ประกาย~natachoei ที่~natadee
นาง ประกาย ประกาย~natachoei ที่~natadee พิทักษ์

KM เชื้อดื้อยาครั้งที่ 2


แนวคิดที่ได้จากการทำ CoP การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา

แนวคิดจากการทำCoP การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาครั้งที่2 

         ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2551   พยาบาล IC และพยาบาลแผนกการพยาบาลอายุรกรรมได้จัดทำ KM การดูแลผู้ป่วยเชื้อดื้อยาต่อ ครั้งที่ 2  ซึ่งครั้งนี้สนุกมากคะ น้อง ๆ ทุกคนได้นำเสนอแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม จากงานวิจัย ประสบการณ์   การทำงาน  รวมทั้งความรู้ที่ได้รับเพิ่มเติมจากการไปร่วมอบรมสัมมนาการป้องกันควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล แห่งชาติ ครั้งที่ 5 ที่ชลบุรี

         สรุประเด็นที่ได้ในการทำ KM ครั้งนี้ และได้ไปนำเสนอใน KM Forum ครั้งที่ 8 ของคณะแพทยศาสตร์  ซึ่ง รศ.สุรพล วีรศิริ   ได้ให้ข้อคิดเห็นว่ากลุ่มของเรานำเสนอเห็นภาพได้อย่างชัดเจน อาจารย์ให้สรุปนำเสนอความรู้ทั้งหมดที่ได้เพื่อเผยแพร่ต่อไป วันนี้ขอเล่าสั้น ๆ ก่อนนะคะ

 

 สรุปประเด็นที่ได้จากการทำกลุ่ม ครั้งที่ 2

 

1. การแพร่กระจายของการดื้อยาในโรงพยาบาล   การแพร่กระจายส่วนใหญ่เป็นแบบการถ่ายทอดเชื้อจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อไปยังผู้ป่วยอื่น โดยผ่านทางมือของบุคลากรหลังจากการสัมผัสกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อหรือกับข้าวของเครื่องใช้ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ หรือจากบุคลากรไปให้ผู้ป่วย จากสิ่งแวดล้อมไปผู้ป่วย (cross contamination)

      1.1 สภาพแวดล้อมในโรงพยาบาลเอื้ออำนวย  มีแหล่งสะสมที่เชื้อจะอยู่ได้อย่างปลอดภัย เช่น  P.aeruginosa,  Enterococcus spp., Acinetobacter spp. และ S.aureus 

      1.2. เชื้อดื้อยาจะสร้างนิคม (Colonization) อยู่ตามสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต เช่น ไม้กั้นเตียง   ผ้าม่าน   เคาน์เตอร์พยาบาล  อ่างล้างมือ

 

 

2. แนวทางการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล

2.1   ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรในหอผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด

 

2.2  โดยการมีส่วนร่วมของทุกคนในทีมที่ให้การดูแลผู้ป่วย ซึ่งเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ จะต้องให้การดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา

 

2.2   วิธีที่ง่ายที่สุดในการป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาไม่ให้เกิดการระบาด  คือบุคลากรต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดโดยเคร่งครัดโดยเฉพาะการล้างมือ และการทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม

 

2.3   การให้ความรู้แก่บุคลากร ในเรื่องของเชื้อดื้อยา ผลกระทบเกิดขึ้น    แนวทางการป้องกันการติดเชื้อ

 

2.4   บุคลากรในทีมจะต้องมีการสื่อสารและรับทราบเข้าใจตรงกันว่ามีผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา ซึ่งปัจจุบันมีป้าย Contact precautions  แขวนไว้ที่หัวเตียง

2.5   ทบทวนข้อปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเชื้อดื้อยา จากหน่วยควบคุมโรคติดเชื้อ  ให้เพิ่มเติมข้อปฏิบัติในแต่ละกิจกรรมให้ชัดเจน โดยทำเป็นคู่มือการดูแล   ผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา

 

2.6   จัดโครงการรณรงค์ ส่งเสริมการล้างมือในแผนกการพยาบาลอายุรกรรม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้น 

 
  

3. การทบทวน  

ข้อปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อMRSA  &  MDR-GNB

ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

 

1.    แยกผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อ MRSA หรือ MDR-GNB  ไว้ในห้องแยก ถ้าไม่มีห้องแยกหรือไม่สามารถ

       แยกห้องได้ให้แยกผู้ป่วยไว้มุมใดมุมหนึ่งของหอผู้ป่วยก่อน 

 

2.   สวมถุงมือทุกครั้งที่ดูแลผู้ป่วย เมื่อเสร็จกิจกรรมแล้วให้ถอดถุงมือทันที แล้วล้างมือและเปลี่ยนถุงมือคู่มือใหม่ทุกครั้งที่จะให้การดูแลผู้ป่วยรายอื่น

 3.  การสวมเสื้อคลุม ให้ใช้เฉพาะรายและใช้เมื่อต้องอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยหรือคาดว่าจะต้องสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมและสารคัดหลั่งจากตัวผู้ป่วย โดยให้เปลี่ยนเสื้อคลุมตัวใหม่ทุกครั้งที่จะดูแล  ผู้ป่วยในแต่ละกิจกรรม

4.   สวมผ้าปิดปากปิดจมูก เมื่อสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย เช่นการทำแผล  การดูดเสมหะ

 

5.   อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ ต้องล้างทำความสะอาดและทำลายเชื้อหรือทำให้ปราศจากเชื้อ

6.   เครื่องวัดความดันโลหิต หูฟัง และปรอทวัดไข้ ให้ใช้เฉพาะราย

 

7.   ทำความสะอาดเตียงหรือ Unit ของผู้ป่วยด้วยน้ำผงซักฟอกและ น้ำสะอาดทุกครั้ง

8.   เมื่อส่งผู้ป่วยไปตรวจพิเศษหรือย้ายหอผู้ป่วยให้แจ้งหน่วยงานที่จะส่งไปให้ทราบว่าตรวจพบเชื้อ MRSA หรือ MDR-GNB

9.   ดำเนินการเฝ้าระวังการติดเชื้อ โดยเก็บสิ่งส่งตรวจจากตำแหน่งการติดเชื้อส่งเพาะเชื้อทางห้องปฏิบัติ

10.หากสิ่งตรวจไม่พบการติดเชื้อ ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ยกเลิกมาตรการ Contact  precautions

 
                

ข้อปฏิบัติแต่ละข้อทางกลุ่มจะนำมาทำเป็นแนวปฏิบัติข้อย่อย

ชี้ชัดลงไปเฉพาะให้เห็นกิจกรรมที่จะต้องปฏิบัติและติดตามประเมินต่อไป   แล้วนำมทำเป็นคู่มือ

 

                                     ข้อสรุปที่จะดำเนินการต่อไปในครั้งที่ 3  โดย

                                          นัดกันอีกครั้ง วันที่ 19  สิงหาคม 2551

เวลา 13.30-15.30 น. ห้องประชุมหอผู้ป่วย  4

1.  มอบหมายผู้รับผิดชอบในแต่ละหอผู้ป่วย ไปทบทวนแนวทางการปฏิบัติ  

     การดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยา 

2.  นำแนวทางที่ปฏิบัติของแต่ละหอผู้ป่วยมานำเสนอในที่ประชุม

3.  ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาการปฏิบัติที่อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้น

     และกำหนดแนวทางการปฏิบัติใหม่ที่ถูกต้องและเหมาะสม

                  

                       ภาพจะนำขึ้นให้ชมอีกครั้งนะคะ   ดูเนื้อหาก่อนนะคะ

 

   

แนะนำทีมงานหน่วยควบคุมโรคติดเชื้อคะ-ติดต่อสอบถามได้นะคะ เรียนรู้งานจากICN  

        กำลังกินกำลังนอน สมบูรณ์กันถ้วนหน้า โดยเฉพาะผู้เขียน เกี่ยวข้องกับเชื้อดื้อยาอย่างไร

  55555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 199166เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2008 18:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ไม่ได้เขียนมาเล่าเรื่องเป็นเวลาหลายสัปดาห์ งานมากและกำลังสรุปรายงานต่าง ๆ คิดถึงแนวคิดของท่าน ผอ.และได้นำไปใช้เป็น คุณอำนวย

ได้พัฒนาตัวเองมากขึ้นนะคะ ขอบคุณคะท่าน ผอ.มากคะที่ให้ กำลังใจมาตลอด

ขอเรียนรู้ด้วยคนนะคะพี่ไก่ ขอดู Contact precautions บ้างได้มั๊ยคะ

คิดถึงพี่ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท