หลักสูตรใหม่


หลักสูตรใหม่

หลักสูตรใหม่  เรียนน้อย

สาระสำคัญ

                สพฐ.ส่งร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปรับปรุง รมว.ศธ. ลงนามแล้ว  เผยว่า

1.       เด็กเรียนน้อยลง 

2.       ตัดเนื้อหาที่ซ้ำซ้อน 

3.       กำหนดเวลาเรียนแต่ละช่วงชั้น ดังนี้

·       ประถมไม่เกิน  1,000 ชั่วโมง ต่อ  ปี

·       ม.ต้น  ไม่เกิน  1,200  ชั่วโมง

·       ม.ปลาย  รวม  3 ปี  ไม่เกิน  3,600 ชั่วโมง

4.  จะใช้ในโรงเรียนนำร่อง   555  แห่ง  ในปี 2552 ก่อนทยอยใช้จริงในปี พ.ศ. 2555

 

ทั้งนี้  มีการกำหนดโครงสร้างเวลาเรียน  ดังนี้

                ในระดับชั้นประถม  ให้เน้นสอนวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์  เพราะเป็นพื้นฐานการเรียนทุกวิชา

                ส่วนระดับ ม.ต้น  เน้นภาษาไทย  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  สังคมศึกษา  และภาษาต่างประเทศ 

                ระดับ ม.ปลาย  จะลดวิชาการ  เน้นทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมากขึ้น  โดยหลักสูตรใหม่จะนำร่องใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา  2552 ในระดับ ป.1-ป.6 ม.1 และ ม.4  ในโรงเรียนประถม มัธยม  และโรงเรียนขยายโอกาสทั่วประเทศ  555  แห่ง  เมื่อถึงปีการศึกษา  2553  เริ่มใช้จริงในทุกโรงเรียน  จะเริ่มใช้ทีละชั้นปีจนครบทุกระดับชั้นในปี  2555

                ดร.สมเกียรติ  ชอบผล  รองเลขาธิการ กพฐ.  กล่าวถึงการปรับปรุงการสอบวัดประเมินผลระดับชาติ  (เอ็นที)  ระดับชั้น ป.3  ซึ่ง สพฐ.จัดสอบเองว่า  นอกจากสอบภาษาไทย  กับคณิตศาสตร์แล้ว  จะเพิ่มวิชาวิทยาศาสตร์ด้วย  ข้อสอบจะมีข้อเขียนและเลือกตอบ  เพื่อวัดการอ่าน  คิดวิเคราะห์  ความรู้ที่แท้จริงของเด็ก  ไม่ให้เด็กเดาข้อสอบได้

 

 

อ้างอิง 

(http: //blog.eduzones.com/kmitl/7172)

คำสำคัญ (Tags): #หลักสูตรใหม่
หมายเลขบันทึก: 199173เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2008 18:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • หลักสูตรมีการพัฒนา
  • อย่างดี มีเป้าหมายชัดเจนดี
  • น่าจะได้พัฒนาครูให้สอดคล้องไปพร้อมๆกัน
  • หลักสูตรเปลี่ยน
  • แต่ครูไม่เปลี่ยน
  • ได้ยินแบบนี้บ่อยๆ
  • แล้วเด็กเป็นไร......

ขณะนี้ทางนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและ สพฐ.ก็ได้ดำเนินการพัฒนาครูและหลักสูตรให้สอดคล้องไปพร้อมๆ กัน เช่น อบรมสัมมนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ และสถาบันที่รับผิดชอบในการผลิตครูก็ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการเทคนิควิธีการใหม่ๆ ควบคู่กันในขณะนี้ แต่ที่ยังไม่เห็นผลมากนัก น่าจะมาจากหลายสาเหตุดัวยกัน อาจจะมาจากครูผู้สอนยังไม่เข้าใจในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรใหม่ ครูที่ได้เข้ารับการอบรมสัมมนาการจัดกาเรียนการสอนตามหลักสูตรใหม่นั้นยังมีปริมาณไม่มาก ยังขาดวัสดุอุปกรณ์ที่จะจัดกาเรียนการสอนที่เพียงพอหรือทันสมัย เวลาที่ใช้ในการจัดการเรียนมีจำกัด และครูยังขาดความรู้ความเข้าใจและขาดทักษะวิชาการบางสาขา บางครั้งพานักเรียนไปศึกษานอกสถานศึกษาก็เป็นการเสี่ยงอันตรายจุดหนึ่งเหมือนกันทำให้ครูไม่กล้าพานักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น หรือภูมิปัญหาของท้องถิ่น และบางครั้งมาจากเศรษฐกิจของผู้ปกครองของนักเรียนไม่ดีต้องทำงานหาเลี้ยงชีพของครอบครัวทำให้ไม่สามารถมาดูแลบุตรหลายอย่างใกล้ชิด ทำให้นักเรียนมีปัญหา ทั้งทางด้านการเรียนและความประพฤติ นอกจากนี้จำนวนนักเรียนต่อจำนวนครูก็ไม่สมดุลกัน

สรุปแล้วปัญหาหลักสูตรและการเรียนการสอนมีหลายด้าน แต่ละด้านก็สามารถแก้ไขได้ถ้าทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน ทั้งหน่วยงานเบื้องบน โรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน

การแก้ปัญหาดังกล่าวอาจไม่สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็จะค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ ถ้าทุกคน ให้ความจริงใจแก้ปัญหา รักและเมตตากับศิษย์ รักชุมชน รักประเทศชาติบ้านเมือง ข้าพเจ้าคนหนึ่งก็มีความตั้งใจที่จะพัฒนาบ้านเมืองอย่างเต็มที่แม้บางครั้งจะมีปัญหาอุปสรรคให้ท้อใจก็ตาม ไม่มีบ้านไหนเมืองไหนที่อบอุ่นเท่ากับบ้านเมืองแม่ของพวกเราทุกคน

สวัสดีคะทุกคน

12 สิงหาคม 2551

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท