การสอนให้นักเรียนทำโครงงาน


ทำอย่างไรจึงจะให้นักเรียนทำโครงงานสำเร็จ

กิจกรรมโครงงานเป็นกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนสร้างความรู้ด้วยตัวเอง โดยบูรณการความรู้ต่างๆ ที่เอื้อต่อการศึกษาค้นคว้า  การที่ให้นักเรียนทำโครงงาน ก็คือ การให้นักเรียนทำงานวิจัยชิ้นเล็กๆ นั้นเอง ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้า แล้วนำผลของการศึกษาที่ได้มาเขียนรายงาน  วิธีการทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้

1.      ระบุปัญหา

2.      ออกแบบการรวบรวมข้อมูล

3.      ปฏิบัติการรวบรวมข้อมูล

4.      วิเคราะห์และสื่อความหมายข้อมูล

5.      สรุปผล

โดยตัวนักเรียนเองจะเป็นผู้ดำเนินการเองทุกขั้นตอน

ประเภทของโครงงานก็มีหลายประเภท เช่น โครงงานประเภทสำรวจ  โครงงานประเภททดลอง  โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์   โครงงานประเภททฤษฎี

ในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนจะให้นักเรียนทำโครงงานในลักษณะที่ เป็นโครงงานตามความสนใจของนักเรียน(ไม่ระบุกลุ่มสาระ)  และโครงงานตามกลุ่มสาระการเรียนรู้  แต่โดยส่วนใหญ่ในการจัดการเรียนการสอนมักจะให้นักเรียนทำโครงงานตามกลุ่มสาระการเรียนรู้

ในความเป็นจริงการทำโครงงานแต่ละครั้งของนักเรียนไม่ว่าจะเป็นโครงงานตามความสนใจของนักเรียน หรือ โครงงานตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ก็ตาม นักเรียนจะต้องมีทักษะพื้นฐานในการทำโครงงาน จึงจะทำให้นักเรียนสามารถทำโครงงานได้ด้วยตัวนักเรียนเอง ได้บรรลุตามหลักการของการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน

ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการทำโครงงานก็คือ

1.      ทักษะการคิดและทักษะกระบวนการคิด เช่น ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

2.      ทักษะการอ่านและการเขียน

ถ้านักเรียนไม่มีทักษะพื้นฐานดังกล่าว นักเรียนจะไม่สามารถทำโครงงานได้ด้วยตัวเอง จะทำให้การทำโครงงานของนักเรียน เป็นโครงงานที่ครูคิด ครูบอกให้ทำ โดยที่ให้นักเรียนทำตาม เขียนตาม นักเรียนก็จะไม่เกิดองค์ความรู้เอง แต่ถ้านักเรียนมีทักษะพื้นฐานโดยเฉพาะทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  นักเรียนจะสามารถทำโครงงานด้วยตัวเองได้มากที่สุด

ดังนั้น การที่ครูจะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงานให้สำเร็จนั้น ผู้เขียนคิดว่า จำเป็นต้องสำรวจดูก่อนว่านักเรียนมีทักษะพื้นฐานในการทำโครงงานมากน้อยแค่ไหน และควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะพื้นฐานในการทำโครงงานให้นักเรียนเสมอ

บางท่านอาจสงสัยว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะใช้ก็ต่อเมื่อทำโครงงานวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงในการทำโครงงานตามกลุ่มสาระอื่น ๆ ก็จำเป็นต้องใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ไม่ได้ใช้ทักษะครบทั้ง 13 ทักษะ ขึ้นอยู่กับลักษณะของเรื่องที่นักเรียนศึกษา และโครงงานที่นักเรียนศึกษาอยู่ในประเภทใด  เช่น

โครงงานกลุ่มสาระภาษาไทย  นักเรียนต้องการทราบว่าในหนังสือการ์ตูนเรื่องพระมหาชนก มีคำควบกล้ำกี่คำ นักเรียนจะต้องทำการอ่านและสำรวจคำที่เป็นคำควบกล้ำในหนังสือ จึงเป็นโครงงานประเภทสำรวจ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นต้องใช้ก็คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท(แยกคำควบกล้ำแท้ และไม่แท้) ทักษะการจัดกระทำและสื่อความ (การนำเสนอผลการสำรวจ) ทักษะการลงข้อสรุป เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป  การสอนแบบโครงงาน ครูจำเป็นต้องฝึกทักษะพื้นฐานในการทำโครงงานให้กับนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ จึงจะทำให้นักเรียนสามารถทำโครงงานได้สำเร็จและสิ่งสำคัญอย่างยิ่งก็คือ โครงงานนักเรียนเป็นคนเริ่มต้นคิดเอง ทำเอง แต่ครูเป็นผู้ที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องที่นักเรียนทำเท่านั้น

เอกสารอ้างอิง

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ การสอนคิดด้วยโครงงาน . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.

ลัดดา ภู่เกียรติ โครงงานเพื่อการเรียนรู้ : หลักการและแนวทางการจัดกิจกรรม.

กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.

คำสำคัญ (Tags): #การสอนโครงงาน
หมายเลขบันทึก: 199901เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2008 08:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะครูอังคณนา

เห็นด้วยกับประโยคที่บอกว่า "โครงงานนักเรียนเป็นคนเริ่มต้นคิดเอง ทำเอง" ถ้านักเรียนได้เริ่มจากจุดนี้...จะเป็นการเรียนรู้ที่มีความสุขที่สุดค่ะ

Pสวัสดีค่ะ

  • ขอบคุณที่แวะมาอ่านนะคะ
  • ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นคะ
  • ขอให้มีความสุขนะคะ

  • ตามมาขอบคุณ
  • ชอบเรื่องโครงงาน
  • เป็นเรื่องที่เด็กมีปัญหาแล้วอยากแก้ไขปัญหา
  • ดีใจที่ได้แนวร่วมครับ
  • เอามาฝาก

Pสวัสดีค่ะ

  • ขอบคุณที่แวะมาคะ
  • ขอบคุณสำหรับรูปภาพ
  • และขอให้มีความสุขนะคะ

                                

  • สวัสดีค่ะ พี่จิ๊บ
  • โครงงานปีนี้จะพยายามให้เป็นโครงงานนักเรียนแหละ
  • เมื่อปีก่ก่อนเป็นโครงงานครูอะนะ (ด้วยเวลาที่จำกัดการส่งงาน)

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากๆๆๆเลยครับ......ชยพร แอคะรัจน์

สวัสดีค่ะเนื้อ

  • ขอบคุณที่แวะมาอ่านบันทึก
  • ขอให้น้องประสบความสำเร็จนะคะ พี่จะเป็นกำลังใจให้

Pสวัสดีค่ะ

 

  • ขอบคุณที่แวะมาอ่านบันทึกนะคะ
  • ขอให้มีความสุขคะ
  • ตามมาดูครับ
  • เอาไปใช้
  • อิอิ

 

Pสวัสดีค่ะ

  • ขอบคุณที่แวะมาอ่านคะ
  • ยินดีอย่างยิ่งที่คุณครูโย่งจะนำไปเป็นแนวทาง
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะคะ

Pสวัสดีค่ะ อ.ขจิต

  • ขอบคุณสำหรับสาระดีๆ ที่นำมาฝาก
  • ถึงแม้จะเป็นโครงงานภาษาต่างด้าว แต่ได้อ่านแล้วมีประโยชน์มากคะ
  • ขอให้มีความสุขนะคะ

เนื้อเรื่องดีมาก

สวัสดีพี่จิบ... ยังคงคิดถึงเสมอนะจ๊ะ..

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท