ไปแล.เขาทำยางแผ่นชั้นดี กันครับ (กลุ่มพัฒนายางบ้านบาโงย)


การรวมกลุ่ม การพึ่งพาตนเอง

           สวัสดีครับ  วันนี้พาไปรู้จัก กลุ่มปรับปรุงคุณภาพยางแผ่น  ...... กลุ่มพัฒนายางบ้านบาโงย  ตั้งอยู่หมู่ที่ 4  ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา  จัดตั้งเมื่อปี 2546  โดยการนำของ นายมะยาลี  ดอเลาะ  ต้องการที่จะรวบรวมน้ำยางของราษฎร มาผลิตเป็นยางแผ่นชั้นดี เพื่อเพิ่มรายได้และลดภาระการจัดการผลิตยางแผ่น จึงรวบรวมสมาชิกได้จำนวน 10 คน และระดมทุน โดยการลงหุ้น รายละ 2000 บาท มาเป็นทุนดำเนินการในครั้งแรก และมีสมาชิกอุทิศที่ดินให้จัดตั้งโรงเรือน หลังจากนั้น คณะกรรมการได้ศึกษาดูงานในพื้นที่ใกล้เคียง   แรกเริ่มกลุ่มรับซื้อเฉพาะน้ำยางของสมาชิกเท่านั้นเนื่องจากความพร้อมมีจำกัด ขณะนี้กลุ่มมีฐานะทางการเงินดีขึ้น พร้อมทั้งมีเครดิตจากธนาคารออมสินตามโครงการสินเชื่อเพื่อการพัฒนาชนบท และเปิดรับซื้อน้ำยางสดจากเกษตรกรทั่วไป

               ปัจจุบันกลุ่มสามารถรับซื้อน้ำยางจากสมาชิกและเกษตรกรทั่วไปได้วันละ 2,000 กิโลกรัมผลิตเป็นยางแผ่นชั้นดี ประมาณ 600 กก(ยางแห้ง)ต่อวัน อุปกรณ์บางส่วนได้รับการสนับจากกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

 

เครื่องมือวัดเปอร์เซ็นต์น้ำยางสดเทียบเป็นยางแห้งเมโทรแลคค์

     

ตะกงชุดทำยางได้ครั้งละ50แผ่น             เมื่อยางแข็งตัวยกออกจากตะกง
                                                             พร้อมนำเข้าจักรรีด
 

 

 อุปกรณ์ ในการผลิตยางแผ่นชั้นดีแบบกึ่งโรงาน

o      ตะกง

o      จักรรีดยาง( ลูกกลิ้ง 5 ชุด)

o      แผ่นอลูมิเนียม

o      น้ำกรดฟอร์มิค

o      อุปกรณ์ใส่น้ำยาง

o      เครื่องวัดเปอร์เซ็นน้ำยาง(เมโทรแลค)

o      ราวตากยาง

o      โรงเก็บยางแผ่น

                      ส่วนผสมและวิธีทำ

  • -          น้ำยางสด  4 ส่วน

  • -          น้ำ  2  ส่วน

  • -          น้ำกรดฟอร์มิค 100 กรัมผสมน้ำ 2 ลิตร

                  กวนใช้เข้ากันจนทั่ว  ตักฟองอากาศออก แล้วใส่แผ่นเสียบลงไปจำนวน 49ช่องจะได้แผ่นยางจำนวน 50 แผ่น/ตะกง ทิ้งไว้ 1 คืนหรือมากกว่าแล้วแต่จะว่างรีดเมื่อไหร่  ก่อนนำยางออกจากตะกงใส่น้ำลงไปให้เต็มดึงแผ่นเสียบออก  นำยางไปรีดเข้าจักรชุด ล้างน้ำสะอาดก่อนนำไปผึ่งแดด 1 วันแล้วนำมาเก็บในที่ร่มจำนวน 4 วัน ยางจะมีความชื้น ประมาณ 3-6 % ยางที่ผลิตออกมาเป็นยางแผ่นชั้นดี เป็นอย่างชั้น 1หรือชั้น 2 เอาไปขายที่ตลาดกลางยางพาราที่ศูนย์วิจัยพืชสวนได้ราตาตามประกาศของสถาบันวิจัยยาง..น่าสนใจ  นะครับ

     

สถานที่ตากและโรงเก็บยางแผ่น                  จักรรีดยาง(จักร 5ชุด)
                     

                 ผลจากการรวมกลุ่มเพื่อปรับปรุงคุณภาพยางแผ่น ของกลุ่มพัฒนายางบ้านบาโงย ทำให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น ลดเวลาในการทำยางแผ่น มีเวลาในการทำประโยชน์อย่างอื่นเพิ่มขึ้น สมาชิกได้รับเงินปันผละ20,000กว่าบาท/ราย   นอกจากนี้สมาชิกกลุ่มยังมีกิจกรรมออมทรัพย์ และกำลังจะเปิดร้านของกลุ่ม เพื่อบริการสินค้าอุปโภคบริโภคแก่สมาชิกและบุคคลทั่วไป   นับว่าเป็นการรวมตัวของเกษตรกรที่จะช่วยเหลือและพึ่งพาตนเองและพัฒนาอาชีพ  สังคมให้เจริญก้าวหน้าและชุมชนเข้มแข็ง นับเป็นตัวอย่างที่ดี  ขอบคุณมากครับ

หมายเลขบันทึก: 205155เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2008 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

อ่านบันทึกพี่ยาวแล้ว คิดอะไรออกได้อย่างหนึ่งครับ ขอบคุณครับ

+ หวัดดีค่ะท่านพี่ยาว....

+ เกิดมาก็เป็นชาวสวนยางค่ะ..

+ อิ อิ...แต่เพิ่งเห็นจักรรีดยางแบบนี้

+ เพิ่งเห็นการทำยางแผ่นแบบนี้...

+ เห็นแล้วที่สวนเชยแหลกเลยท่านพี่...

+ ท่านพี่สบายดีนะเจ้าค่ะ...

สวัสดีครับอาจารย์

P

ยังดีที่เป็นเหตุให้อาจารย์นึกออก..ว่าจะทำอะไร

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ  ครูอ๋อย

P

 

  • การทำแบบนี้ต้องมีสวนยางตั้งแต่ 50 ไร่ขึ้นไปจึงจะคุ้มกับการลงทุน
  • ตะกงพร้อมแผ่นเสียบ  สมัยก่อนชุดละ 10,000 บาท
  • จักรชุด ขนาดที่เห็นประมาณ 3.5-4 หมื่น
  • แค่เดี๋ยวนี้..น่าจะเป็น 2 เท่ากว่าๆ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะพี่ยาว

  • ตอนเด็กๆ จำได้ว่าได้รับมอบหมายให้วิ่งไปเก็บยางแผ่นที่ลูกกุลีเค้าตัดและพาดตากแดดไว้ที่ราวไม้เอามาเก็บไว้บนราวใต้หลังคาในบ้านด้วยล่ะค่ะ
  • ตอนนั้นกลิ่นมันไม่โสภานัก  เพราะเราก็เด็กๆ กันเนาะ คิดอะไรไม่ได้มากมาย  มีแต่จะเล่นๆๆ แบบไม่ค่อยอยากทำงานนัก
  • ในบางครั้งก็อาสาขอรีดยางด้วยจักรแบบนี้จากลูกกุลีของแม่ด้วย  สนุกค่ะ  ตอนนั้นสนุกมาก  หมุนๆๆๆ ให้มันหมุนติ้วไปเลย เฟี้ยวๆๆๆๆ
  • แต่เอ...เมื่อก่อนตะกงที่หนูเคยเห็นมันเป็นเหมือนกะละมังที่เป็นสี่เหลี่ยมนี่คะ  เดี๋ยวนี้มันพัฒนาไปเยอะเชียวนะคะพี่
  • สำหรับตอนนี้  ถ้าถามว่าคิดอย่างไรกับกลิ่นของยางแผ่นเหล่านั้น  คงต้องขอบคุณกลิ่นอบอวลเหล่านั้น  มันหอมเหลือเกินในความคิดคำนึง  เพราะมันทำให้พ่อกะแม่ส่งน้องเรียนมาได้จนมีงานทำ ณ บัดนี้
  • แถมมันคือตัวตนและวิถีชีวิตของคนใต้อย่างเราๆ ด้วยเนี่ยสิคะ
  • ดูแลตัวเองด้วยนะคะพี่ชาย

สวัสดีครับ คนเป็นครู น้องแอน

P

 

  • เป็นบทคัดย่อวิถีชีวิตคนสวนยาง ที่ดีมากๆ
  • พี่เองก็ผ่านมาเช่นเดียวกัน..ตอนนั้นเขาใช้กรดซัลฟูริค(น้ำส้มยางตราวัวแดง) กลิ่น..โฮ๊ย
  • ตอนเด็กชอบหมุนจักร  สิ่งที่ผู้ใหญ่ห้ามเด็กชอบ
  • ขอบคุณมากที่มาช่วยร้อยเรียงวลีให้น่าอ่านขึ้น

สวัสดีค่ะน้องชาย

 

  • ครูอ้อย และอีกหลายๆคนเข้าใจ กระบวนการ  ทำยางแผ่น
  • ถึงแม้จะไม่มีโอกาสไปสัมผัสกันจริงๆ ได้อ่านที่นี่  ก็นับว่า เป็นบุญตา
  • ขอบคุณมากนะคะ  จะติดตามอ่านผลงานของน้องเสมอค่ะ

รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

เสียดายจังไปยะลามาสามวัน  จะให้เอกติดต่อมาหาครูบาและอัยการ  เอกบอกเบอร์หายซะนี่  แต่ยังมีโอกาสลงไปใหม่ครับ

  • สวัสดีครับพี่ไมตรี
  • รวมกลุ่มกันผลิต-ขาย ฯลฯ
  • ความเข้มแข็งของชุมชนก็อยู่ไม่ไกลนะครับ
  • ขอบคุณครับ
  • แถวบ้านไม่ทำแผ่นกันครับ
  • ขี้ยาง..หรือยางก้อนเกือบทั้งหมด..ง่ายดี

เคยไปบ้านพี่ชายที่พัทลุง เห็นแต่จักรรีดยางแบบชุดเดียว (รุ่นเก่า)

จักรห้าชุดคงช่วยทุ่นแรงได้มาก

ขอบคุณครับ

ครูอ้อยครับ

P

 

  • อาชีพนี้ น่าเห็นใจครับ คนตัดยาง(กรีด)ต้องตื่นตี 1ตี 2
  • แต่ถ้ายางราคานี้ทุกคน..ยอมครับ
  • มีโอกาสมาสัมผัสของจริง..น่าจะดี
  • ขอบคุณมากครับ

ลุงเอกครับ

P

 

  • ผมเองเจ้าบ้านไม่ได้ไปดูดำดูดีเลย
  • วันศุกร์จะเข้าไป รอโทรศัพย์จากน้องเอกเงียบ
  • คิดว่ามาไม้ได้ได้ข่าวว่าปิดสนามบิน
  • เลยตัดสินใจไปธารโต
  • ต้องขออภัยอย่างแรง
  • โอกาสหน้า..คงได้บริการ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ สิงห์ป่าสัก

P

 

สิ่งไหนที่เขาคิดเองทำเอง เราแค่เสริมหนุน

ความรัก.ความห่วง ความเป็นเจ้าของ.........สิ่งนั้นย่อมยั่งยืน

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ

P

 

  • การทำยางแผ่น........ขยัน  (เก็บน้ำยางแล้วต้องทำแผ่นอีก)
  • การขายน้ำยาง......ขี้เกียจปานกลาง (เก็บน้ำยางแล้วไม่ต้องทำแผ่น)
  • การขายขี้ยาง.......สุดยอดขี้เกียจ (3-5 วันเก็บที)
  • ขอบคุณมาก

สวัสดีครับ

P

 

  • ชักชุดแบบนี้ส่วนใหญ่จะทำเป็นกลุ่ม
  • หรือไม่ก็สวนขนาดใหญ่  จะลดต้นทุนด้านแรงงานได้เยอะ
  • ถ้าแบบบ้านก็จักตัวเดียว  ติดมอเตอร์ไม่ต้องใช้แรงหมุน
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ พี่ยาว

พักหลังผมเริ่มดูรายการในทีวีที่เกี่ยวกับการนำเสนอภาพชีวิตของบุคคลที่ยืนหยัดอย่างสมถะ  และพึ่งพาตัวเองอย่างมีเหตุผล  ดูแล้วก็มีแรงใจและมุมมองใหม่ ๆ ในการบริหารจัดการชีวิตตัวเอง

...

มีความสุขมาก ๆ นะครับ

สวัสดีครับ อาจารย์

P

 

  • อ.ครับเดี๋ยวนี้มีตารางการปฏิบัติงานประจำวัน(คืน)เลยหรือครับ
  • อย่าลืมพาเด็กๆไปดูหนังนะครับ
  • งานสังคม..สังคมเข้มแข็งได้ด้วยการรวมกลุ่มทำกิจกรรม
  • เรียนรู้ร่วมกันอ.แผ่นคินครับเดี๋ยว
  • ขอบคุณมากครับ
นิมิตร โคกขี้ทราย

ชีวิตหลังเกียง  เรียกว่า

 พอเพียงได้หม้าย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท