การเขียนบทความวิจัย ตอนจบ


ตอนสุดท้ายแล้วครับ จบซะที

ผมได้ทำบันทึกเรื่อง "การเขียนบทความวิจัย" มาทั้งหมด 13 ตอนแล้วนะครับ ตอนนี้จะเป็นตอนสุดท้ายครับเพราะส่วนที่ยังไม่ได้เขียนถึงคือส่วนที่เรียกว่า "บทสรุป" (conclusion) ครับ การเขียนสรุปนั้นเขียนง่ายและตรงไปตรงมาครับ มีข้อแนะนำการเขียน ดังนี้

  • กล่าวถึงภาพรวมงานวิจัยโดยสังเขป
  • สรุปการวิจัย การทดลอง ผลการทดลอง สิ่งที่ค้นพบ ข้อเสนอแนะ
  • โดยมากควรให้ข้อมูลมากกว่าบทคัดย่อ มักไม่เน้นที่มาและวิธีการ แต่เน้นผลการวิจัยและการนำไปใช้
  • อย่าลอกเนื้อหาหรือบทคัดย่อ ให้เขียนใหม่ ใช้สำนวนใหม่ แต่ได้ใจความถูกต้อง
  • เป็นส่วนที่คนอ่านมากรองจากบทคัดย่อ
  • บางวารสารอาจไม่มีหัวข้อนี้

ผมจึงขอสรุป ณ โอกาสนี้เลยนะครับ บทความวิจัยโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

  • ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ที่อยู่
  • บทคัดย่อ คำสำคัญ
  • บทนำ
  • ระเบียบวิธีวิจัย วัสดุ อุปกรณ์ สารเคมี
  • ผลการทดลอง รูป กราฟ ตาราง
  • วิเคราะห์ผลการทดลอง อภิปรายผล
  • สรุป
  • กิตติกรรมประกาศ
  • เอกสารอ้างอิง

เท่านี้ก็ได้บทความวิจัยหนึ่งเรื่องครับ

หมายเลขบันทึก: 196515เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2008 17:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะอาจารย์อุดมศิลป์

ขออนุญาตนำเสนอบันทึกชุดนี้ของอาจารย์ไว้ในบันทึกนี้ค่ะ การเขียนบทความวิจัย โดย รศ.ดร. อุดมศิลป์ ปิ่นสุข

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่ได้แบ่งปันความรู้ด้านการเขียนงานวิจัยแก่ชาว GotoKnow ค่ะ


จันทวรรณ

 

ยินดีครับ หวังว่าบันทึกจะมีประโยชน์ครับ

ไชยยศ ร่มรื่นบุญกิจ

ผมขอบคุณท่านอาจารย์รศ.ดร.อุดมศิลป์ ปิ่นสุขมากครับที่ให้ความรู้เพิ่มเติ่มทำให้ผมเข้าใจยิ่งขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท