ครุฑ บนหนังสือราชการ


ที่มาของครุฑ

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ประเทศไทยนำครุฑมาใช้เป็นตราประจำแผ่นดิน หรือพระราชลัญจกร มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยนำแบบอย่างการใช้ตรามาจากประเทศจีน และสันนิษฐานว่า น่าจะเป็น ตราครุฑพ่าห์ คือรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เพื่อให้เข้ากับคตินิยมที่ถือว่า องค์พระมหากษัตริย์เป็นผู้มีบุญบารมีเทียบเท่าพระนารายณ์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าให้ใช้ ครุฑยุดนาค หรือครุฑจับนาค   เป็นพระราชสัญลักษณ์แทนพระบรมภิไธย  ถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมนริศรานุวัตติวงศ์ทรงเขียนตราครุฑถวายใหม่ ไม่ต้องมีพระนารายณ์และยกนาคออกเสีย มือที่กางอยู่ก็ให้ฟ้อนรำตามแบบครุฑเขมร ดัดแปลงลายกนกเป็นเปลวไฟ  มาสมัยรัชการที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้พระเทวาภินิมมิตต์ (ฉาย ภินิมมิตต์) เป็นผู้เขียนถวาย โดยยังคงใช้ตราครุฑเพียงแต่เพิ่มพระปรมาภิไธยตามขอบพระราชลัญจกร และเปลี่ยนพระปรมาภิไธยที่ขอบพระราชลัญจกรให้ตรงตามรัชกาล และได้ยึดถือเป็นแบบอย่างต่อมาจนถึงปัจจุบัน

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19895เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2006 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท