:) ดอกไม้..ประจำชาติไทย :)


เอกลักษณ์ประจำชาติของไทยอย่างหนึ่งที่แสดงถึงความสวยงาม ร่มเย็น คือ ดอกไม้

เช้าๆ...มาชมธรรมชาติสวยๆ กับ สาระดีๆที่คนไทยพึงทราบ  ดีกว่าค่ะ  ดอกไม้  เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่แสดงถึงความสวยงาม ร่มเย็น มาเรียนรู้เกี่ยวกับดอกไม้ประจำชาติไทย ดีกว่า ค่ะ

จากอดีตที่ผ่านมากว่า 50 ปี ทางราชการมีความพยายามหลายครั้งในการกำหนดให้มีสัญลักษณ์ประจำชาติไทย โดยเฉพาะการกำหนด ต้นไม้ และ ดอกไม้ ประจำชาติ เริ่มต้นที่กรมป่าไม้ได้ชักชวนให้ประชาชนสนใจต้นราชพฤกษ์หรือคูณมาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2494

โดยรัฐบาลมีมติให้ถือวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ (arbour day) มีการชักชวนให้ปลูกต้นไม้ที่มีประโยชน์ชนิดต่างๆ มากมาย ในขณะเดียวกันก็ได้มีการเสนอว่า ต้นราชพฤกษ์ น่าจะถือเป็นต้นไม้ประจำชาติ

 

                                       
               กระทั่งในปี พ.ศ.2506 มีการประชุมเพื่อกำหนดสัญลักษณ์ต้นไม้และสัตว์ประจำชาติเป็นครั้งแรก โดยกรมป่าไม้ได้เสนอให้ ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูณ ไม้มงคลที่มีประโยชน์และรู้จักกันอย่างแพร่หลายเป็นต้นไม้ประจำชาติ

 

 

 

               ปี พ.ศ.2530 มีการส่งเสริมให้ปลูกต้นราชพฤกษ์อีกครั้ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ โดยมีการส่งเสริมให้ปลูกต้นราชพฤกษ์ทั่วประเทศจำนวน 99,999 ต้น ทุกวันนี้จึงมีต้นราชพฤกษ์อยู่มากมายทั่วประเทศไทย

 

              ปี พ.ศ.2544 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ได้นำเรื่องดังกล่าวกลับมาเสนออีกครั้ง และมีข้อสรุปเสนอให้มีการกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติ 3 สิ่งคือ ดอกไม้ สัตว์และสถาปัตยกรรม และการพิจารณาที่ผ่านมาเสนอให้กำหนดดอกไม้ประจำชาติคือ ดอกราชพฤกษ์ สัตว์ประจำชาติ คือ ช้างไทย และสถาปัตยกรรมประจำชาติคือ ศาลาไทย

 

               เหตุที่เลือก ดอกราชพฤกษ์ เป็นดอกไม้ประจำชาติเพราะมีความเหมาะสมในหลายๆ ด้าน คือ เป็นดอกไม้จากต้นไม้ที่ถูกเสนอให้เป็นต้นไม้ประจำชาติเมื่อครั้งที่กรมป่าไม้เสนอไว้ เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน ทนทาน ปลูกขึ้นได้ดีทั่วทุกภาคของประเทศ เป็นต้นไม้พื้นเมืองที่รู้จักแพร่หลาย มีชื่อเรียกหลายชื่อต่างกันในแต่ละภาค เช่น ลมแล้ง คูน อ้อดิบ ชัยพฤกษ์เป็นไม้มงคลใช้ประโยชน์ในพิธีสำคัญๆ เช่น ลงหลักเมือง ลงเสาเอก ทำคฑาจอมพลและยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร ในช่วงฤดูร้อนชัยพฤกษ์จะออกดอกสะพรั่งทั้งต้น ช่อดอกมีรูปทรงสวยงาม สีเหลืองอร่ามเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ

รวมทั้งเป็นสีเดียวกับวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นอกจากนี้ความงามของช่อดอกและความหมายที่ดียังถูกจำลองแบบประดับไว้บนอินทรธนูของข้าราชการพลเรือนอีกด้วย

 

 

 

 

ชื่อวิทยาศาสตร์

 

Cassia fistula Linn

 

ชื่อวงศ์

 

CAESALPINIACEAE

 

ชื่อสามัญ

 

Golden Shower, Indian Laburnum, Pudding-Pine Tree, Purging Cassia

 

ชื่อท้องถิ่น

 

ภาคเหนือ เรียก ลมแล้ง

 

 

 

ภาคใต้ เรียก ราชพฤกษ์

 

 

 

ปัตตานี เรียก ลักเกลือ ลักเคย

 

 

 

ภาคกลาง เรียก ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์

 

 

 

กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี เรียก กุเพยะ

 

 

 

กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียก ปือยู , ปูโย , เปอโซ , แมะหล่า อยู่

 

 

 

อีสาน เรียก คูน

ขอบคุณและอ่านเพิ่มเติม

http://www.culture.go.th/knowledge/nation/01.htm

<p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">http://www.panmai.com/Tip/Tip12/Tip12.shtml</p>

หมายเลขบันทึก: 198202เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2008 07:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ชอบดอกคูนค่ะ ... ชอบสีเหลือง ด้วยค่ะ

* ....

เหลืองอร่าม ทรามวัย  ใสกระจ่าง

ส่องสว่าง กลางใจ  ในไพรสณฑ์

ลู่ลิ่วลม  เล่นล้อ  ถักทอสายใย

แผ่กระจาย  ความหวัง  อันเรืองรอง

* ....

ขอบคุณค่ะ ... ให้พี่สายธาร สดใส ทั้งวันนะคะ

....  มีแต่ดอกนี้ สีเหลืองเช่นกันค่ะ  ...

สวัสดีครับ

      เข้ามาเยี่ยมชมสาระดีๆ  ครับ สามารถเป็นแหล่งอ้างอิงได้เป็นอย่างดี  ครับ สำหรับ ดอกไม้ สถาปัตยกรรม และ สัตว์ประจำชาติ

      เพลงก็เพราะดี

                                             ขอบคุณครับ

P

ขอบคุณค่ะ คุณpoo

        ดอกคูน  ก็สวยดีไปอีกแบบ  โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์ เหลืองอร่าม

                   มีแต่สิ่งดีๆในวันนี้  และทุกๆวัน  นะคะ

                        

P

ขอบคุณค่ะ

         อยากให้ใครๆ..ทุกๆคน  มีทั้งความรู้  และความสุขใจ

                       กับอะไรๆ  ที่ไม่เครียดนัก  ขอบคุณค่ะ

                                ขอท่านสุขภาพแข็งแรง
                                      

  • เคยได้ยินการถกเถียงกัน
  • ระหว่างต้น ชัยพฤกษ์ กับ ราชพฤกษ์
  • ว่าเป็นคนละต้นกัน
  • เพิ่งชัดเจนวันนี้เอง
  • ขอบคุณ

P

ขอบคุณท่าน ผอ.ประจักษ์ ค่ะ

   ตอนแรกก็งงๆเหมือนกันค่ะ  ก็เลยลองค้นดู  จึงทราบ

             ขอบคุณค่ะ  สุขภาพแข็งแรง

                         

อ่านแล้วได้ความรู้มากๆเลยครับ...ผมเคยเห็นที่ ม.ราชภัฏนครปฐมดอกเหมือนต้นคูนแต่ดอกออกสีเลือดหมู เขาเรียกต้นอะไรครับ

P

ขอบคุณค่ะ ท่านอาจารย์พิสูจน์

ดอกกาลพฤกษ์  หรือดอกกัลปพฤกษ์ ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cassia bakerina craib  ชื่อสามัญคือ Horse Cassia ลักษณะเป็นต้นไม้ขนาดย่อม พุ่มใบแบนกว้าง ดอกสีชมพู เมื่อโรยกลายเป็นสีขาว แลดูไกล ๆ ก็คล้ายกับต้นเชอรี่  ดอกคูน ดอกซากุระหรือต้นท้อออกดอก

ไม้สกุลนี้อยู่ในวงศ์ Leguminosae 
 

                                 

             

สวัสดีค่ะ

- ขอบคุณที่นำความรู้ดี ๆ มาให้

- เพิ่งชัดเจนว่า ดอกที่เหมือนซากุระ เรียกว่า กัลปพฤกษ์

P

ขอบคุณค่ะ พี่sirijiwanon
พอดี ท่านอ.พิสูจน์สงสัย ว่า
ดอกเหมือนต้นคูนแต่ดอกออกสีเลือดหมู เขาเรียกต้นอะไรครับ
ก็เลยคิดว่า....ดอกกัลปพฤกษ์ นี้ค่ะ

กัลปพฤกษ์เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-15 เมตร เปลือกนอกสีเทาลำต้นมีรอยเป็นเส้นเก็กน้อยแตกกิ่งก้านพุ่งสู่ด้านบนไม่ค่อยเป็นระเบียบ ใบเป็นแผงมีใบย่อยประมาณ 5-6 คู่ออกเรียงตรงกันตามก้านใบเป็นคู่ๆใบบางเรียบปลายใบแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร ใบยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตรดอกออกเป็นช่อตามกิ่งก้านมีกลิ่นหอมมีสีชมพูแกมขาวดอกบานจะมีความกว้างประมาณ23เซนติเมตรมีกลีบดอก5กลีบตรงกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้สีเหลืองผลเป็นฝักกลม ยาว มีสีดำ เมื่อแก่เนื้อในฝักมีสีขาวกั้นเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นจะมีเมล็ดเรียงอยู่ภายใน ฝักหนึ่งยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร

 

                        

ขอบคุณที่ให้ความรู้ดีๆนะค่ะ

กำลังเขียนเรียงความเรื่องนี้อยู่อ่ะค่ะ

เป็นการบ้านอ่ะค่ะ

ขอบคุณนะค่ะ

ไม่มีรูป สวัสดีค่ะ คนรักดอกไม้ [IP: 220.67.195.59]

ขอให้ทำการบ้านสำเร็จนะคะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท