บุคลากรจากกองทัพอากาศ บนเครื่อง ซี 130 กว่า 30 คน
นักบินทำภารกิจการบิน พยาบาลยศนาวาอากาศโท เป็น CEO ในเคบิน
จัดลำดับความหนักเบาผู้ป่วยอากาศไม่หนักหนาจะเข้าในสุด
ที่อาการมากจะอยู่ด้านใกล้ท้ายเครื่อง
อาการมากที่สุดจะอยู่ติดทางออกท้ายเครื่อง
พอเครื่องลงที่ดอนเมืองคนป่วยอาการหนักที่สุดจะได้ออกจากเครื่องเป็นคิวแรกสุด
นี่คือ การจัดการความรู้
ผมได้ข้อมูลจากทีมงาน ไบโอเท๕ที่ทำงานจัดการความรู้อยู่ เห็นว่ามีประโยชน์เลยขอส่งมาให้เผื่อจะเป็นข้อมูลให้ช่วยกันดูแลครับ
จังหวัดน่าน ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเรื่อง หน่อไม้อัดปี๊บ !
จากการรายงานใน J Med Assoc Thai.(วารสารการแพทย์ของแพทยสมาคมไทย) 2000 (รายงานปี 2543 คือเมื่อราว 5 ปีก่อน) Sep;83(9):1021-5
บทความชื่อ Foodborne botulism outbreaks following consumption of home-canned bamboo shoots in Northern Thailand. โดย Swaddiwudhipong W, Wongwatcharapaiboon P. Department of Community and Social Medicine, Mae Sot General Hospital, Tak, Thailand
พบอุบัติการณ์เช่นนี้แล้ว 2 ครั้ง เมื่อปี 1997 ที่แม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งมีผู้ป่วย 6 ราย ตาย 1 ราย และที่จังหวัดน่าน เมื่อปี 1998 ในครั้งนั้นมีผู้ป่วย 13 ราย เสียชีวิต 2 ราย รายละเอียดในเอกสารแนบ http://www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?cmd=Retrieve&db=pubmed&dopt=Abstract&list_uids=11075968&query_hl=2&itool=pubmed_docsum
แต่ถ้ามองในขนาดของปัญหา คงไม่เคยมีใหญ่ขนาดนี้มาก่อน ซึ่งน่าจะแปลว่าปัจจุบันคนไม่รับผิดชอบเพียงคนเดียวทำให้คนเดือดร้อนแสนสาหัสได้มากกว่าแต่ก่อนมากมายนัก
ส่วนในแง่การใช้เครื่องบินขนคนไข้ นี่อาจจะเป็นกรณีที่สองที่ผมทราบ ที่ทางกองทัพแสดงบทบาทยามสงบได้ยอดเยี่ยมมาก อีกครั้งที่ผมทราบคือเมื่อคราว สึนามิ ที่ช่วยให้ผู้ป่วยจากภูเก็ตได้ขนย้ายมาเข้า รพที่ กทม เป็นการลดภาระทางจุดเกิดเหตุ และเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยไปด้วย
ขอปรมมือให้กับกองทัพ หวังว่าคงจะเป็นกลไกแห่งการสร้างคุณภาพชีวิตของคนไทย แทนการเป็นสัญญลักษณ์ของการใช้อำนาจ และกำลังทำลายล้างอย่างที่เคยเป็นมาในอดีตนะครับ (ใครจะตีความว่าเกี่ยวกับการเมืองในปัจจบันก็แล้วแต่นะครับ)