราชการ ,ปกส,30บาท) ก็น่าจะทบทวนกลุ่ม 30 บาท อีกที ว่าคนในกลุ่มนี้สามารถแยกออกมาเป็นกลุ่มร่วมจ่าย 60บาท, 100 บาท สำหรับการรักษาทุกโรคบ้างจะได้ไหมคะ

จากประเด็นคุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม

     ผมเห็นด้วยมากในประเด็นการร่วมจ่ายตามรายได้ และตามภาวะสุขภาพ ที่ไม่น่าจะเท่ากันหมด แต่ก็ไม่ค่อยเห็นด้วยหากจะมีการให้ร่วมจ่ายทางตรง (โดยเปิดเผยทันทีขณะรับบริการ) เพราะจะมีผลต่อจิตใจของผู้รับบริการว่าไม่เท่าเทียมกัน และอยากให้บริการผู้ที่จ่ายมากกว่า (Common Sense)

     แต่อยากชวนคิดชวนมองว่าน่าจะเป็นการร่วมจ่ายทางอ้อม เช่น ภาษี หรือใครทำตัวเสี่ยง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ ในอัตราที่ไม่เท่ากัน มากน้อยตามรายได้ และตามภาวะสุขภาพ หรือความเสี่ยงต่อสุขภาพที่จะเกิดขึ้น...ดีไหมครับ อย่างนี้น่าจะ Fairness ครับ

ถ้าระดับผู้บริหารยอมเสียสละ ลดความอยากที่ไม่จำเป็นลงเสียหน่อย ทำงานให้ถูกต้องตามหน้าที่ ก็จะเป็นแบบอย่างให้ผู้น้อย..
ถ้าเราลดความฟุ้งเฟ้อลงไปเสียบ้าง ก็จะมีทุนมาช่วยเป็นสวัสดิการให้แก่ ประชาชนในประเทศ ทั้งคนชายขอบ คนไร้สัญชาติ อย่างเท่าเทียมกันในฐานะที่เป็น ฅน..

เรื่อง copay (30 บาท) ควรจะเปลี่ยนแปลงตามฐานะของผู้ป่วยหรือไม่ ถ้าว่าตามหลักการก็ไม่ควร เพราะการตั้งcopay จะเป็นระดับที่ไม่เป็นภาระกับคนส่วนใหญ่ แต่มีผลมากพอที่จะทำให้คิดให้ดีก่อนมาหาหมอ

เรื่องนี้สำหับบ้านเรามีข้อคิดแยะมากว่าคนชนบท (ที่อญุ่ไกล และไม่สะดวก) น่าจะไม่ต้องเก็บ copay เพราะระยะทาง และค่าเดินทางก็ทำให้ชาวบ้านคิดหนักอยู่แล้วก่อนมา ใช้สิทธิ

ผมเองคิดว่าการปรับปรเรื่องการบริหารระบบ สำคัญกว่าเรื่องอื่นๆ แต่ดูเหมือนว่า พูดแล้วคนส่วนใหญ่จะเห็นเรื่องอื่นสำคัญกว่า อย่างเรื่องเงินไม่พอ หรือเรื่องหมอทะเลาะกับคนไข้  

สำหรับผมทั้งสองประเด็นนี้เกี่ยวกับ การบริหารระบบที่ไม่มีคุณภาพ

ไม่รู้คนอื่นคิดไง หรือว่าเรื่องบริหารระบบไม่ดีนี่พูดกับใครก็ยากที่จะอธิบาย 

ใครได้ฟังที่คุณหมอเกรียงศักดิ์ กับ พงษ์เทพมาพูดไหมครับ  ไม่รู้ว่าคิดยังไงบ้างครับ อะไรเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข ให้ประกันสุขภาพเป็นของประชาชน ไม่ตกเป็นตัวประกันของใครอีกต่อไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท