วิธีถ่างความคิด


วิธีถ่างความคิด

          

 (ขยายความคิด ติดความรู้-สู่การปฏิบัติ)

 

เรื่องความคิดความรู้นี่พูดกันปากเปียกปากแฉะ

ขึ้นอยู่กับวิธีอธิบาย

ช่วงที่จัดค่ายSCG.เปเปอร์ ของชาวปูนซีเมนต์ไทย

จะชวนคิดชาวคุยในเรื่องที่ทำได้ง่าย ได้ประโยชน์และดูดี

แต่ก็ยังติดปัญหา..วัฒนธรรมความเชื่อ ความเคยชิน

ประเด็นอยู่ที่ว่าจะออกแบบให้ฉุกคิด..ได้อย่างไร

จะนำร่อง นำทางอย่างไร ถึงจะถูกจุดโดนใจ

จึงขออนุญาตชูเรื่องมะกรูดเป็นพระเอกตัวอย่าง  เพราะ..

 

  • เรามีวัตถุดิบอยู่แล้ว
  • เรามีกระบวนการพัฒนา/ต่อยอดชุดความรู้ไว้บ้างแล้ว
  • เราสามารถสื่อความหมายไปถึงสินค้าที่ปรากฎอยู่ในตลาด
  • เราโยงไปถึงลักษณะการใช้แบบต่างๆในห้องครัว ห้องน้ำ ห้องสุขา
  • รวมทั้งการอธิบายถอยหลังไปถึงว่าวิถีไทยใช้มะกรูดทำอะไร
  • มีการเพิ่มมูลค่าใหม่ๆในปัจจุบันนี้อย่างไร

  

เอาเรื่องง่ายๆที่คนรู้จักกันดีอยู่แล้วมาเป็นโจทย์

ทำเรื่องธรรมดาให้เป็นเรื่องพิเศษ

โดยปกติแล้วการปลูกมะกรูดถ้าไม่ใส่ใจจริงๆก็ยากที่จะเติบโต

บางคนต้องปลูกแล้วปลูกอีก การเติบโตช่วงแรกจะช้ามาก

จัดอยู่ในกลุ่มไม้โตช้าได้เลยละ เว้นแต่จะปลูกอย่างเอาใจใส่พิเศษ

หรือใช้วิธีต่อยอดกับต้นกระสังจะได้ผลผลิตเร็ว (ร่นระยะออกผลจาก4-5ปีมารับผลใน1ปี)

 

ในช่วงที่มาปักหลักปลูกสร้างสวนป่า

พืชที่สำคัญในลำดับต้นๆคือ มะนาว มะกรูด

เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการตำน้ำพริก ใส่แกง ปรุงรสอาหาร

บังเอิญเจ้ามะ..ที่ว่านี้มักจะขาดแคลนในช่วงแล้งมีราคาแพง

ประเด็นพื้นฐานที่ว่านี้ละครับ ที่ทำให้เราตั้งใจปลูกมะกรูดมะนาวเป็นพิเศษ

และก็ทำได้สำเร็จในระยะต่อๆมา

 

 

ผลพวงที่ทำไว้ ทำให้เรามีมะกรูดมะนาวหล่นเกลื่อนพื้น

ใครไปใครมาต่างเก็บใส่ตะกร้ากะตู้วู้

จัดอบรมการเสียบยอดพืชตระกูลส้มกับยอดกระสัง

ปีนี้ฝนดี มะกรูดมะหนาวออกลูกเป็นพวงห้อยระย้า

บางคนเก็บแล้ว..ไม่รู้ว่าจะเอามาใช้อย่างไร?

จุดที่ว่านี้ละครับคือ..

 

  • โจทย์ของนักวิจัย
  • โจทย์ของนักพัฒนา
  • โจทย์ของนักส่งเสริมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
  • โจทย์ของนักปรับปรุงพันธุ์พืช
  • โจทย์ของนักวิสาหกิจชุมชน
  • โจทย์ของภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • โจทย์ของครูที่สอนเรื่องหลักสูตรท้องถิ่น
  • โจทย์ของนักออกแบบกล่องเพื่อการขนส่งและจำหน่าย
  • โจทย์ของบริษัทผลิตภัณฑ์สินค้าสุขภาพ
  • โจทย์ของผลิตภัณฑ์สปา
  • โจทย์ของยาพื้นบ้านและสมุนไพร
  • โจทย์ของแม่ครัวหัวป่าส์

 

สรุปว่าโจทย์ของคนไหนก็ของคนนั้นตามอัธยาศัย ขึ้นอยู่กับว่าจะโดนใจตามสภาพแวดล้อมอย่างไร ..ช่วงที่จัดค่ายSCG.เปเปอร์ ชาวค่ายทำอาหารเมนูยำแซบหลายรายการ มีเปลือกมะนาวเยอะ นำมาลอยไว้ในกาละมังล้างจาน ช่วยชำระคราบสกปรก มือ/ภาชนะมีกลิ่นสะอาด เป็นการใช้ประโยชน์แบบง่ายๆตรงๆ

 

ส่วนมะกรูด เรายังไม่ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร

ผมใช้วิธีง่ายๆ ผ่าซีกแล้วเอามาสระผม เอามาถูตัว ใช้ไปใช้มาติดใจ

ผมสลวย เบาสบาย ไม่ต้องเสียเงินซื้อแชมพู

กลิ่นตัวก็คงจะจางไป จางไป ถึงไม่หอมเหมือนทาโคโลจญ์ แต่กลิ่นสะอาดขึ้น

ไปไหนมาไหนผมจะเก็บผลมะกรูดติดตัวไปด้วย

มาเที่ยวนี้ก็ขนมาเยอะ  เจอใครแจกดะ

หลายคนชอบและใช้ประจำ อ้าวเป็นงั้นไป

ยังงี้ดีเลย มะกรูดจะเป็นของฝากทุกครั้งที่เข้ากทม. 

มะกรูดมีคุณสมบัติพิเศษ ไม่เหี่ยวง่าย เก็บไว้ได้นาน

เนื่องจากเราปลูกเองใช้เองจึงเก็บสดๆจากต้นได้เรื่อยๆ

ผมใช้มะกรูดวันละ2ลูก สระผม ถูตัวดังที่เล่าไว้

ปีนี้ก็จะเพาะมะกรูดให้ได้10,000ต้น

ท่านใดจะร่วมด้วยช่วยปลูกก็ดีนะครับ

หรือจะช่วยต่อยอดการใช้ประโยชน์ก็ดีอีกนั่นแหละขอรับ

ถ้าเราช่วยกันปลูกอย่างจริงจัง ชี้ชวนกันใช้อย่างกว้างขวาง

รายได้โดยตรงอาจจะไม่ดูมากมาย แต่ถ้าคิดถึงการประหยัด

การเสริมสภาพแวดล้อม การเรียนเรื่องสุขภาวะชุมชนคนพึ่งตนเอง

ทั้งมูลค่าและคุณค่าไม่ธรรมดาหรอกนะตัวเอง

บางทีมะกรูดนี่แหละจะช่วยตีความให้เข้าถึงเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงได้อีกทางหนึ่ง

ท่านใดมีความรู้เรื่องมะกรูด กรุณาแนะนำด้วยนะครับ

ท่านที่ไว้ผมเปีย/ผมยาวๆ ถ้าสระผมจากน้ำมะกรูดโดยตรง น่าจะดีนะขอรับ

ท่านจะได้สร้างตำนานนางพญาผมหอมยุคใหม่

ท่านใดต้องการทดลองใช้มีมะกรูดสดๆจากต้นอย่างจุใจ

เชิญไปเก็บที่สวนป่ามหาชีวาลัยอีสาน อิอิ..

 

วิจัยสไตล์คนแซ่เฮ

อาบน้ำเช้านี้  ผมเอามะกรูดสระผมและถูร่างกาย ถูไปถูมาก็เกิดประกายความคิด..ทำไมเราไม่ลองผ่ามะกรูดแล้วบีบน้ำกลั่วคอ คิดแล้วลองเลย น้ำมะกรูดมีรสเปรี๊ยวแต่ไม่ถึงกับจี๊เท่ามะนาว หลังจากบ้วนน้ำออกจะรู้ถึงรสฝาดในช่องปาก จะดีหรือไม่ดียังไงคงต้องลองใช้ประจำสักระยะหนึ่ง ช่วงนี้เว้นวรรคListerine ถ้ามะกรูดดีกว่าก็จะบอกเลิกศาลากันไป หันมาใช้ของไทยของแท้ ชวนใครๆมานิยมไทยกันดีกว่า ไม่อย่างนั้นก็จะเป็นทาสสารเคมี และเป็นผู้ที่อาศัยความรู้ชนชาติอื่นไปจนตาย  ที่เล่านี้..เป็นเพียงประเด็นหรือโจทย์เล็กๆผิวๆเท่านั้น ยังมีเรื่องใบมะกรูด น้ำมันมะกรูด เนื้อมะกรูด ราก เปลือกต้นมะกรูด..รอให้เราค้นหาอีกมากมาย

 

มาช่วยกันทำเรื่องมะกรูดเพื่อชาติดีไหมครับ!

 

 

หมายเหตุ:

เอกสารประกอบการนำเสนอเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

วันครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันที่15 กันยายน 2551

หมายเลขบันทึก: 203269เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2008 08:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
  • สวัสดีค่ะ พ่อครู
  • มะกรูด มีสรรพคุณมากมายมหาศาล
  • เราควรทำวิจัยบูรณาการ เรื่อง "มะกรูด" ให้ถึงพริกถึงขิงไปเลย น่าจะดี นะคะพ่อ
  • ปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศ ไม่ต้องดูแลรักษามากมาย ออกผลได้เร็ว สรรพคุณก็มาก เหมาะสำหรับนำไปแปรรูปได้หลากหลาย ผลผลิตเป็นเชิงพาณิชย์ได้สบาย ค่ะ
  • เห็นด้วยๆๆๆ ค่ะ
  • ทุกวันนี้ ไปสระผมก็ต้องให้เขาใส่มะกรูด ให้ผมสลวย แล้วยังได้กลิ่นหอม สูดดม แล้วชื่นใจ ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

P

 

ว่างวันไหน ช่วยร่างเค้าโครงวิจัยเรื่องมะกรูดดีไหมบัวปริ่ม

แล้วชวนกลุ่มผู้สนใจมาทำเป็นเรื่องเป็นราว

วิจัยไปสระผมไป เอาเนื้อมะกรูดมาแช่อิ่มชิมไป

เอาผิวมะกรูดมาทำสมุนไพร

กินแกงเทโพโจ้กันจนพุงตึง ฯลฯ..

ที่สวนจะเพาะๆๆ ต้นมะกรูดให้ระเบิดเทิดเทิง อิอิ

1.พื้นที่ศึกษามีแล้ว

2. กลุ่มตัวอย่างศึกษามีแล้ว

3. คณะผู้ศึกษา (ที่ปรึกษา,ผู้วิจัย,ผู้ช่วยวิจัย) น่าจะมีแล้ว นะพ่อนะ

4. เลขาโครงการ (ข้าน้อยฯรับผิดชอบได้) อิอิ

5. แหล่งทุน (เดี๋ยวคงมาเอง) ใช่ไหมพ่อ

6. ที่เผยแพร่ ตีพิมพ์ มีแล้ว

7. ถ้าทำ ลำดับ 1-6 สำเร็จ 

7. งานวิจัยนี้ ขายได้นำไปสู่เชิงพาณิชย์ ระเบิดเถิดเทิง แน่ ๆ

อิอิ

P

 

เยี่ยมยุทธจริงๆ ได้คำตอบรวดเร็ว

แหล่งทุนไม่น่ามีปัญหา เราเก็บเอาจากใต้ต้นมะกรูดมาเพาะ มาขาย

น่าจะได้เงินพอค่าอาหาร ในการมาพบปะคุยกัน

เอ้า! ท่านใดสนใจเข้าร่วมโครงการวิจัยเพื่อชีวิตและชุมชน ยกมือขึ้น

ช่วงแรกนี้ต้องควักกระเป๋าซื้อตั๋วรถมาคุยกันก่อนในยกต้นๆ

จะเป็นวันไหนนั้น ท่านเลขาบัวปริ่มเอาไปคิดเป็นการบ้าน

พร้อมเมื่อไหร่เคาะระฆัง แกร๊งๆ ๆ

ชื่อโครงการ "มะกรูดเพื่อชาติ" ตั้งเป็นตุ๊กตาไว้ก่อน เอาไว้ปรึกษากันแล้วตั้งชื่อถาวรต่อไป

ตะกี้ป้าแห่งชาติเอาโจ๊กมาฝาก เล่าให้ฟังชอบใจ

เลยแจกมะกรูดให้อีก ป้าบอกว่าจะให้แม่บ้านเก็บเมล็ดเพาะไว้มากๆ

งานวิจัย..ขยับเดินแล้วนะบัวปริ่ม

 

สวัสดีค่ะท่านครูบาฯ โจทย์หรือคำถามเป็นตัวนำพาไปสู่ปัญญานะคะ คนสมัยนี้เห็นอะไรแล้วมักมองผ่านเฉยๆ ไม่ค่อยรู้สึก ไม่เกิดการจุดประกายใดๆ

ขอแจมเรื่องการใช้มะกรูดค่ะ ที่บ้านปลูกโตไม่ทันกินค่ะ พี่น้อยแกเล่นเก็บใบมาทำกับข้าวเรื่อยๆ แต่นุชมีเพื่อนที่กรุงเทพเขามีต้นมะกรูดสูงท่วมหลังคาบ้านตั้งสองต้น แถมเขาเป็นสาวโสด ไม่ทำกับข้าว มะกรูดที่ร่วงเกลื่อนเขาเก็บใส่ถุงแจกๆไปเรื่อยค่ะ นุชก็ไปขอเขาเรื่อยๆ พอดีกับได้หนังสือจากสมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสมเล่มที่เห็นในภาพนั่นแหละค่ะ มีสูตรแชมพูทำได้เองหลายสูตร

นุชไม่กล้าซื้อแชมพูพวกโอทอปหรือกลุ่มแม่บ้านทำค่ะเพราะคนไปสอนเขาสอนแค่ทำเป็นผลิตภัณฑ์คั้นสมุนไพรไปใส่หัวเชื้อแชมพูสำเร็จรูปที่มาจากอะไรก็ไม่ทราบ แต่หนังสือเล่มนี้จะบอกให้เข้าใจถึงส่วนผสมแต่ละตัวว่าทำหน้าที่อะไร ดีไม่ดีอย่างไร

นุชเลือกทำสูตรหนึ่งที่ไม่มีการใช้สารเคมีเลย ใช้แต่ มะกรูด กับ น้ำเปล่าค่ะ เก็บไว้ใช้ได้ไม่นานราวสัปดาห์เท่านั้น โดยใส่ตู้เย็นไว้ค่ะ เป็นสูตรที่ใช้ดีทีเดียวค่ะ เพราะการนำไปเคี่ยว แล้วนำไปปั่น กรอง จะได้ของเหลวเป็นครีมน่าใช้ ได้ส่วนที่เป็นน้ำมันจากผิวมะกรูดด้วย ไม่แสบ เพียงแต่คนใช้ต้องเข้าใจว่าจะไม่มีฟอง จะเอาฟอกตัวก็ได้นะคะ สะอาดดีและผิวไม่แห้งค่ะ

P

 

ตัวอย่างจากการปฏิบัติ มีความหมายอย่างยิ่งต่อการต่อยอดความคิด ความรู้ และความจริง ขอบคุณมากเลยคุณนาย..ถ้าอยู่ใกล้ไปสะดวกจะเก็บมะกรูดมาฝาก

ตอนนี้กลุ่มผลิตภัณฑ์กระดาษบรรจุภัณฑ์จะศึกษา ออกแบบกล่องบรรจุพืชผลเกษตรที่เหมาะสมต่อการส่งทางEMS.

ส่งวันนี้ ถึงผู้รับพรุ่งนี้ ค่าส่งอาจจะแพงกว่าส่งธรรมดา แต่ถ้าเทียบกับเวลาและค่าน้ำมันรถเดินทางของคนกรุงแล้ว น่าจะประหยัดและเป็นทางออกที่ดีกว่า

ต่อๆไปเครือข่ายสินค้าปลอดภัย พืชผักอินทรีย์ อาจจะส่งตรงจากไร่ไปสู่เครือข่ายผู้บริโภคโดยตรงด้วยวิธีนี้

อาจจะนัดหมายกัน สัปดาห์ละครั้งในผักผลไม้ หรือ15/ครั้งในข้าวกล้อง ฯลฯ จะเริ่มทดลองกับเครือญาติในGOและลานปัญญาก่อน

เรื่องนี้อาจจะต้องเตรียมตัวกันทั้ง2ฝ่าย ผู้รับ ผู้ส่ง เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบพึ่งพากันเองโดยไม่ต้องผ่านคนกลาง

คิดอย่างนี้ดีไหมครับ  คุณนายมีความเห็น มีข้อแนะนำเพิ่มเติมก็เชิญเลยนะครับ

บ่ายนี้จะกลับบ้าน จะด้อมๆมองๆหาหนังสือเกษตรกรรมธรรมชาติที่ร้านในสนามบิน  

แต่..-ขณะนี้ฝนกำลังเทลงมาอย่างหนัก จะท่วมกรุงเทพรึเปล่าก็ไม่รู้.. ไม่ทราบว่าเครื่องจะบินขึ้นได้หรือเปล่า อาจจะเปลี่ยนไปนอนรถไฟ..คืนหนึ่งก็ถึงแล้ว..

คุณนายสบายดีนะครับ..ขออนุญาตชวนมาเป็นที่ปรึกษางานพัฒนามะกรูดไทยใจเกินร้อย ครับผ๊ม!

เป้าหมาย

  • ครัวเรือนอีสานปลูกมะกรูดมากขึ้น
  • ส่งเสริมให้ตระหนักถึงหน้าที่ปลูนต้นไม้เพิ่มมากขึ้น
  • ชี้นำให้ เห็นมะกรูด เป็นทางเลือกหนึ่งในการปลูกตันไม้

ปริมาณ

  • คนอีสานปลูกมะกรูด1ล้านต้นภายใน10ปี
  • คนไทยปลูกมะกรูดทุกภูมิภาค10ล้านต้น
  • โจทย์นี้คิดเล่นๆ แต่ลงมือทำจริง ขอความร่วมมือปลูกต้นไม้นะครับ

จุดเริ่มต้น

  • ครัวเรือนในชนบทมีความรู้ที่จะปลูกด้วยตนเองอยู่แล้ว ถ้าเข้าใจและตั้งใจจะปลูก
  • ปลูกไปแล้ว ผลเป็นประการใด..เอาสิ่งจากการกระทำมาคุยกัน แนะนำกัน พัฒนาความรู้กันจากโจทย์ที่ร่วมด้วยช่วยกัน เริ่มจากจุดเล็กๆอย่างนี้ ดีไหมครับ?
  • ที่บ้านไร่มีเต็มเลยครับพ่อ
  • ช่วงนี้ดกมากๆๆ
  • แม่เก็บเอามาล้างจาน
  • ใส่ห้องน้ำ
  • ผมเอาไปสระผม(ผมมีน้อย อิอิๆ)
  • รู้สึกเย็นสบายดีครับ
  • พ่อสบายดีไหมครับ

P

 

ช่วยปลุกระดมหัวเมืองฝ่ายตะวันออก ปลูกมะกรูดเยอะๆก็ดีนะ รูปหล่อ

พ่อไม่สบาย ท่าจะแย่ ช่วงนี้

 

ยินดีค่ะท่านครูบาฯ

เรื่องเครือข่ายสินค้าอินทรีย์ พืชผักปลอดภัย น่าสนใจมากและเป็นจริงได้ ด้วยการบริหารจัดการดีๆนะคะ เห็นตัวอย่างจากต่างประเทศหลายที่ แต่เขามักทำกันอยู่ในรัศมีที่สินค้าส่งได้ง่าย ในกรุงเทพก็เคยได้ข่าวว่ามีคนทำตะกร้าผักส่งให้สมาชิกสัปดาห์ละครั้ง

หากอยู่ห่างไกลคงต้องช่วยกันคิดเรื่องระบบการส่งที่ผักไม่ช้ำ เสียหาย และการแปรรูปที่คุณภาพสูง สดใหม่ ดีค่ะที่จะทดลองในหมู่G2K และลานปัญญากันก่อน สมัครด้วยคนนะคะ

 

P

 

เดือนกันยา กลุ่มSCGเปเปอร์จะลงมาคุยเรื่อง กล่อง การบรรจุ ผัดผลไม้โดยศึกษารูปแบบที่เป็นไปได้ งานนี้เราเอาจริงครับ เพราะเป็นประโยชน์ จากผู้ผลิต สู่ผู้บริโภคโดยตรง

ช่วยออกความเห็นเพิ่มเติมได้นะครับ

ขอบคุณที่สมัคร เป็นหมายเลขที่1

  1. เป็นการจุดประกายการนำเอาสิ่งรอบตัวเรามาประโยชน์ในสิ่งที่เป็นสรรพคุณของเค้าใช่ไหมคะพ่อครู
  2. พ่อครูคะเมล็ดต้นเอกมหาชัยตอนนี้ได้ทำการปรูกเรียบร้อยแล้ว กำลังรอดูเจริญเติบโตอยู่คะ
  3. พ่อครูดูแลสุขภาพด้วงยนะคะ หนูเป็นห่วง
  4. คิดถึงทุกคนที่มหาชีวาลัยจังคะ

ตั้งแต่ ไปเรียนทำแชมพูมะกรูด ที่ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ นครนายก ผมก็ทำแชมพูมะกรูดใช้เอง

ขอบคุณครูบาฯ ครับ สำหรับ ต้นเอกมหาชัยครับ

จริงๆเลยค่ะที่ว่าปลูกยากเพราะตั้งแต่หัดปลูกต้นไม้มาเวลานี้เหลืออยู่สองต้นกำลังแข่งความเป็นอยู่กับไม้รอบด้านที่โตแข่งขึ้นมาเมื่อปีที่แล้วตายไปต้นกำลังงดงามอยู่มาวันหนึ่งกลับมาเห็นแต่ต้นแห้งๆเศร้าจริงๆ....ลงผักหวานไว้หนึ่งร้อยต้น(ให้เทวดาเลี้ยง)ยังไม่ทราบว่าจะเหลือซักกี่ต้นมีแผนว่าจะปลูกตะเคียนทองอีกยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับไม้ชนิดนี้ทราบแต่ว่ามีผีสาวสวยคอยดูแลถ้าใครมาแอบตัดต้นไม้เราไปทำฟืนเราคงจะได้อาศัยผีดุเหล่านี้ไว้คอยดูแลคุณครูช่วยแนะนำหน่อยได้ไหมคะ....

สวัสดีค่ะหน่อยหัดปลูกมะกรูดมาหลายรอบแล้วค่ะแต่ไม่ขึ้นเลยไม่รุ้เมล็ดอ่อนไปหรือเปล่าอยากได้เมล็ดมาเพาะมากเลยค่ะ อาจารย์พอจะมีเมล็ดแจกหนูบ้างหรือเปล่าค่ะจะเป็นพระคุณอย่างยิ่งเลย ถ้ากรุณาส่งมา หมู่บ้านปิยะวรารมย์ หมู่ 1 ต.บึงยี่โถ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12130 ขอบคุณค่ะ

ขอให้สุขภาพแข็งแรง

เหมือนคุณยายในภาพน่ะค่ะ

วิจัย สมบัติบูรณ์

ป๊อบ:ปลูกง่ายๆ มะกรูดน่ะ เพาะก่อนบริหัวเม็ดพอแตก รดน้ำชุ่ม มีใบจิง 4 ใบ ลงถุงดำ 3 เดือน ลงหลุมๆๆๆอิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท