บันทึกจากแดนซากุระ 21 : ฤาปลายทางตำแหน่งชำนาญการคือความว่างเปล่า


"จะมีวิธีการอย่างไรบ้างที่จะทำให้ คนที่มีคุณค่ากลุ่มนี้ หันกลับมาใช้ศักยภาพที่ตัวเองมีอยู่อย่างเต็มที่ เพื่อแก้ไขปัญหางานที่ซับซ้อนด้วยกระบวนการวิจัย"
     ย้อนกลับไปคิดถึงวันหนึ่งที่เคยคุยกับพี่นงคราญ ในเรื่องที่ว่าหลังจากพวกเราได้ตำแหน่งชำนาญการกันแล้ว ได้ทำอะไรต่อบ้าง
     ดูเหมือนกับว่าพวกเราจะขวนขวายกันทำวิจัย เพื่อตำแหน่งชำนาญการ หลายคนเมื่อมีเงินเดือนแตะระดับ 6 ก็จะเริ่มหางานวิจัยมาทำ เพื่อใช้เขียนขอตำแหน่งชำนาญการ หลายคนเมื่อได้ตำแหน่งชำนาญการ ก็ยังคงทำงานวิจัยต่อไปเพียงแต่คนกลุ่มนี้อาจมีจำนวนไม่มากนัก โดยมีเป้าหมายในการทำวิจัยแตกต่างกันออกไป แต่คนกลุ่มใหญ่ไม่ใช่แต่เพียงในภาควิชาพยาธิฯ ยุติงานวิจัยลงเมื่อได้ตำแหน่งชำนาญการแล้ว คำถามคือ "เกิดอะไรขึ้นกับคนกลุ่มนี้ ทำไมไม่ทำวิจัยต่อไป ทั้งๆที่เป็นกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยมาพอสมควร"
     งานวิจัยเป็นทางออกของปัญหาในเกือบจะทุกเรื่อง ที่จริงในภาควิชาพยาธิก็มีผู้ที่ได้รับตำแหน่งชำนาญการไม่น้อย หากเราสามารถหาวิธีการให้คนกลุ่มนี้หันกลับมาทำงานวิจัย และฝึกให้เด็กรุ่นใหม่ได้เรียนรู้กระบวนการแก้ไขปัญหาด้วยงานวิจัยก็จะดีไม่น้อย อย่างน้อยเด็กรุ่นใหม่ที่เริ่มเข้าสู่งานวิจัยก็จะได้ไม่เคว้ง มีพี่เลี้ยงคอยชี้แนะ ได้เรียนรู้งานทีละน้อย ไม่ต้องเริ่มเองทุกอย่าง ทำเองทุกอย่างเหมือนพวกพี่ๆ ที่ผ่านมา
     น่าเสียดายคลังความรู้ในตัวบุคคลของคนกลุ่มนี้ ที่ยังสามารถต่อยอดพัฒนางานของหน่วยงานด้วยกระบวนการวิจัย "ฤาปลายทางตำแหน่งชำนาญการคือความว่างเปล่า"
     ผมอยากจะถามความคิดเห็นพวกเราว่า "จะมีวิธีการอย่างไรบ้างที่จะทำให้ คนที่มีคุณค่ากลุ่มนี้ หันกลับมาใช้ศักยภาพที่ตัวเองมีอยู่อย่างเต็มที่ เพื่อแก้ไขปัญหางานที่ซับซ้อนด้วยกระบวนการวิจัย"
    
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19624เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2006 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
   ประโยคสุดท้ายของบันทึกนี้ คือปลายทางของกลุ่มชก. อยู่แล้ว นะคะ คุณ "ไมโต" อย่าเพิ่งคิดว่าทุกคน "ว่างเปล่า"
   คนที่มีประสบการณ์ในการทำงาน (ไม่ใช่เพียงแต่กลุ่ม ชก. แต่พี่เม่ยคิดว่า"ทุกคน") มักจะใช้กระบวนการวิจัย (หมายถึงการตั้งคำถาม และหาคำตอบพร้อมกับพิสูจน์คำตอบนั้นว่าเป็น "จริง")ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบอยู่แล้ว
   นั่นแตกต่างกับคำว่า "ทำวิจัย" ของคุณไมโตหรือไม่?
ผมหมายถึงการทำ experiment แล้วเขียนบทความตีพิมพ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ KPI ของทั้งภาควิชา คณะและมหาวิทยาลัย

อาจเป็นเพราะบางกลุ่มที่ไม่ได้ทำ เขาอาจจะไม่มีเวลารึเปล่าค๊ะ เพราะหน้าที่ความรับผิดชอบของคนกลุ่มนี้ค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะเป็นกรรมการต่าง ๆนา ๆ และอาจจะคอยช่วยเหลือรุ่นหลังอยู่ก็เป็นได้

ขอเล่าเรื่องตัวเองสักนิด ว่าที่ทำวิจัยเพราะอยากทำ แต่ผลที่ได้คือ สามารถนำมาใช้ขอตำแหน่งชำนาญการได้ (รึเปล่า? ก็ไม่แน่ใจ) เพราะตอนที่เราซีน้อย เรามีเวลาเหลือบ้างแม้สักเล็กน้อย ก็อาจจะเป็นจุดริเริ่มทำให้เราใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ได้ อีกอย่างตอนซีน้อย เราได้ทำงาน Routine เยอะก็ว่าได้จึงสามารถนำปัญหามาทำเป็นวิจัย R2R อย่างว่า

โจทย์นี้ไม่ง่ายเลยค่ะคุณ mitoฯ เพราะไม่ใช่กลุ่มสาย ข ที่ได้ชำนาญการ กลุ่มอาจารย์กับตำแหน่งวิชาการก็เหมือนกัน หลายๆ ปัจจัยที่อาจทำให้ไม่ทำวิจัยต่อ ที่ตัวเองคิดว่าสำคัญคือ วิจัยเป็นเรื่องที่ต้องให้ออกแรงมากกว่างาน routine มากในบ้านเรา ทั้งกฎระเบียบ ทั้งเวลา จิปาถะ คนทำวิจัยต้องมีแรงจูงใจในตนเองสูงมาก โดยเฉพาะเมื่อแรงจูงใจหลัก (ตำแหน่ง) หมดไป

เห็นด้วยกับคุณเม่ย ผู้ชำนาญการหลายคนในภาค เป็นกำลังหลัก ในการพัฒนางานบริการ และช่วยพัฒนารุ่นน้องๆ เป็นอย่างมาก โดยใช้ประสบการณ์ความสามารถที่สั่งสมมา และก็ใช้แนวทางวิจัยนั่นแหละ ในการพัฒนา

คุณ mitoฯ อย่าเพิ่งหมดใจกับ comment ของหน.ภาคแบบนี้นะคะ งานวิจัยแบบที่คุณว่า ก็ยังต้องการและสนับสนุนอยู่ค่ะ แต่ก็ดูเป็นคนๆ ไป คงไม่ปูพรมไปทั้งหมด เพราะข้อจำกัดหลายประการ  

     ผมอยาก focus เฉพาะกลุ่มชำนาญการ สาย ข ค ครับ เพราะเคยมีประสบการณ์ด้านการเขียนบทความตีพิมพ์มาก่อน หากสามารถให้ทำวิจัยต่อเนื่องได้ก็จะดีไม่น้อย โดยเฉพาะงานวิจัยแบบ routine to research ซึ่งจริงๆแล้วในหลายหน่วยงานของเราก็ทำอยู่ เพียงแต่อาจจะยังไม่เต็มรูปแบบ หากทำเพิ่มอีกนิด ก็สามารถเอามาเขียนเป็นบทความตีพิมพ์ได้แล้ว ออกแรงเพิ่มอีกหน่อย เราก็จะได้ผลงานเป็นชิ้นเป็นอัน มากกว่าการทำเพียงแค่รู้ หรือเอามาใช้ในหน่วยงานของเรา การเขียนบทความตีพิมพ์ผมคิดว่าเป็นการที่เราประกาศความเป็นเจ้าของความรู้ในสิ่งนั้น และเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาได้อีก ที่สำคัญคือสามารถกระจายความรู้ออกไปในกลุ่มคนที่สนใจเรื่องใกล้เคียงกันได้ดีกว่าบล็อกครับ

พี่เม่ยเข้าใจว่าประเด็นของบันทึกนี้ คุณ ไมโต จะเน้นเรื่อง "การเขียนบทความตีพิมพ์" มากกว่า "การทำวิจัย"

ประเด็นอยู่ตรงนี้ค่ะ ไม่มีบทความตีพิมพ์ เพราะ...

  1. หยุด!..ไม่ทำอะไรต่อเลย จึงไม่มีอะไรจะเขียน อันนี้ตีความจากบริบทต้นๆของบันทึก (ซึ่งคุณไมโตคงไม่ได้หมายความอย่างนี้แน่ๆ..)
  2. ทำวิจัย (รวมถึง R2R) พัฒนางานด้วยกระบวนการวิจัยมากมาย...แต่ไม่เขียนบทความตีพิมพ์

ถ้าคุณไมโตกำลังหมายถึงกลุ่มที่ 2 (ใช่ไหมคะ?) "ปุจฉา" คงต้องเปลี่ยนเป็น จะมีวิธีการอย่างไรบ้างที่จะทำให้ คนที่มีคุณค่ากลุ่มนี้ หันกลับมาใช้ถ่ายทอดศักยภาพที่ตัวเองมีทำอยู่อย่างเต็มที่ เพื่อแก้ไขปัญหางานที่ซับซ้อนด้วยกระบวนการวิจัย" ออกมาเป็นความรู้ชัดแจ้งแก่ผู้อื่นได้ด้วยการเขียนเป็นบทความตีพิมพ์  ดีไหมคะ?

     ผมมองภาพกระบวนการวิจัยทั้งกระบวนการเป็นเรื่องของงานวิจัย ตั้งแต่การค้นหาคำถามวิจัย การ review literature การตั้งวัตถุประสงค์ การดำเนินการ การวิเคราะห์ การสรุปข้อมูล และเผยแพร่ผลงานที่ได้  การตีพิมพ์เป็นเพียง output ของกระบวนการซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่ใช้ในการติดตามผลงานวิจัย โดยในระดับภาควิชา คณะ และมหาวิทยาลัยกำหนดผลงานตีพิมพ์เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีชี้วัดด้านการวิจัย สำหรับภายในภาควิชาพยาธิวิทยา หลายคนยังอาจมีกิจกรรมด้านการทำวิจัยที่ครบทั้งกระบวนการอยู่ แต่ไม่มากนัก อีกส่วนหนึ่งมีกิจกรรมด้านการวิจัยแต่ยังไม่ครบกระบวนการ ผมจึงอยากให้ออกแรงเพิ่มขึ้นอีกนิด ก็จะมีงานเป็นชิ้นเป็นอันที่จับต้องได้ การทำแล้วไม่เขียนก็แทบจะไม่ต่างจากไม่ทำ ผมเข้าใจครับว่าเมื่อทำแล้วได้ความรู้ และไม่ปฏิเสธว่าดีกว่าไม่ทำแน่นอน แต่เมื่อไม่เขียน ก็ไม่สามารถใช้นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของงานได้ (ตามเกณฑ์ที่กำหนด) และอีกส่วนหนึ่งมีบทบาทด้านการเป็นพี่เลี้ยงวิจัย แต่ในขณะที่นอกภาควิชาแล้ว ส่วนใหญ่มักสิ้นสุดการทำวิจัยทั้งกระบวนการลงเมื่อได้รับตำแหน่งชำนาญการ ซึ่งเรื่องนี้จริงๆแล้วเคยคุยกับพี่นงคราญเหมือนกันว่าเราน่าจะมีวิธีการในการดึงศักยภาพของคนที่เคยมีประสบการณ์ในการทำวิจัยมาแล้วอย่างคนกลุ่มนี้ให้กลับมาทำวิจัยต่อ แทนที่จะปล่อยไว้เฉยๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท