จับภาพ โรงเรียนเกษตรกร จ.ปทุมธานี (ตอนที่3)


บทบาทของหัวหน้ากลุ่ม
                จะมีการประชุมร่วมกันของหัวหน้ากลุ่มทั้ง 7 คนสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ใช้เวลาหลังเลิกงาน (ช่วงค่ำ) หารือเรื่องปัญหาในกลุ่ม และจะแก้ปัญหาอย่างไร หรือเมื่อล้างแปลงผักแล้วจะปลูกผักอะไร เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด หรือเมื่อพบปัญหาโรคพืชในแปลงผักของสมาชิกจะเข้าไปเป็นที่ปรึกษา และคอยช่วยเหลือแนะนำด้านความรู้เรื่องการแก้ปัญหา หากแก้ไขไม่ได้ ก็จะประสานงานให้เกษตรกรตำบลเข้ามาช่วยเหลือ

             

               

                เป้าหมายในอนาคต

                1.ต้องการมีกองทุนหมุนเวียนในกลุ่มเพื่อจัดซื้อปุ๋ยอินทรีย์ หรือ ทำโรงปุ๋ยอินทรีย์ขายให้กับสมาชิกและเกษตรกรทั่วไป

                2.ต้องการเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปกับการปลูกผัก เช่นวัว เพื่อทำการเกษตรแบบครบวงจร (ปลูกหญ้าให้วัว, หรือใช้ฟางข้าวเลี้ยงวัว,  นำมูลวัวไปทำปุ๋ย)

                3.รวมกลุ่มกันส่งผักปลอดสารพิษขาย

                                      

สรุปประเด็นการจัดการความรู้
                1.โรงเรียนเกษตรกร จ.ปทุมธานี แม้ว่าจะเกิดขึ้นจากการสนับสนุนของจังหวัดผ่านเกษตรตำบล แต่หลังจากที่ไม่มีทุนสนับสนุนแล้วก็ยังสามารถดำเนินกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มต่อไปได้เป็นอย่างดี ผู้นำมีความเสียสละไม่เพียงแต่ต้องการให้ตนเองอยู่รอดเท่านั้น แต่ยังต้องการให้สมาชิกอยู่รอดได้ด้วย ผู้นำมีความคิดก้าวหน้าไม่ล้าหลัง และไม่ย่อท้อต่อปัญหา ใช้วิธีการขยายความดีด้วยความดี และจิตใจที่หวังดี
                2.มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันแบบกลุ่มกระทั่งเกิดเป็นวัฒนธรรม
                3.มีการส่งเสริมให้จดบันทึกแต่ยังไม่ครอบคลุม (ในอดีตมีแบบฟอร์มให้บันทึก แต่ปัจจุบันต่างคนต่างบันทึก)
                4.พัฒนาความรู้ต่อเนื่อง สังเกตจากสมาชิกที่เข้าร่วมเรียนในโรงเรียนเกษตรกร แม้ว่าอยู่มากว่า 2 ปีแล้ว แต่ก็ยังมาเรียนในแปลงรวมเป็นประจำ
               
หมายเลขบันทึก: 19628เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2006 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท