คุณลักษณะของผู้บริหาร


การเรียนการสอน

คุณลักษณะของผู้บริหาร

 

ผู้บริหาร  เป็นผู้ที่ต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์การ ให้บังเกิดผลตามวัตถุประสงค์ขององค์การ  ฉะนั้น       ผู้บริหารจึงควรมีลักษณะและคุณสมบัติที่เหมาะสม  ดร.ระวัง  เนตรโพธิ์แก้ว  ได้เสนอแนะว่า  ผู้บริหาร  ควรมีสมบัติดังนี้

1.      ควรเป็นผู้มีความรู้  และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน

2.      มีความคิดเห็นทันสมัย  ต้องศึกษาและฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ

3.      มีความคิดริเริ่ม

4.      สนับสนุนความคิดใหม่ๆ ของผู้ใต้บังคับบัญชา

5.      ทำงานอย่างมีระบบ

6.      มีความสามารถในการประสานงาน  และรู้หาหลักมนุษยสัมพันธ์

7.      มีความยุติธรรม

คุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น  จะช่วยให้การดำเนินงานขององค์การดำเนินไปด้วยความราบรื่น อย่างไรก็ตาม  ผู้บริหารที่มีประสบความสำเร็จ ควรมีคุณสมบัติอื่นๆ ประกอบด้วย  เช่น

1.      ความเต็มใจเสียสละ

2.      ความรู้เรื่ององค์การ  และความสามารถทางด้านบริหาร

3.      ความสามารถในการตัดสินใจ

4.      ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

นอกจากนี้ ดร.อำนวย  วีรวรรณ  ได้กล่าวบัญญัติ  7  ประการ  ในการสร้างงานให้กลายเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิตงานไว้  ดังนี้ 

บัญญัติข้อแรก  คือการรู้ถึงแก่น  โดยต้องเป็นผู้มีความสามารถที่จะวิเคราะห์ปัญหาในทางปฏิบัติ  และนำหลักวิชาที่ได้ศึกษามาประยุกต์ใช้ให้ได้ผลตรงตามวัตถุประสงค์ของงาน  โดยอาศัยความฉลาดหลักแหลม  และวิจารณญาณที่ดีเป็นเครื่องชี้นำ  ต้องพยายามใฝ่หาความรู้กับงานที่รับผิดชอบอยู่  อย่าถือตัวว่าฉลาดรอบรู้หรือรู้แล้ว  การรอบรู้ที่ต้องรู้ทั้งเราและรู้ทั้งเขา  ซึ่งจะสามารถเอาชนะสิ่งต่าง ๆ ได้  ตำราพิชัยสงครามของ ซุนวู  สอนไว้ว่า

ไม่รู้เขา  ไม่รู้เรา  รบ  10  ครั้ง  แพ้  10 ครั้ง

            รู้เรา  ไม่รู้เขา  รบ  10  ครั้ง  ชนะ  5  ครั้ง  แพ้ 5   ครั้ง

            รู้เขา  รู้เรา       รบ  10  ครั้ง  ชนะ  10  ครั้ง 

            บัญญัติข้อที่สอง  การริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นไปในทางที่ดีขึ้น  โดยยึดหลักการที่ว่า  ทุกสิ่งในโลกนี้สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นได้อยู่เสมอ  กาลเวลาสามารถทำให้สรรพสิ่งล้าสมัยได้  ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย  องค์กร  ระบบงาน  หรือวิธีการปฏิบัติ   จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฝึกตนให้เป็นผู้มีเชาวน์  สามารถมองการณ์ไกล  เล็งเห็นลู่ทางและปัญหาในอนาคต  เพราะสิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  พร้อมทั้งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น  ก้าวหน้าขึ้น

            บัญญัติข้อที่สาม  คือการรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา  การเป็นนักริเร่มสร้างสรรค์ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในสังคมหรือหน่วยงานั้น  แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ดี  แต่การเปลี่ยนแปลงก็อาจทำให้คนบางกลุ่มได้รับความเสียหาย  หรือเสียผลประโยชน์ได้  ทั้ง ๆ ที่การกระทำนั้นเป็นไปเพื่อแก้ปัญหาให้ลุล่วง  ด้วยความพยายามที่จะทำให้การสูญเสียผลประโยชน์เกิดขึ้นน้อยที่สุด

          บัญญัติข้อที่สี่  คือการมีมนุษยสัมพันธ์  การมีมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน  ทั้งในระดับผู้บังคับบัญชา  เพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชา  จะต้องมีความสามารถในการเลือกคนปกครองคนและเข้ากับคนได้เป็นอย่างดี  รู้จักใช้ศิลปะในการเจรจรา  เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในสถานที่ทำงาน  ทำให้ผู้คนรอบข้างหันมาให้ความร่วมมือสนับสนุนอย่างเต็มอกเต็มใจ  หลักการของมนุษยสัมพันธ์ วาทศิลป์ และศิลปะในการโน้มน้าวจิตใจคนทั้งหลายให้เห็นดีงาม คล้องตามความคิดของเราได้นั้น นับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในการบริหารงานให้ประสบความสำเร็จ

              บัญญัติข้อที่ห้า  คือการเคารพนับถือความคิดเห็นของผู้อื่น การรู้จักแสดงคเพราะวามคิดเห็นของงาน ที่จริงความสามารถของคนเรานั้นอยู่ที่สายตาของคนรอบข้าง   เขาจะวัดคุณงามความดีจากผลงานและการกระทำฉะนั้น  จึงไม่ควรตีคุณค่าตนเองหรือไม่สร้างปมเขื่องให้แก่ตนเอง  จะต้องรู้จักฟันและนับถือความคิดเห็นของผู้อื่น  เพราะทุกคนไม่ว่าอยู่ในระดับใด ต่างก็มีคุณสมบัติและความดีขิงแต่ละคนด้วยกันทั้งนั้น

               บัญญัติข้อที่หก  คือการกล้าตัดสินใจและมีการมุมานะความพยายาม  ผู้ที่จะประสบความสำเร็จในงานจะต้องเป็นผู้ที่มีความกล้าหาญในการตัดสินใจ  มีความหนักแน่นไม่หวาดหวั่นด้วยความเชื่อมั่นในตนเองและผลงานที่กระทำลงไป และต้องมีจิตใจของนักสู้ คือ สู้งานเต็มที่ แม้จะเป็นงานหนักก็ต้องยอมทุ่มจนสุดสติปัญญาและความสามารถ

               บัญญัติข้อที่เจ็ด  เป็นเรื่องของการมีคุณธรรมกับวิถีทางการดำรง   ทุกคนย่อมมีความทะเยอทะยานมีความอยากได้อยากดี  อยากที่จะสร้างความสำเร็จให้แก่ชีวิต  แต่ความสำเร็จนั้นต้องได้มาด้วยความรู้  ความสามารถ และความเพียรพยายามในทางที่ถูกที่ควร จะต้องตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริต ความจงรักภักดีเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบหรือเห็นแก่ได้  โดยไม่นึกถึงความเดือดร้อนของผู้อื่น        

คำสำคัญ (Tags): #การสอน#การเรียน
หมายเลขบันทึก: 199905เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2008 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

3 ครอง ของผู้บริหาร

  • ครองตน
  • ครองตน
  • ครองงาน

 

เข้ามาเก็บเกี่ยวในรอยประสบการณ์...ครับ

แวะมาเก็บประสบการณ์ครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท